Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อสุขภาพหัวใจดีตลอดไป
TARADTHONG.COM
มกราคม 11, 2025, 03:07:57 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อสุขภาพหัวใจดีตลอดไป  (อ่าน 5459 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2010, 10:39:39 AM »

ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อสุขภาพหัวใจดีตลอดไป

หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- อาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม 2553 00:00:12 น.
จากผลการสำรวจของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งในประเทศไทย ประเทศแถบตะวันตก และในสหรัฐอเมริกา พบตรงกันว่าโรคหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอยู่อันดับ 1 ใน 3 เสมอ และเราทราบกันดีว่าบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจตีบได้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูง ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และเป็นเรื่องที่น่าตกใจเมื่อมีข้อมูลว่า 62% ของผู้ชายและ 46% ในผู้หญิง มาโรงพยาบาลครั้งแรกที่ศูนย์หัวใจด้วยอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันโดยไม่มีอาการเตือนมาก่อน หรือบางครั้งเมื่อตรวจหาภาวะเสี่ยงของโรคหัวใจแล้วกลับพบว่าไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเลย
น.พ.ทวนทศพร สุวรรณจูฑะ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมโรคหัวใจ ประจำโรงพยาบาลพญาไท 1, 2 กล่าวว่า อาการเจ็บหน้าอกมักเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด และมีได้หลายสาเหตุ แต่ความเป็นไปได้ที่ร้ายแรงที่สุดคือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) หรือที่เรียกกันว่าหัวใจวายนั่นเอง

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จัดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของประชากรทั่วโลก สำหรับประเทศไทย โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเป็น 1 ใน 3 สาเหตุของการเสียชีวิตสูงสุดใกล้เคียงกับการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ และโรคมะเร็ง

แม้อัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจะสูงแต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อเกิดอาการแล้ว ผู้ป่วยจะต้องเสียชีวิตเสมอไป สิ่งที่จะชี้เป็นชี้ตายในสถานการณ์วิกฤติแบบนี้คือการส่งผู้ป่วยให้ถึงมือแพทย์ได้เร็วเพียงใด

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน และมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงซึ่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ "ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมักจะเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดแดงโคโรนารี (Coronary  Artery)" เกิดการอุดตันอย่างเฉียบพลันจนไม่สามารถส่งผ่านเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้ กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนจะเริ่มตายหากไม่รีบเปิดทางเดินของหลอดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจจะถูกทำลายมากขึ้น

และหั วใจก็จะหยุดทำงานในที่สุด
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันนั้นอาจเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้โดยมีอาการแตกต่างกันออกไปในแต่ละราย สำหรับลางบอกเหตุ ของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายที่สามารถสังเกตได้ดังนี้ คือ เจ็บแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรหนักๆ มากดทับ จุกแน่น หรือแสบบริเวณลิ้นปี่ หายใจสั่น หอบ บางรายอาจมีอาการเจ็บร้าวบริเวณแขน คอ ไหล่ และกราม เหงื่อออกท่วมตัว คลื่นไส้ หน้ามืด และใจสั่น

อาการเจ็บแน่นหน้าอกถือว่าเป็นอาการนำของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งโดยมากมักจะเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น เหงื่อออก หายใจหอบ ปวดร้าวไปที่แขนข้างเดียว หรือสองข้างไปจนถึงคอ และกราม ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 20-30 นาที แต่ถ้าหากมีอาการอยู่ตลอดต้องถือว่าเป็นสัญญาณวิกฤติของอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ตอนนี้ผู้ป่วยต้องรีบไปพบแพทย์ หรือเรียกรถฉุกเฉินไปโรงพยาบาลทันที หรือภายใน 4 ชั่วโมง

สาเหตุ ที่ต้องส่งผู้ป่วยให้ถึงแพทย์โดยเร็วนั้นเพื่อฟื้นฟูทำการรักษาให้เลือดไหลกลับไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโดยเร็วที่สุด "เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดกล้ามเนื้อส่วนหนึ่งจะเริ่มตาย และเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจตายแล้วก็ไม่สามารถฟื้นฟูหรือสร้างใหม่ได้ ดังนั้นถ้าสามารถปกป้องกล้ามเนื้อหัวใจมิให้ถูกทำลายได้มากโอกาสรอดชีวิตก็สูง"

การนำผู้ป่วยมาส่งแพทย์ทันทีมีแต่ได้ประโยชน์ เพราะแม้ผู้ป่วยไม่ได้อยู่ในภาวะวิกฤติจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แพทย์ก็จะสามารถวินิจฉัยได้ว่าอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร ในบรรดาผู้ที่เสียชีวิตด้วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดประมาณ 50% เสียชีวิตภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังเกิดอาการ ฉะนั้นทั้งผู้ป่วยและคนรอบข้างจำเป็นต้องทราบว่าอาการที่เป็นสัญญาณเตือนแม้เพียงสงสัยก็ไม่ควรรอช้า

หลังจากผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลแพทย์จะทำการแก้ไขการอุดตันของหลอดเลือด ซึ่งทำได้โดยการใช้ยาหรือทำบอลลูนขยายหลอดเลือด หรือทั้ง 2 วิธีควบคู่กันไป ระหว่างที่เกิดอาการอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน คืออาการหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง หรือ  Ventricular  Fibrillation ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็วนั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้ทันที

อย่างไรก็ตาม ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันไม่ได้หมายถึงชีวิตเสมอไป หากทราบเข้าใจและรับมือได้ทันท่วงที ความรู้เท่าทันของคุณ อาจช่วยชีวิตคนใกล้ชิด หรือแม้แต่ตัวคุณเองไว้ได้ ซึ่งการป้องกันที่ดีที่สุดก็คือการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อดูภาวะเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ

ดิลก ทองวัฒนา แม้ล่วงเลยเลข 5 แล้วก็ตาม แต่หากไม่บอก...ก็คงยากที่จะคาดเดาตัวเลขนี้ได้ ด้วยการเป็นคนดูแลตัวเองเป็นอย่างดีและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเป็นอย่างมาก แม้จะมีผลงานการถ่ายทำละครพร้อมกันหลายเรื่อง คิวยาวมากแค่ไหนก็ตาม บวกกับเวลาพักผ่อนน้อย แต่ก็ไม่เคยละเลยเรื่องสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสุขภาพประจำปี

ดิลก เล่าว่า เพิ่งมาให้ความสำคัญประมาณ 10 ปีนี่เอง เมื่อตอนเริ่มเข้าสู่วัย 40 จึงเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เหนื่อยง่าย ป่วยง่าย จึงเริ่มให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารโดยเฉพาะผัก ผลไม้ และการดูแลตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันและรู้เท่าทันโรคภัย โดยจะตรวจสุขภาพประจำทุกปี อย่างในปีนี้ก็เข้ามาใช้บริการตรวจสุขภาพโปรแกรม 40  Plus  Heart และยังแนะนำให้ภรรยาตรวจสุขภาพในโปรแกรม 40 plus Brain  ใน " Campaign 40 plus Restart your life" ที่เครือโรงพยาบาลพญาไทกำลังมีโปรโมชั่นอยู่ในขณะนี้ นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสพูดคุยปรึกษาและรับคำแนะนำเรื่องการป้องกันโรคหัวใจกับคุณหมออีกด้วย

บรรยายใต้ภาพ
น.พ.ทวนทศพร สุวรรณจูฑะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!