TARADTHONG.COM
พฤศจิกายน 23, 2024, 04:46:06 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รัฐบาลมะกันเล็งขายสินทรัพย์  (อ่าน 13360 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: ตุลาคม 04, 2011, 08:24:10 AM »

รัฐบาลมะกันเล็งขายสินทรัพย์

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2011 เวลา 18:30 น.    กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ เศรษฐกิจโลก    - เศรษฐกิจโลก



รัฐบาลหลายประเทศที่ประสบปัญหาดุลการคลัง โดยเฉพาะประเทศที่เข้าขั้นต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ตระหนักดีว่า

หนึ่งในมาตรการที่มักจะต้องนำมาใช้เพื่อหารายได้เพิ่มอย่างเร่งด่วน ก็คือการขายสินทรัพย์ของรัฐให้กับต่างชาติหรือภาคเอกชน เช่นที่รัฐบาลกรีซกำลังดำเนินการอยู่ในเวลานี้ และแม้แต่สหรัฐอเมริกา มหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่เพิ่งฟื้นไข้จากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ถึงไม่ได้เจ็บหนักขนาดที่ต้องอาศัยเงินช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ แต่ก็กำลังดิ้นรนทุกวิถีทางที่จะแก้ไขปัญหาหนี้และการขาดดุลก้อนมหึมา โดยยอมหันมาใช้มาตรการเฉือนสินทรัพย์ของรัฐขายให้กับเอกชนเพื่อเสริมรายได้และคลี่คลายปัญหาการขาดดุลที่กำลังรุมเร้าอยู่เช่นกัน

รัฐบาลของประธานาธิบดีบารัก โอบามา มีข้อเสนอมาตรการเพิ่มรายได้และลดการขาดดุลมาตรการหนึ่งซึ่งได้รับการสนับสนุนทั้งจากพรรคเดโมแครตของรัฐบาลเองและพรรครีพับลิกันที่เป็นฝ่ายค้าน นั่นคือการขายสินทรัพย์ของรัฐ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เกาะแก่ง อาคารสถานที่ สนามบิน ที่ไม่ได้มีการใช้งานหรือใช้งานน้อย ไม่คุ้มค่าดูแลรักษา ไปจนถึงยานพาหนะ ถนน ที่ดิน หรือแม้กระทั่งคลื่นสัญญาณโทรทัศน์ โดยขณะนี้มีการเปิดเผยออกมาบ้างแล้วว่าจะเป็นอะไรและที่ใดบ้าง ยกตัวอย่าง เกาะพลัม (Plum Island) ในรัฐนิวยอร์ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านเหนือของลองไอส์แลนด์ ขณะนี้กำลังจะถูกเสนอขาย โดยในประกาศขายมีข้อความระบุว่า "ที่ดิน 840 เอเคอร์ มีหาดทราย วิวดี และท่าเรือ" ในอดีตที่นี่เป็นที่ตั้งของศูนย์ควบคุมโรคสัตว์ของรัฐบาลกลาง



นอกจากเกาะพลัมแล้ว รัฐบาลสหรัฐฯยังมีสินทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ในครอบครองอีกกว่า 1 ล้านรายการ ซึ่งเชื่อว่าจะทำรายได้มหาศาล  แม้แต่นักการเมืองหัวอนุรักษนิยม เช่น พอล ไรอัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเดโมแครตจากรัฐวิสคอนซิน ประธานคณะกรรมาธิการงบประมาณสภาผู้แทนราษฎร ยังให้การสนับสนุนแนวความคิดดังกล่าว สมาชิกพรรคเดโมแครตจำนวนมากเห็นด้วยกับแนวคิดการหารายได้เข้ารัฐเพิ่มโดยไม่ต้องเจ็บปวดหรือส่งผลกระทบมากนัก ขณะที่ส.ส. พรรครีพับลิกันฝ่ายค้าน เจฟ เด็นแฮม จากรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีแนวคิดเชิงอนุรักษนิยมเช่นกันและมักออกเสียงคัดค้านข้อเสนอใดๆของโอบามามาโดยตลอด ยังให้ความเห็นว่า เป็นไปได้ที่สองพรรคจะมีความคิดเห็นตรงกันและตกลงกันได้ในเรื่องนี้  เช่นเดียวกับนายจอน ไคล์ วุฒิสมาชิกจากรัฐแอริโซนา พรรครีพับลิกัน สมาชิกคณะกรรมการพิเศษสภาคองเกรส ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลมาตรการลดการขาดดุลงบประมาณ ที่ให้ความเห็นว่า การขายสินทรัพย์ภาครัฐเป็นหนึ่งในมาตรการที่คณะกรรมาธิการอาจจะตกลงกันได้




อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการนำร่างข้อเสนอการขายสินทรัพย์ต่างๆของรัฐเข้าสู่รัฐสภาเพื่อขอการอนุมัติอย่างเป็นทางการ และทุกฝ่ายต่างก็ตระหนักดีว่า รายได้จากการขายสินทรัพย์ของรัฐให้เอกชนเพียงอย่างเดียว คงไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาการขาดดุลที่มีอยู่ และถึงแม้สภาคองเกรสจะให้การอนุมัติ ก็ยังมีอุปสรรคในทางขั้นตอนและกระบวนการดำเนินการรออยู่อีกมาก

ทำเนียบขาวประเมินว่า ภายในช่วง 10 ปีข้างหน้า รัฐบาลสหรัฐฯจะระดมทุนจากการขายสินทรัพย์ได้ประมาณ 22,000 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 6.6 แสนล้านบาท แต่ก็ยังมีหลายฝ่ายตั้งข้อกังขาเกี่ยวกับตัวเลขดังกล่าวว่ามากเกินไปหรือเปล่า แต่รัฐบาลก็เล็งว่า กว่า 80% ของมูลค่าดังกล่าวจะมาจากการประมูลสัญญาณโทรคมนาคมซึ่งส่วนใหญ่ถูกใช้ในการแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ แต่รัฐบาลประธานาธิบดีโอบามาสนับสนุนให้นำมาใช้สำหรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูง (ไวร์เลส บรอดแบนด์)ในสัดส่วนมากขึ้น  ซึ่งเรื่องนี้ทั้งสองพรรค รวมทั้งคณะกรรมาธิการการโทรคมนาคมของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ต่างก็ให้ความสนับสนุน อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์มองว่าข้อเสนอดังกล่าวนี้อาจพบอุปสรรคหรือถูกคัดค้านอย่างหนักจากบรรดาสถานีโทรทัศน์ซึ่งเป็นนักวิ่งเต้นผู้ทรงอิทธิพล

นอกจากนี้ ยังมีตัวเลขประมาณการว่า รายได้อีกราว 4,000 ล้านดอลลาร์ จะมาจากการขายอาคารและที่ดิน ยกตัวอย่าง กระทรวงกลาโหม (เพนตากอน) และการไปรษณีย์กลาง ที่สร้างรายได้ในรูปเงินสดเข้าองค์กรเพิ่มมากขึ้นจากการขายอาคารหลายแห่งที่มีในครอบครอง  สำนักงบประมาณสภาคองเกรสเปิดเผยว่า ภายในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมขายที่ตั้งกองทัพที่ถูกปิดตัวไปแล้ว 350 แห่ง สร้างรายได้ทั้งสิ้น 1,500 ล้านดอลลาร์  ส่วนการไปรษณีย์กลางสหรัฐฯ เฉพาะในปี 2553 เพียงปีเดียว มีรายได้เพิ่มถึง 180 ล้านดอลลาร์ จากการขายหรือให้เช่าอาคารสถานที่ที่มีในครอบครอง  นอกจากนี้ยังเปิดเผยว่า มีแผนปิดหรือรวมที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศอีกราว 3,653 แห่ง ข่าวระบุว่าในอดีตเมื่อปี 2546 ไปรษณีย์กลางสหรัฐฯ ประกาศขายอาคารที่ทำการไปรษณีย์ซึ่งเป็นอาคารประวัติศาสตร์ในย่านมิดทาวน์ แมนฮัตตัน ได้เงินมา 230 ล้านดอลลาร์ โดยผู้ซื้อคือรัฐบาลรัฐนิวยอร์กเพื่อนำไปปรับปรุงเป็นสถานีรถไฟ

สำหรับสินทรัพย์สำคัญๆ ที่เล็งกันว่ารัฐบาลสหรัฐฯ อาจประกาศขายเพื่อหารายได้เข้าคลังนั้น ได้แก่ สนามบินมอฟเฟ็ต เฟดเดอรัล แอร์ฟีลด์ ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้งานแล้ว ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆเมืองซานฟรานซิสโก ปัจจุบันเป็นที่ตั้งหน่วยงานหนึ่งขององค์การนาซา และเปิดพื้นที่บางส่วนให้เอกชนเข้ามาเช่าเป็นพื้นที่จอดเครื่องบินส่วนตัว ลูกค้ารายหนึ่งได้แก่ผู้ก่อตั้งบริษัทกูเกิลฯ ซึ่งมาขอเช่าพื้นที่เพื่อจอดเครื่องบินส่วนตัว 3 ลำ ชำระค่าเช่าปีละ 1.3 ล้านดอลลาร์  ทั้งนี้ เป็นที่คาดหมายว่า สนามบินมอฟเฟ็ตที่ถูกเล็งขายมานานแห่งนี้อาจสร้างรายได้ให้รัฐบาลสหรัฐฯ หลายล้านดอลลาร์         

เดอะ นิวยอร์กไทม์ส ระบุว่า การขายสินทรัพย์ของรัฐบาลมักมีอุปสรรคในแง่กระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การประมูลขายสัญญาณโทรคมนาคม ต้องผ่านการเห็นชอบจากสภาคองเกรส  หรือการขายอาคารสถานที่ก็ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้น ซึ่งรวมถึงการให้หน่วยงานอื่นร่วมพิจารณาว่า ต้องการใช้อาคารนั้นหรือไม่ หรืออาจมีบางหน่วยงานแย้งว่าควรนำอาคารที่จะขายไปทำสถานพักพิงชั่วคราวสำหรับคนยากจนที่ไร้บ้านพักอาศัย หรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์อื่นๆ

ขณะนี้มีร่างกฎหมายสองฉบับที่เตรียมนำเสนอสู่รัฐสภาสหรัฐฯ เกี่ยวกับการเสนอขายสินทรัพย์ของรัฐบาลเพื่อสร้างรายได้ ทั้งสองร่างกฎหมายเน้นการกระชับกระบวนการขายให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะเหมือนกับที่กระทรวงกลาโหมมีคณะกรรมการดูแลการปิดฐานทัพที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้งานอีกต่อไป  ทั้งสองร่างกฎหมายนี้คล้ายกันกับแนวคิดที่ประธานาธิบดีโอบามานำเสนอต่อสภาคองเกรสในร่างงบประมาณปี 2012  ซึ่งในตอนที่นำเสนอครั้งแรกเมื่อปีที่แล้วนั้น มีรายการสินทรัพย์ที่ถูกเสนอเพื่อขายมากกว่า 12,000 แห่ง แต่พร้อมที่จะขายจริงๆเพียงประมาณ 1%  และก็มีหลายสินทรัพย์ที่มีผู้ต้องการซื้อเป็นจำนวนมาก แต่กลับไม่อยู่ในรายการที่ถูกเสนอชื่อขาย เช่น พื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของศูนย์การแพทย์ในลอสแองเจลีสฝั่งตะวันตก

อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้แรงกดดันจากปัญหาการขาดดุลมีมากขึ้นและรัฐบาลสหรัฐฯก็ต้องการทำทุกวิถีทางที่จะแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลทางการคลัง พร้อมกับผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เชื่อว่านักลงทุนทั้งในและนอกสหรัฐฯ คงต้องตั้งตารอคอยฟังข่าวดีว่าสินทรัพย์ชิ้นงามของรัฐบาลอเมริกันอาจถูกนำมาประกาศขายในเร็ววัน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,675   2 - 5  ตุลาคม พ.ศ. 2554
บันทึกการเข้า
korkaeww
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2014, 05:10:04 PM »

แย่เลยนะรัฐบาลสมัยนี้ ไม่ดูแลประชาชนยังจะทำให้ประเทศเดือดร้อนอีก
บันทึกการเข้า
boonsomzz
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2014, 05:26:47 PM »

ถูกต้องเป็นที่สุดเลยค้าบบ คุน korkaeww
บันทึกการเข้า
Dunggnapa
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2014, 01:41:57 PM »

ข้อมูลดีมากครับ
บันทึกการเข้า
kawonyblue
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2014, 02:32:15 PM »

เป้นข้อมูลที่เยอะ ละเอียดดีมากเลยอ่าครับ
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!