Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 การตักบาตร ประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธยืดถือปฏิบัติ
TARADTHONG.COM
มกราคม 03, 2025, 01:57:30 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การตักบาตร ประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธยืดถือปฏิบัติ  (อ่าน 6225 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2011, 08:23:05 AM »

การตักบาตร ประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธยืดถือปฏิบัติ


การตักบาตร คือประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธปฏิบัติกันมาแต่สมัยพุทธกาล พระภิกษุจะถือบาตรออกบิณฑบาตเพื่อรับอาหารหรือทานอื่นๆ ตามหมู่บ้านในเวลาเช้า ผู้คนที่ออกมาตักบาตรจะนำของทำทานต่างๆ เช่น ข้าว อาหารแห้ง มาถวายพระ

ประเพณีนี้ชาวพุทธถือกันว่าเป็นการสร้างกุศล และถือว่าเป็นการแผ่ส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย โดยเชื่อกันว่าอาหารที่ถวายไปนั้นจะส่งถึงญาติผู้ล่วงลับด้วยเช่นกัน

 

กฎของพระภิกษุเกี่ยวกับการตักบาตร

พระภิกษุนั้นจะออกบิณฑบาตทุกวัน อันเนื่องมาจากกฎของพระภิกษุมีอยู่ว่า พระภิกษุไม่สามารถที่จะเก็บอาหารข้ามคืนได้

เวลาที่พระภิกษุออกบิณฑบาต พระภิกษุจะใช้ 2 มือประคองบาตรเอาไว้แล้วเดินในกิริยาสำรวม พระภิกษุจะไม่เอ่ยปากขออาหารจากผู้คน หรือแสดงกิริยาในการขอ โดยส่วนมากแล้วเวลาที่พระภิกษุออกบิณฑบาตคือ ตั้งแต่ช่วงเช้ามืด (ประมาณ 5 นาฬิกา อาจจะเร็วหรือช้ากว่านี้บ้างเล็กน้อยในแต่ละท้องที่) จนถึงก่อน 7 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาที่พระภิกษุฉันอาหารมื้อเช้า

เมื่อเวลามีคนให้ทาน พระภิกษุต้องรับทานที่คนให้ทั้งหมด ไม่สามารถที่จะเลือกได้ว่าจะรับหรือไม่รับ หรือบอกกับผู้คนว่าตนต้องการสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่อย่างไรก็ดี มีทานบางชนิดที่พระภิกษุไม่สามารถรับได้ นั่นคือ

1. ทานที่ได้มาโดยวิธีการทุจริตทานแก่ตน เช่น ได้มาจากการขโมย และพระภิกษุรู้ว่าบุคคลคนนั้นได้ขโมยของนั้นเพื่อที่จะให้

2. เนื้อสัตว์ที่ต้องห้ามตามหลักศาสนาพุทธ (เช่น เนื้อคน, เนื้อช้าง เป็นต้น)

3. เนื้อสัตว์ที่ได้มาจากการที่บุคคลคนนั้นตั้งใจที่จะฆ่าสัตว์โดยมีจุดประสงค์หลักคือเพื่อที่จะเอาเนื้อมาถวายพระภิกษุโดยเฉพาะ และพระภิกษุรู้ว่าเนื้อนั้นมาจากการฆ่าเพื่อที่จะนำมาถวายตนโดยเฉพาะ

4. ผลไม้ที่มีเมล็ด บุคคลที่ตักบาตรไม่สามารถถวายผลไม้ที่มีเมล็ดได้ เพราะถือว่าเมล็ดนั้นยังสามารถที่จะให้กำเนิดชีวิตได้อยู่ ถ้าจะถวายต้องเอาเมล็ดออกก่อน

5. วัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น ข้าวสาร, แป้ง เพราะตามหลักของศาสนานั้นไม่อนุญาตที่จะให้พระภิกษุประกอบอาหาร

หมายเหตุ ในปัจจุบัน กฎข้อที่ 4 และ 5 สามารถอนุโลมได้ เนื่องจากชีวิตสังคมปัจจุบันที่เร่งรีบ ผู้คนอาจจะไม่มีเวลาที่จะเตรียมอาหารมากนัก โดยหน้าที่ในการเตรียมอาหารนั้นจะเป็นหน้าที่ของเด็กวัด

 

วิธีการตักบาตร

การตักบาตรโดยทั่วไป

ผู้คนที่นำของที่เอามาตักบาตรจะยืนรออยู่ตรงทางที่พระภิกษุเดินผ่าน ส่วนมากของที่ผู้คนใช้นิยมตักบาตรเป็นหลักคือข้าว โดยก่อนที่พระภิกษุเดินทางมาถึงจะมีการนำถ้วยข้าวจบที่ศีรษะแล้วอธิษฐาน เมื่อพระภิกษุเดินทางมาถึงพระภิกษุจะหยุดยืนอยู่ตรงหน้าคนที่จะตักบาตรแล้วเปิดฝาบาตร ก่อนที่จะตักบาตรคนที่ตักบาตรจะต้องถอดรองเท้าก่อน

จากนั้นคนที่ตักบาตรจะนำทานที่ตนมีถวายพระ เมื่อให้เสร็จแล้วพระจะให้พร คนที่ตักบาตรประนมมือรับพร (โดยปกติแล้วจะนิยมคุกเข่าหรือนั่งยองๆ ประนมมือ) ขณะที่ให้พรคนที่ตักบาตรอาจจะมีการกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับ (การกรวดน้ำนั้นอาจจะทำขณะที่พระให้พรหรือหลังจากการตักบาตรเสร็จสิ้นก็ได้) หลังจากที่พระภิกษุให้พรแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี

การตักบาตรในวันพระ

ในวันพระ ทุกขึ้น/แรม 8/15ค่ำ โดยทั่วไปพระภิกษุจะไม่มีการออกบิณฑบาต ผู้คนจะนำทานไปถวายที่วัด และวันนั้นพระภิกษุจะมีการเทศนาธรรมที่วัด โดยคตินิยมการเข้าวัดทำบุญนั้นน่าจะมีมาแต่สมัยพุทธกาลที่ชาวพุทธไปวัดเพื่อรับฟังพระธรรมเทศนาและถืออุโบสถศีล ในอดีตการไปทำบุญตักบาตรที่วัดวันพระนับว่าเป็นการไปพบปะเพื่อนฝูงญาติมิตรและแสดงออกถึงความสามัคคีของคนในชุมชนที่ได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งในปัจจุบันยังพอหาพบได้บางตามหมู่บ้านในแถบชนบท

ในเมืองใหญ่ ๆ ที่มีความเร่งรีบเช่นกรุงเทพ บางวัดจะมีการเทศนาที่วัดอย่างเดียวโดยไม่มีการจัดทำบุญตักบาตร ส่วนพระสงฆ์จะออกเดินบิณฑบาตเพื่อโปรดชาวพุทธตามปรกติ

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการตักบาตร

คำว่าตักบาตรนั้น สามารถที่จะเรียกว่าใส่บาตรก็ได้ ในบางที่มีคนสงสัยว่าตกลงแล้วเรียกว่าตักบาตรหรือใส่บาตรกันแน่ - ก็ว่ากันว่าคำว่าตักบาตรนั้นมาจากกิริยาอาการที่ใช้ทัพพีตักข้าวใส่บาตรพระ แต่ในปัจจุบันนี้เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ผู้คนใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบมากขึ้น ผู้คนจึงนำข้าวสารหรือของอื่นๆ ใส่ถุงหรือกล่อง เมื่อถึงเวลาตักบาตรจะได้สะดวกที่จะหยิบของใส่ได้ทันที คำว่าใส่บาตรจึงถือว่าเป็นวิวัฒนาการทางภาษาเพื่อสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน - สรุปว่าใช้ได้ทั้ง 2 อย่าง

ตามปกติผู้คนจะถือว่า ของที่นำมาถวายพระจะต้องเป็นของที่ดีที่สุดเสมอ ดังนั้นผู้คนจะจัดเตรียมทานที่ดีที่สุดตามกำลังที่หาได้ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อพิเศษเล็กน้อยเกี่ยวกับทานที่ให้ (ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล) เช่น ข้าวที่ถวายพระนั้นควรจะเป็นข้าวที่หุงสุกใหม่ๆ ร้อนๆ ยิ่งข้าวร้อนเท่าไหร่บุญกุศลจะยิ่งแรงมากขึ้นเท่านั้น, ถวายน้ำตาลแก่พระเพื่อที่จะส่งผลให้ชีวิตคู่มีความหวานสดชื่นดั่งน้ำตาล เป็นต้น
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!