Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 "มูดี้ส์" ชี้แบงก์ยุโรปยังรับมือความเสี่ยงผูกพันได้
TARADTHONG.COM
ธันวาคม 31, 2024, 06:11:59 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "มูดี้ส์" ชี้แบงก์ยุโรปยังรับมือความเสี่ยงผูกพันได้  (อ่าน 7273 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: มิถุนายน 13, 2010, 01:02:10 PM »

"มูดี้ส์" ชี้แบงก์ยุโรปยังรับมือความเสี่ยงผูกพันได้
วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 18:52:55 น.  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์



เอเอฟพี ระบุว่า สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ "มูดี้ส์" เผยว่า ธนาคารยุโรปยังคงแข็งแกร่งเพียงพอที่จะต้านทานกับการขาดทุนจากการถือครองพันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยประเทศกรีซ โปรตุเกส สเปน และไอร์แลนด์


 มูดี้ส์ ระบุว่า ได้ทำการทดสอบ stress test ในส่วนของแบงก์ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความสามารถของธนาคารยุโรปที่จะรับมือกับปัญหาสินเชื่อใหม่ ทั้งในภาครัฐและเอกชนในบางประเทศของยุโรป
 จากการวิเคราะห์ของมูดี้ส์ พบว่า ธนาคารต่างๆ น่าจะยังสามารถจัดการกับเรื่องนี้ได้โดยไม่ต้องระดมทุนเพิ่มจากผู้ถือหุ้น และไม่ได้คาดว่าผลที่ออกมาจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนอันดันความน่าเชื่อถือของแบงก์


 ทั้งนี้ มูดี้ส์ทดสอบแบงก์ 30 แห่ง ใน 10 ประเทศยุโรป
 "ฌอง-ฟรองซัวส์ เทรมเบลย์" หนึ่งในทีมผู้จัดทำรายงานฉบับนี้ ระบุว่า จากผลการทดสอบ stress test เราเชื่อว่าแบงก์เหล่านี้ยังน่าจะสามารถดูดซับการขาดทุนที่อาจเพิ่มขึ้นจากความเสี่ยงผูกพัน โดยไม่ต้องเพิ่มทุน แม้อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ย่ำแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้


 มูดี้ส์ พบว่า มีความเสี่ยงผูกพันระหว่างเพื่อนบ้านกับธนาคารในกรีซ โปรตุเกส สเปน และไอร์แลนด์ ในส่วนที่เกี่ยวกับเอกชน อาทิ สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อธุรกิจ มากกว่าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพันธบัตรรัฐบาล
 หากวางสมมติฐานว่าการขาดทุนอยู่ในขั้นรุนแรง ก็จะถูกบีบให้ขายพันธบัตรรัฐบาลในราคาถูกมากขึ้น แต่จะได้รับผลกระทบในระดับที่จัดการได้ เมื่อวัดจากระดับเงินทุนของแบงก์ ส่วนความวิตกเกี่ยวกับความเสี่ยงผูกพันจากพันธบัตรที่ออกโดยรัฐ แบงก์จะได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกลางยุโรป (ECB)


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1276257200&grpid=04&catid=00
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!