Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 หญ้าทะเลคืออะไร
TARADTHONG.COM
มกราคม 01, 2025, 10:09:20 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หญ้าทะเลคืออะไร  (อ่าน 5225 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: กันยายน 13, 2010, 10:01:21 AM »

หญ้าทะเลคืออะไร

หญ้าที่ขึ้นอยู่ทั่วไปเรามักจะไม่ค่อยสนใจว่าหญ้านั้นมีคุณค่าหรือมีประโยชน์อย่างไรบ้าง แต่ถ้าพิจารณาให้ดีแล้วก็จะพบว่าหญ้ามีคุณอนันต์ หลายคนยังไม่รู้ว่าหญ้าทะเลมีลักษณะอย่างไร และมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลอย่างไรบ้าง

นายสมบัติ กู่วชิรานนท์ นักวิชาการประมง 8 สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งและป่าชายเลน (จังหวัดภูเก็ต) อธิบายว่า หญ้าทะเลเป็นพืชมีดอกที่มีลักษณะคล้ายกับหญ้าที่พบบกบก แต่มีการปรับตัวและมีวิวัฒนาการมาจากหญ้าบนบกลงไปอยู่ในทะเล หญ้าทะเลมีการสืบพันธุ์โดยใช้เกสรตัวผู้ตัวเมียและการแตกเหง้าเพื่อการเจริญเติบโต แหล่งหญ้าทะเลเป็นระบบนิเวศที่สามารถเกิดได้หลายแห่ง และจะมีหญ้าหลายๆ ชนิดปะปนกันอยู่ ประโยชน์ของหญ้าทะเล คือเป็นแหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำวัยอ่อนเป็นแหล่งหลบภัยและเป็นแหล่งอาหารที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งหากินของสัตว์ทะเล เช่น เต่าตนุ และ พะยูน

หญ้าทะเลยังช่วยชะลอความรุนแรงของกระแสน้ำที่พัดเข้าสู่ชายฝั่ง จึงช่วยลดอัตราการพังทลายและการกัดเซาะของชายฝั่งทะเลได้ด้วย ถ้าหากบริเวณใดมีแหล่งหญ้าทะเลอยู่แสดงว่าสภาพแวดล้อมต่างๆยังอยู่ในภาวะสมดุล ถ้าหญ้าทะเลหายไปจะเป็นตัวชี้วัดว่าสภาพแวดล้อมบริเวณนั้นเปลี่ยนไป

ในการสำรวจแหล่งหญ้าทะเลจะใช้ข้อมูลจากชาวประมงมาเป็นข้อมูลพื้นฐาน และอาจศึกษาจากภาพถ่ายทางอากาศในการสำรวจเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของแหล่งหญ้าทะเล และอาจจะใช้เชือกในการวัดแหล่งหญ้าทะเลว่ามีพื้นที่มากน้อยแค่ไหน เชือกที่ใช้ในการวางแนวศึกษาเป็นแนวที่ถาวร เราจะใช้เชือกลากตั้งฉากจากฝั่งลงไปในทะเลจนสุดแนวแหล่งหญ้าทะเล ทุกระยะ 50 เมตรหรือ 100 เมตร จะมีการสุ่มเก็บตัวอย่างความหนาแน่นของหญ้าทะเลและชนิดของหญ้าทะเล เพื่อนำมาเป็นแนวศึกษาถาวรอีกครั้งหนึ่งใน 6 เดือน หรือ 1 ปี จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันรวมกับข้อมูลในอนาคตเราสามารถนำมาเปรียบเทียบได้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแหล่งหญ้าทะเลมากน้อยเพียงใด

TIPS หอยแม่น หอยฝาเดียวและปลาบางชนิดจะแทะเล็มหญ้าทะเลเป็นอาหาร สัตว์เหล่านี้บางครั้งไม่ได้ย่อยสารเซลลูโลสแต่มันจะดูดซึมเซลล์ที่อยู่ในหญ้าทะเล หรือในสาหร่ายที่เกาะอยู่ตามผิวใบเท่านั้น สัตว์ใหญ่ที่กินหญ้าทะเลเป็นอาหารโดยตรง ได้แก่ เต่าทะเล พะยูน และนกเป็ดน้ำ เป็นต้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : วิทยาศาสตร์รอบตัว(จาก สสวท.)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!