TARADTHONG.COM
กันยายน 20, 2024, 06:36:24 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สอนศิลป์ ไม่กินกัน ที่มาและความหมาย  (อ่าน 11389 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2011, 12:38:02 PM »

สอนศิลป์ ไม่กินกัน ที่มาและความหมาย

สำนวน  ศรศิลป์ไม่กินกัน  มีที่มาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์  ตอนพระมงกุฏพระลบลองศร  - ปล่อยม้าอุปการค่ะ
เนื้อเรื่องมีอยู่ว่า  พระมงกุฏพระลบโอรสพระรามนางสีดา  ลองยิงศรที่พระฤๅษีเสกให้  ศรไปถูกต้นรังซึ่งเป็นหลักโลก  สะท้านสะเทือนไปทั้งสามโลก  พระรามถามพิเภกดู  รู้ว่ามีผุ้มีฤทธิ์ลองฤทธิ์  จึงให้ปล่อยม้าอุปการแล้วให้หนุมานตามไป   มีสารผูกคอม้าไปว่าถ้าใครอ่อนน้อมต่อพระรามก็ให้เคารพสารและม้านี้  ม้ามาถึงป่ากาลวาตที่พระลบพระมงกุฏอยู่  เด็กทั้งสองไม่เคยเห็นม้า  อ่านสารดูก็ไม่เข้าใจ  เลยจับม้าขี่เล่น  หนุมานเห็นว่า2กุมารโอหัง  จะเข้าจับตัว  กลับถูกสองกุมารตีสลบ  แล้วสักหน้าเขียนมนต์ผูกมาว่าให้นายเท่านั้นที่แก้มนต์ได้ 
พระรามโกรธ  ให้พระพรตพระสัตรุดยกทัพมาจับตัวได้พระมงกุฏมา (พระรามไม่รู้ว่าเป็นลูก  เพราะสั่งประหารนางสีดาซึ่งกำลังทรงครรภ์  แต่พระลักษมณ์ปล่อยตัวไป )  พระลบมาช่วยแก้พระมงกุฎไปได้  พระรามยกทัพตามไป  ได้สู้กัน  แต่ศรของทั้งสองฝ่าย (พ่อ ลูก)ไม่ทำอันตรายกัน  ศรพระรามกลายเป็นขนมนมเนยตกลงตรงหน้า2กุมาร ศรพระมงกุฏกลายเป็นพวงดอกไม้บูชาพระราม  พระรามจึงรู้ได้ว่าเป็นลูกค่ะ

ในที่นี้ ศิลป์ หมายถึง คันธนู ส่วน ศร คือ ลูกธนู ศรศิลป์ไม่กินกัน หมายความว่า ลูกธนูที่แต่ละฝ่ายยิงใส่กันนั้นไม่สามารถทำอันตรายกันได้ ข้อความนี้ปรากฏในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ตอนที่พระรามต่อสู้กับพระมงกุฎซึ่งเป็นลูก โดยที่ไม่รู้ว่าเป็นพ่อลูกกัน พระรามแผลงศรเพื่อสังหารพระมงกุฎ แต่ศรนั้นกลับกลายเป็นอาหารทิพย์ตกลงหน้าพระมงกุฎ และเมื่อพระมงกุฎแผลงศรไปยังพระราม ศรก็กลายเป็นข้าวตอกดอกไม้แสดงความเคารพพระราม สำนวนนี้ แต่เดิมจึงหมายความว่า ทำร้ายกันไม่ได้ แต่ต่อมากลายความหมายไป หมายถึง การที่คน ๒ ฝ่ายไม่ถูกกันไม่ลงรอยกัน

ที่มา :  บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย"  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!