Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 เอแบคโพลล์เผยคนไทยส่วนใหญ่รายจ่ายสูงกว่ารายได้ เสี่ยงล้มละลาย
TARADTHONG.COM
ธันวาคม 27, 2024, 08:44:53 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เอแบคโพลล์เผยคนไทยส่วนใหญ่รายจ่ายสูงกว่ารายได้ เสี่ยงล้มละลาย  (อ่าน 29810 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
webmaster
Administrator
Full Member
*****

คะแนนความนิยม: 21
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 143



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: กันยายน 30, 2011, 04:53:58 PM »

เอแบคโพลล์เผยคนไทยส่วนใหญ่รายจ่ายสูงกว่ารายได้ เสี่ยงล้มละลาย

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 30 กันยายน 2554 13:50:11 น.
เอแบคโพล์ เผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง "หัวอกคนจน ว่ากันด้วยค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน" กรณีศึกษาตัวอย่างผู้บริโภคระดับครัวเรือน เมื่อพิจารณาถึงจำนวนค่าใช้จ่ายต่อเดือนต่อสินค้า และบริการต่างๆ ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนผู้บริโภคมีรายจ่ายส่วนตัวแต่ละเดือนอยู่ที่ 9,197.99 บาท แต่มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 11,300 บาทเท่านั้น หมายความว่าโดยรวมประชาชนส่วนใหญ่ตกอยู่ในสภาวะความเสี่ยงต่อการล้มละลาย พึ่งพาตนเองไม่ได้ ต้องกู้หนี้ยืมสินพึ่งพาเงินนอกระบบ เพราะมีรายจ่ายสูงเกินกว่าร้อยละ 80 ของรายได้ที่มีอยู่ในแต่ละเดือน โดยสินค้าและบริการที่มีค่าใช้จ่ายมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับของกิน อาหาร (รวมถึงร้านอาหาร) คิดเป็นจำนวนเงินเฉลี่ย 5,222.22 บาทต่อเดือน รองลงมาคือ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเดินทางในชีวิตประจำวัน เช่นค่ารถประจำทาง ค่าแท๊กซี่ ค่าทางด่วน ค่าน้ำมัน คิดเป็นจำนวนเงินเฉลี่ย 3,789.90 บาทต่อเดือน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบันเทิงและสันทนาการ เช่น ดูคอนเสิร์ต ดูภาพยนตร์ ค่าบริการสถานที่เล่นกีฬา คิดเป็นจำนวนเงินเฉลี่ย 1,416.67 บาทต่อเดือน

ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ เมื่ออ้างอิงไปยังประชากรของทั้งประเทศในกลุ่มเป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้ พบว่า กลุ่มคนที่มีรายได้ระหว่าง 3,001 - 5,000 บาท แต่มีรายจ่ายแต่ละเดือนสูงเฉลี่ยถึง 6,522.04 บาท ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือนมีรายจ่ายเฉลี่ยสูงกว่าเท่าตัวของรายได้คือ 6,513.06 บาทต่อเดือน และคนทั้งสองกลุ่มนี้มีสัดส่วนสูงประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรเป้าหมายทั้งหมดในการศึกษาครั้งนี้

และที่น่าเป็นห่วงเช่นกันคือ กลุ่มคนที่มีรายได้ระหว่าง 5,001 - 10,000 บาทต่อเดือน มีรายจ่ายต่อเดือนสูงถึง 7,533.75 บาท นอกจากนี้ กลุ่มประชาชนที่ยังคงเสี่ยงต่อสภาวะล้มละลาย และต้องกู้หนี้ยืมสิน พึ่งตนเองไม่ได้มีอย่างต่อเนื่องไปจากกลุ่มที่มีรายได้ต่อเดือน 15,001 — 20,000 บาท จะเห็นว่าวิกฤตความเสี่ยงต่อการล้มละลายส่วนตัวของประชาชนเริ่มมีแนวโน้มลดลงเพราะรายจ่ายส่วนตัวลดลงเหลือประมาณร้อยละ 50 ของรายได้ทั้งหมด แต่กลุ่มที่เห็นได้ชัดเจนว่าจะอยู่ได้ค่อนข้างสบายมากกว่าคนกลุ่มอื่นๆคือกลุ่มคนที่มีรายได้เกินกว่า 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไปเพราะมีรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนเพียง 34,471.37 เท่านั้น แต่คนกลุ่มนี้มีไม่ถึงร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมดของประเทศ และไม่ถึงร้อยละ 5 จากการสำรวจในการวิจัยครั้งนี้เพราะส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76 มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน

และที่น่าเป็นห่วงอีกประการหนึ่งคือ ตัวอย่างกว่า 3 ใน 4 หรือร้อยละ 75.6 ไม่มีเงินออม ในขณะที่ตัวอย่าง ร้อยละ 24.4 มีเงินเก็บออม

นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (Social Innovation Management and Business Analysis, ABAC — SIMBA) โดยการสนับสนุนของธนาคารกรุงศรีฯ กล่าวว่า คนยากจนกำลังตกอยู่ในสภาวะที่ไม่มีอำนาจต่อรองในเรื่องค่าใช้จ่าย ยิ่งไปกว่านั้น การกำหนราคาสินค้าและบริการไม่ได้สอดคล้องกับรายได้ของประชาชน การออกนโยบายสาธารณะของรัฐบาลที่เกี่ยวกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่ผ่านมามักถูกกำหนดกรอบและทิศทางโดยกลุ่มนายทุน การกล่าวอ้างถึงต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นการวนเวียนในเรื่องผลประโยชน์ของกลุ่มนายทุนด้วยกันเอง

สภาวะเช่นนี้คือ สภาวะที่รัฐบาลตกอยู่ภายใต้อาณัติของกลุ่มนายทุนและชนชั้นนำของประเทศที่เรียกว่าอยู่ภายใต้ “อคติแห่งนครา" ทุกอย่างถูกกำหนดขึ้นจากข้างบนลงไปข้างล่าง ทุกนโยบายและการกำหนดสินค้าถูกออกแบบจากคนในกรุงเทพมหานคร และนี่คือ “อคติแห่งมหานคร" ที่แท้จริง โดยคนรวยโยนภาระให้กับคนจนซ้ำเติมความเดือดร้อนให้กับพวกเขาเหล่านั้น

ทางออกมีอย่างน้อยสองแนวทางที่สำคัญคือ ประการแรก ได้แก่ รัฐบาลต้องนำ “หลักเศรษฐกิจพอเพียง" มาใช้อย่างแท้จริงไม่ใช่แค่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์จะประกาศใน FB เท่านั้น เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่แค่หลักปรัชญา แต่เป็นหลักของชีวิตที่นำไปใช้ได้จริง หลักปรัชญาและชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะช่วยลดปัญหาความเดือดร้อนของคนมีรายได้น้อยได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน ส่วนคนรวยก็ยังมีความสุขแท้จริงได้ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่าน

ประการที่สองคือ ต้องเปิดโอกาสให้คนมีรายได้น้อยร่วมกำหนดออกแบบค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตของพวกเขาในรายพื้นที่ท้องถิ่นของตนเองได้บ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับรายได้ของพวกเขาอย่างแท้จริง มิฉะนั้น การออกนโยบายสาธารณะของรัฐบาลทั้งเรื่องค่าแรง 300 บาทต่อเดือน และ 15,000 บาทต่อเดือนของผู้จบปริญญาตรีใหม่อาจกลายเป็นชนวนความขัดแย้งแตกแยกรุนแรงในความเลื่อมล้ำของรายได้ซ้ำเติมความแตกแยกทางการเมืองที่ยังคงคุกรุ่นอยู่ในเวลานี้เข้าไปอีก เพราะเห็นกันได้ชัดๆ ว่า “มนุษย์" สุดท้ายแล้วส่วนใหญ่ก็เห็นแต่ตัวด้วยกันทั้งนั้น

เอแบคดพลล์ ได้สำรวจกรณีศึกษาตัวอย่างผู้บริโภคระดับครัวเรือน อายุ 18 ปี ขึ้นไป ใน 12 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ชลบุรี นครราชสีมา อุดรธานี กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และสงขลา จำนวน 2,764 ตัวอย่าง ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม — 30 กันยายน 2554

--อินโฟเควสท์ โดย นิศารัตน์ วิเชียรศรี/รัชดา
บันทึกการเข้า


   โรงแรมอโยธยา-ทองคำ-แห่ง-สยาม


Pritchard
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2020, 11:11:23 AM »

ปัจจุบันนี้ก็ถือว่าย่ำแย่เช่นเดียวกันครับ ปัญหาคงจะแก้ไขได้ยากหากยังมีแบบนี้อยู่
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!