ทองต้องอิงราคานำมัน แล้วนำมันมาจากไหน? ตอนที่3
ไม่ขออะไรมาก..ขอเพียงโหวตให้กำลังใจคนทำเว็บ
ตลาดทองขอขอบพระคุณ : http://www.oknation.net
ความจริงที่ว่าน้ำมันเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่ายิ่ง และมีอยู่อย่างจำกัดนั้น คงไม่มีใครกล้าโต้แย้ง แต่วันเวลาที่เหลืออยู่ของมันจะสั้นจะยาวเท่าไหร่นั้น ยังมีความเห็นที่ไม่ลงรอยกัน โดย IEA และ ESSO มองว่าอีก 30 ปีจากนี้ไปก็ยังมีน้ำมันดิบให้สูบเอามาใช้อย่างเพียงพอ แต่ผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมไม่ได้คิดเช่นนั้น ดูได้จากราคาน้ำมันดิบ NYMEX ที่ยังกระเด้งกระดอนอยู่เหนือ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลได้ร่วมเดือนแล้ว
มีทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางในการอธิบายพฤติกรรมของการผลิตน้ำมันดิบ ทุกประเทศทุกบริษัทที่เป็นเจ้าของแหล่งสำรองน้ำมัน เวลาสำรวจก็มักจะเจอบ่อใหญ่ๆก่อน เพราะมันเจอง่าย ส่วนบ่อเล็กๆจะมาเจอในระยะหลังๆ เพื่อให้คุ้มค่าทางเศรษฐกิจเค้าก็จะดูดจากบ่อใหญ่มาขายก่อน ใกล้จะหมดแล้วจึงค่อยไปเจาะบ่อเล็กๆ ซึ่งปริมาณที่ได้ไม่มีทางชดเชยการพร่องลงของบ่อใหญ่ได้ ผลที่ได้คือ กำลังการผลิตรวมจะมีจุดสูงสุด (Production Peak) และหลังจากนั้นก็จะผลิตได้น้อยลงไปเรื่อยๆตามรูป ช่วงที่ผลิตน้อยลงหากไม่มีน้ำมันจากประเทศอื่นมาเสริมที่ขาดไปก็จะเกิดภาวะ Overdemand เพราะอุปสงค์ไม่ได้ลดลงตาม ทำให้ราคาสูงขึ้น อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
แนวคิดที่ดูเหมือนจะพื้นๆแต่ WOOORK นี้เป็นของนักธรณีวิทยาที่ทำงานให้กับบริษัท Shell ชื่อ M. King Hubbert เค้าคิดมาตั้งแต่ปี 1956ซึ่งในตอนนั้นมีแต่คนหัวเราะ แต่เรามาดูความสามารถในการผลิตน้ำมันของประเทศอังกฤษ (สหราชอาณาจักร) ตั้งแต่ปี 1999 จนถึงปัจจุบันจะพบว่า นี่ไม่ใช่เรื่องน่าขำเลย สีที่แตกต่างกันหมายถึงเป็นการเจาะน้ำมันจากคนละบ่อ
มาดูประเทศอื่นๆนอกกลุ่มตะวันออกกลางดูบ้าง จะเห็นได้ว่า ทุกประเทศตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน ไม่เว้นแม้แต่ Norway Mexico และสหรัฐอเมริกา โดยในกรณีของสหรัฐนั้น น้ำมันดิบจากบ่อเริ่มจะสูบไม่ออกมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970
ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา การผลิตน้ำมันดิบทั่วโลกไม่รวมตะวันออกกลางลดลงอย่างน่าตกใจ ถ้าผมเห็นภาพนี้ตั้งแต่ปี 2001 อาจจะเข้าไปร่วมวงเก็งกำไรน้ำมันด้วยคน โดยผ่านหุ้นปตทสผ. (PTTEP) แต่ในภาพต่อมาก็ยังมีองค์กรเช่น International Energy Agency (IEA) ออกรายงาน World Energy Outlook (WEO) บอกว่าปี 2030 ก็ยังไหว ในช่วงปีหลังๆ IEA ก็เริ่มเสียงอ่อย ปรับประมาณการลงและบอกว่า เป็นการยากมากที่จะทำนายอุปทาน (Supply) ของน้ำมันได้อย่างแม่นยำ
ข้อมูลในรายงานของกลุ่ม Energy Watch เชื่อว่า ความสามารถในการผลิตน้ำมันดิบได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วตั้งแต่ปี โดยสามารถผลิตได้ 80 ล้านบาร์เรลต่อวัน และขณะนี้เป็นขาลง ราคาจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ
มีอยู่สองสามประเทศที่พอจะเป็นความหวังของชาวโลกได้ในระยะสั้นๆ คือ Russia และอดีตสหภาพโซเวียตเช่น Kazakstan และ Azerbaijian ที่การผลิตชะลอตัวลงในช่วงปฏิรูปประเทศหลังยุคสงครามเย็น น้ำมันดิบจากกลุ่มนี้ยังผลิตเพิ่มขึ้นได้จนถึงปี 2010 เป็นอย่างน้อย (อีกสองปีเองอ่ะนึกว่าจะนาน) บราซิลซึ่งเพิ่งค้นพบแหล่งสำรองน้ำมันขนาดใหญ่ และแคนาดาซึ่งมีทรายน้ำมันอยู่มาก บราซิลนอกจากจะมีศักยภาพด้านน้ำมันดิบแล้ว ยังเป็นประเทศที่ปลูกอ้อยเก่ง จึงส่งออกเอธานอลได้เป็นอันดับหนึ่งของโลกด้วย
ส่วนประเทศไทยและเพื่อนบ้านที่มีน้ำมันมาก เช่นมาเลย์เซียและอินโดนีเซีย ก็เป็นแบบนี้นะครับ น่าอนาถเหมือนกันที่ยังมีคนคิดว่ารัฐบาลล้มเหลว ทำให้น้ำมันและก๊าซราคาถูกไม่ได้
จริงๆแล้วน้ำมันนี่ก็เป็นเรื่องการเมืองระดับโลกด้วย เช่น มีการประกาศตัวเลขน้ำมันสำรองที่เป็นเท็จ เพื่อให้ราคาสูง หรือเพื่อให้ประเทศที่เป็นอริตายใจ จากกราฟโปรดสังเกตว่าการเพิ่มขึ้นของน้ำมันสำรองในช่วงประมาณปี 1985 จาก 700 กลายเป็น 1,000 พันล้านบาร์เรล หรือเกือบ 40% นั้นบ่อน้ำมันใหม่ๆอยู่ในตะวันออกกลางทั้งสิ้น น้ำมันที่เพิ่มขึ้นนี้ไม่ได้พบใหม่ แต่มาจากตัวเลขที่อั้นไว้ไม่ยอมบอกชาวโลก หรือเป็นบ่อน้ำมันที่มีปัญหาทางการเมืองเช่น อยู่ในระหว่างสงคราม
เมื่อชาวโลกมาทราบเช่นนี้ก็สายเสียแล้ว ประเทศ OPEC ที่อยู่ในตะวันออกกลางมีน้ำมันมากกว่าที่ชาติตะวันตกคาดไว้ ถึงแม้ในปัจจุบัน OPEC จะผลิตน้ำมันเพียง 1 ใน 3 ของโลกในปัจจุบัน แต่ในอนาคตส่วนแบ่งตลาดของ OPEC จะมากขึ้นเรื่อยๆจนน้ำมันส่วนใหญ่ที่ชาวโลกใช้จะมาจาก OPEC ในที่สุด และถึงเวลานั้นประเทศเหล่านี้ก็จะครองโลก ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มแล้วครับ ประเทศตะวันออกกลางมีกำไรส่วนเกินจากการค้าน้ำมันมาก เริ่มส่งออกเงินทุนในรูปกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ หรือ Sovereign Wealth Fund (SWF) ไปไล่ซื้อทรัพย์สินของประเทศอื่นๆ
อีกไม่นานสายการบินอันดับหนึ่งของโลกจะชื่อว่า Emirates ผมขอทำนายไว้
หมายเหตุ : ตอนนี้มีแต่กราฟนะครับ ของชอบของผม :)