Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 อึ้ง! ป.3 อ่านไม่ออก เฉียดแสนคน
TARADTHONG.COM
มกราคม 10, 2025, 06:43:15 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อึ้ง! ป.3 อ่านไม่ออก เฉียดแสนคน  (อ่าน 6192 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: มิถุนายน 30, 2010, 05:11:21 PM »


ป.3 อ่านไม่ออก เฉียดแสนคน (ไทยโพสต์)

          "ชินภัทร" กุมขมับ เผยผลประเมินคุณภาพ ป.3 หลังพบเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เฉียดแสนคน ส่วนทักษะการคำนวณก็ไม่น้อยหน้ามีปัญหาอ่อนปวกเปียกเกือบ 1.5 แสนคน อ้อมแอ้มอ้างเสียเปรียบเรื่องการเรียนและการสอนที่ไม่ได้มาตรฐาน หน้าตั้งเรียก สพท.นับจำนวนเด็กมีปัญหา พร้อมบรรจุเข้าเป็นวาระประชุมด่วน

          นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ว่า สำนักทดสอบทางการศึกษา (สพฐ.) ได้รายงานความคืบหน้าการจัดสอบประเมินผลคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2552 โดย สพฐ. มีแผนจะประเมินนักเรียนใน 3 ช่วงชั้น คือ ป.3, ป.6 และ ม.3 ซึ่งถือว่าเป็นการทำงานคู่ขนานกับการจัดสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) แต่อาจมีแนวทางที่แตกต่างกันบ้างเพราะ สพฐ.มุ่งเน้นให้ได้คำตอบเชิงนโยบาย อาทิ ตั้งเป้าไว้ว่านักเรียนชั้น ป.3 จะต้องอ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณได้ ป.6 อ่านคล่อง เขียนคล่อง เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาต่อ และ ม.3 สามารถคิดคำนวณทดสอบประเมินความสามารถตามถนัดได้

          นายชินภัทร กล่าวอีกว่า ขณะนี้สำนักทดสอบทางการศึกษาของ สพฐ.ได้ประเมินผลการจัดสอบในส่วนของนักเรียนชั้น ป.3 ทั่วประเทศจำนวน 523,469 คน เรียบร้อยแล้ว โดยจุดเน้นด้านการประเมิน คือ การอ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณได้ ซึ่งผลการประเมินปรากฏว่าเด็กจะมีปัญหาในคำที่มีรูปวรรณยุกต์และคำที่มีตัวการันต์ และจำนวนเด็กอ่านไม่ผ่านเกณฑ์อยู่ที่ร้อยละ 7.22 คิดเป็นเด็กจำนวน 37,813 คน ลดลงจากปีการศึกษา 2551 ที่มีจำนวนเด็กอ่านไม่ผ่านเกณฑ์อยู่ที่ร้อยละ 8.82 คิดเป็นเด็กจำนวน 49,499 คน

          โดยประเมินจากข้อความที่ใช้กลุ่มคำพื้นฐาน 9 กลุ่มคำ ได้แก่ คำที่ไม่มีตัวสะกด คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา คำที่ประสมกับสระลดรูป คำที่ประสมกับสระเปลี่ยนรูป คำควบกล้ำ คำอักษรนำ คำที่มีรูปวรรณยุกต์และคำที่มีตัวการันต์ ส่วนความสามารถทางการเขียนพบว่าเด็กเขียนไม่ผ่านเกณฑ์ในปีนี้อยู่ในระดับคงที่กับปี 51 คือเด็กเขียนไม่ได้อยู่ที่ร้อยละ 17.74 คิดเป็น 93,880 คน แต่ในถ้าดูตามจำนวนเด็ก พบว่า ปี 52 มีเด็กเขียนไม่ได้ลดลงจากปี 51 ขณะที่ความสามารถทางการคำนวณพบเด็กคำนวณไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 22.29 คิดเด็กจำนวน 119,374 คน คนซึ่งลดลงจากปี 2551 ที่มีผู้ไม่ผ่านเกณฑ์อยู่ที่ 25.29 หรือ 141,929 คน

          เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า ในการทดสอบทักษะทั้ง 3 ด้าน ที่น่าเป็นห่วง คือ เรื่องของทักษะการเขียนของเด็ก เพราะภาพรวมอัตราการไม่ผ่านเกณฑ์ของปี 2551-2552 ยังอยู่ในค่าเฉลี่ยเท่าเดิม การทดสอบประเมินครั้งนี้เรามีการประเมินเข้มข้นมีการกำหนดรูปแบบกติกาให้เด็กทำอย่างละเอียด อย่างการเขียนก็มีหัวข้อและให้ลงมือเขียนเรื่องราว ในการคำนวณก็มีโจทย์ให้คิดวิเคราะห์ แสดงวิธีทำ วิธีตรวจคำตอบด้วยตนเอง

          นายชินภัทร กล่าวอีกว่า สำหรับปัญหาที่ทำให้เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และคำนวณไม่คล่องนั้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความเสียเปรียบในเรื่องการเรียน อีกส่วนหนึ่งเป็นที่การเรียนการสอนที่ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้น จึงต้องส่งเสริมเรื่องการอ่านเนื่องจากเป็นรากฐานสำคัญของการเขียนและทักษะอื่นๆ โดยเฉพาะเขตพื้นที่ฯ ที่มีจำนวนเด็กไม่ผ่านเกณฑ์เยอะ ซึ่ง สพฐ.จะแยกวิเคราะห์เรื่องนี้เป็นรายเขตพื้นที่เพื่อค้นหาว่าเขตใดมีปัญหาและต้องแก้ไขมากที่สุด โดยจะนำเรื่องนี้บรรจุเข้าวาระการประชุม ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่ศึกษา (สพท.) 185 เขตวันที่ 15-16 ก.ค.นี้เพื่อให้ทุกเขตไปจัดทำแผนพัฒนาให้โรงเรียนในพื้นที่ของตนเอง เพื่อให้ปี 53 มีจำนวนเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดเลขไม่คล่องน้อยที่สุด และเพื่อให้ในอนาคต เด็ก ป.3 จะต้องปลอดจากปัญหาเหล่านี้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!