Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 คุณโต้แย้งอย่างมีชั้นเชิงหรือไม่
TARADTHONG.COM
ธันวาคม 22, 2024, 12:10:48 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คุณโต้แย้งอย่างมีชั้นเชิงหรือไม่  (อ่าน 8865 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
loveyou
Administrator
Full Member
*****

คะแนนความนิยม: 29
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 234



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2010, 10:04:33 PM »

 คุณโต้แย้งอย่างมีชั้นเชิงหรือไม่ (Men’s Health)

โดย กนกวรรณ แก้วฟ้า (kanokwan_k@apm.co.th) จาก APMGroup

             การขัดแย้งทางความคิดในที่ทำงานหรือแม้แต่ในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่พบเห็นอยู่เป็นประจำ เพราะทุกคนต่างมีแนวทางความคิดเห็นในการทำงานตามแบบฉบับของตนเอง การขัดแย้งหรือโต้เถียงกันเพื่อให้แนวทางของตนเองเป็นที่ยอมรับย่อมเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ถ้าเป็นการขัดแย้งในกลุ่มทีมงานที่มีตำแหน่ง หรือระดับงานเดียวกัน โอกาสที่จะชนะนั้นก็พอมีอยู่บ้าง ขึ้นอยู่กับเหตุผลหรือปัจจัยอื่น ๆ แต่ถ้าการขัดแย้ง โต้เถียงกับผู้บังคับบัญชา โอกาสที่คุณจะชนะอาจเป็นไปได้ยาก 

             ลองมาดูกันซิว่าชั้นเชิงในการโต้แย้งกับเจ้านายของคุณ สามารถให้ผลลัพธ์เป็นไปตามใจคุณได้หรือไม่

      1. ระหว่างการประชุมวงแผนงานประจำปี หากคุณพิจารณาแล้วว่าแผนงานที่เจ้านายวางเอาไว้นั้น มีแนวโน้มว่าจะไม่สำเร็จ คุณจะ...

             ก. ตัดสินใจพูดกับเจ้านายกลางที่ประชุมทันที เพราะขั้นตอนการวางแผนนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญที่คุณไม่อยากให้เกิดความผิดพลาด (ถ้าคุณเลือกข้อ ก. ไปที่ข้อ 2)

             ข. รอให้จบการประชุม จากนั้นจึงเข้าไปพูดกับเจ้านาย (ถ้าคุณเลือกข้อ ข. ไปที่ข้อ 3)

      2. ยกมือแสดงความคิดเห็นโดยพูดว่า...

             ก. แผนของเจ้านายมีแนวโน้มที่จะไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากเหตุผลใดบ้าง (ถ้าคุณเลือกข้อ ก. ไปที่ A)

             ข. คุณมีคำถามที่จะชักถามมากมาย ดังนั้น คุณต้องการที่จะนัดประชุมกับเจ้านายเกี่ยวกับเรื่องนี้ (ถ้าคุณเลือกข้อ ข. ไปที่ข้อ 4)

      3. หลังจากจบการประชุมแล้ว คุณเดินเข้าไปพูดกับเจ้านายว่า...

             ก. แผนของเจ้านายนั้นมีแนวโน้มที่จะไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากเหตุผลใดบ้าง (ถ้าคุณเลือกข้อ ก. ไปที่ A)

             ข. คุณมีคำถามที่จะซักถามมากมาย ดังนั้น คุณต้องการที่จะนัดประชุมกับเจ้านายเกี่ยวกับเรื่องนี้ (ถ้าคุณเลือกข้อ ข. ไปที่ข้อ 4)

      4. ในการซักถามปัญหาหรือข้อสงสัยต่างๆ นั้น คุณทำโดย...

             ก. ตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อเปิดโอกาสให้คุณซักถามอย่างลงลึกมากขึ้น (ถ้าคุณเลือกข้อ ก. ไปที่ข้อ 5)

             ข. ตั้งคำถามที่จะชี้ให้เห็นถึงข้อผิดพลาดในแผนการของเจ้านาย (ถ้าคุณเลือกข้อ ข. ไปที่ B)

      5. หลังจากที่คุณรับฟังคำอธิบายของเจ้านายแล้วคุณจะ...

             ก. ทวนสิ่งที่คุณเข้าใจ จากนั้นขอนัดเจ้านายเพื่อประชุมอีกครั้งแต่คราวนี้เพื่อนำเสนอความคิดของคุณ (ถ้าคุณเลือกข้อ ก. ไปที่ข้อ 6)

             ข. รีบนำเสนอความคิดเห็นของคุณในแผนการนี้ทันที (ถ้าคุณเลือกข้อ ข. ไปที่ C)

      6. ในการประชุมรอบที่สอง คุณจะนำเสนอโดย...

             ก. นำเสนอแผนงานที่สอดคล้องกับความต้องการของเจ้านาย (ถ้าคุณเลือกข้อ ก. ไปที่ D)

             ข. นำเสนอแผนงานที่ชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดของแผนงานเจ้านาย (ถ้าคุณเลือกข้อ ข. ไปที่ E)


       ถ้าคำตอบของคุณคือ A

             การโต้แย้งของคุณกับเจ้านายเป็นการขัดแย้งแบบรุนแรง เพราะการที่คุเข้าไปชี้ให้เจ้านายเห็นว่าแผนงานของเขาหรือเธอนั้นมีความไม่สมบูรณ์ จะทำให้เจ้านายเกิดความรู้สึกต่อต้าน และต้องการที่จะปกป้องแผนงานตนเอง การขัดแย้งในลักษณะนี้ แตกต่างจากการขัดแย้งระหว่างการประชุมหารือ เพราะในกรณีหลังเป็นความต้องการความคิดเห็นจากหลาย ๆ ฝ่าย การโต้เถียงเพื่อให้ได้มุมมองที่แตกต่างย่อมเกิดผลดีมากกว่า ขณะที่ความขัดแย้งในแผนงานเป็นเหมือนการประกาศว่าแผนงานของเจ้านายนั้นมีความผิดพลาด

       ถ้าคำตอบของคุณคือ B

             การขอนัดประชุมเพื่อซักถามเป็นสิ่งที่ดี อย่างไรก็ตามคุณไม่ควรใช้โอกาสและเวทีนี้เพื่อการซักฟอกหรือไล่ต้อนเจ้านาย สิ่งที่คุณต้องการจากเจ้านาย คือการยอมรับ ไม่ใช่การพิสูจน์ว่าแผนการของเจ้านายคุณผิดพลาด การเปิดโอกาสให้ตัวคุณเองได้รับฟังวัตถุประสงค์และความคิดเห็นของเจ้านายอาจช่วยให้คุณได้เรียนรู้มากขึ้น

       ถ้าคำตอบของคุณคือ C

             การรีบนำเสนอแผนงานของคุณทันทีอาจทำให้คุณไม่ได้รับการยอมรับจากเจ้านาย หลังจากได้รับฟัง คำอธิบายจากเจ้านายแล้ว ควรบอกว่าคุณมีความคิดเห็นที่ต้องการนำเสนอในการประชุมคราวหน้า จากนั้นนัดประชุมกับเจ้านายเพื่อหาโอกาสนำเสนอแผนงานของคุณ อย่าลืมว่าคุณควรที่จะนำเสนอแผนงานที่เกี่ยวข้อง หรือเชื่อมโยงกับความต้องการของเจานายคุณด้วย

       ถ้าคำตอบของคุณคือ D

             คุณเป็นผู้ที่สามารถเปลี่ยนความขัดแย้งให้เป็นไปตามความต้องการของคุณได้ ถ้าแผนงานของคุณดีเลิศ สิ่งเดียวที่คุณต้องทำคือให้เจ้านายยอมรับในแผนงานของคุณ โดยที่ไม่ได้ทำให้เจ้านายรู้สึกว่าคุณชี้ให้เขาหรือเธอเห็นข้อผิดพลาดในแผนงานของพวกเขา

       ถ้าคำตอบของคุณคือ E

             คุณไม่ควรใช้โอกาสและเวทีนี้เพื่อการซักฟอกหรือไล่ต้อนเจ้านาย สิ่งที่คุณต้องการจากเจ้านายคือ การยอมรับ ไม่ใช่การพิสูจน์ว่าแผนงานของเจ้านายผิดพลาด การเปิดโอกาสให้ตัวคุณเองได้รับฟัง วัตถุประสงค์และความคิดเห็นของเจ้านายอาจช่วยให้คุณได้เรียนรู้มากขึ้น
บันทึกการเข้า

รักนะ...จุ๊บ จุ๊บ
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!