Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 มวนเดียวก็เสียวหัวใจวายได้!!
TARADTHONG.COM
ธันวาคม 21, 2024, 08:43:19 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มวนเดียวก็เสียวหัวใจวายได้!!  (อ่าน 4997 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: ธันวาคม 28, 2010, 07:18:23 AM »

มวนเดียวก็เสียวหัวใจวายได้!!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


เอเจนซีส์- รายงานจากสหรัฐฯ ย้ำบุหรี่แค่มวนเดียวสามารถทำลายเซลล์ในร่างกายได้ ส่งผลให้หลอดเลือดอุดตันและหัวใจวาย
       
       การสูบบุหรี่ส่งผลร้ายทันตา โดยการสูดควันเข้าปอดแต่ละครั้งจะแพร่กระจายสารพิษมากมายมหาศาลเข้าสู่อวัยวะส่วนใหญ่ของร่างกาย และอาจส่งผลร้ายถึงขั้นหัวใจวายได้
       
       รายงานความยาว 700 หน้าจากกรมการแพทย์ทหารของสหรัฐฯ พบว่าการได้รับควันบุหรี่ไม่ว่าปริมาณมากน้อยเพียงใดไม่ปลอดภัยทั้งนั้น ไม่ว่าจะสูดเข้าไปอย่างตั้งใจหรือสูดควันของคนอื่นโดยบังเอิญก็ตาม
       
       เรจินา เบนจามิน เจ้ากรมการแพทย์ทหาร อธิบายว่าการสูบบุหรี่จะส่งควันเข้าสู่กระแสเลือดทันทีและทำให้สารเคมีในเลือดเกิดการเปลี่ยนแปลงและเลือดเหนียวขึ้น ผลที่ตามมาคือการอุดตันของหลอดเลือด ซึ่งจะรุนแรงขึ้นหากสูบบุหรี่เป็นเวลานาน
       
       ดร.เทอร์รี พีคาเซ็ก จากศูนย์เพื่อการควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ เสริมว่านั่นหมายความว่าการสูบบุหรี่ในงานปาร์ตี้เพียงพอแล้วที่จะทำให้หัวใจวายสำหรับคนที่หลอดเลือดหัวใจอุดตันโดยไม่รู้ตัว
       
       “คนมักคิดว่าการสูบบุหรี่ในงานสังคมชั่วครั้งชั่วคราวไม่อันตราย แต่รายงานล่าสุดระบุในทางตรงกันข้าม”
       
       รายงานยังพบว่าแม้การสูดควันเล็กๆ น้อยๆ จากควันบุหรี่มือสองอาจก่อให้เกิดอาการเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจขั้นรุนแรง เช่น หัวใจวายได้
       
       รายงานยังตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อพิวโบล รัฐโคโลราโด ห้ามการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะเมื่อปี 2003 จำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจที่ถูกนำส่งโรงพยาบาลลดลงถึง 41% ในเวลาเพียง 3 ปีเท่านั้น
       
       นอกจากนี้ รายงานยังรวมการค้นพบล่าสุดด้านพันธุกรรมเพื่อช่วยอธิบายว่าทำไมบางคนถึงติดบุหรี่มากกว่าและเป็นโรคจากการสูบบุหรี่เร็วกว่าคนอื่นๆ รวมถึงระบุถึงการออกแบบและเนื้อหาของผลิตภัณฑ์บุหรี่ในปัจจุบัน ที่ทำให้บุหรี่ดึงดูดและเสพติดมากขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
       
       ทั้งนี้ รายงานอธิบายว่าการเลิกสูบบุหรี่จะให้ผลดีต่อสุขภาพอย่างไร ดังนี้
       
       20 นาที: ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของชีพจรกลับสู่ระดับปกติ
       
       8 ชั่วโมง: ระดับนิโคตินและคาร์บอนมอนนอกไซด์ในเลือดลดลงครึ่งหนึ่ง ออกซิเจนกลับสู่ระดับปกติ
       
       24 ชั่วโมง: คาร์บอนมอนนอกไซด์จะหมดไปจากร่างกาย ปอดเริ่มขับเมือกและซากความเสียหายจากการสูบบุหรี่ออก
       
       48 ชั่วโมง: ไม่มีนิโคตินเหลือในร่างกาย ความสามารถในการรับรสชาติและกลิ่นดีขึ้นมาก
       
       72 ชั่วโมง: หายใจได้ง่ายขึ้น หลอดลมเริ่มผ่อนคลายและพลังงานเพิ่มขึ้น
       
       2-12 สัปดาห์: ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
       
       3-9 เดือน: ไอ อาการหายใจลำบากดีขึ้นเนื่องจากปอดทำงานได้ดีขึ้น 10%
       
       5 ปี: ความเสี่ยงหัวใจวายของผู้สูบบุหรี่ลดลงครึ่งหนึ่ง
       
       10 ปี: ความเสี่ยงมะเร็งปอดของผู้สูบบุหรี่ลดลงครึ่งหนึ่ง ความเสี่ยงหัวใจวายลดเหลือระดับเดียวกับคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่
       
       รายงานชี้ว่า บุหรี่ทุกวันนี้ส่งนิโคตินเข้าสู่ร่างกายได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อหลายปีก่อนมาก
       
       “ต้องมีรายงานออกมาอีกกี่ฉบับ คองเกรสส์ถึงจะจัดให้บุหรี่เป็นผลิตภัณฑ์ต้องห้าม
       
       “ผู้ป่วย 1 ใน 3 ในโรงพยาบาลขณะนี้มีสาเหตุมาจากบุหรี่” ดร.เค ไมเคิล คัมมิงส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิโคตินจากสถาบันมะเร็งรอสเวลล์ ปาร์กในนิวยอร์ก ที่เป็นผู้ตรวจสอบรายงานฉบับนี้ กล่าว
       
       การสูบบุหรี่ส่งผลร้ายมากมายต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยากขึ้น รวมถึงทำให้ผู้หญิงคลอดลูกยากขึ้น
       
       สตรีมีครรภ์ที่สูบบุหรี่ยังมีแนวโน้มสูงที่จะแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด ขณะที่ลูกที่คลอดออกมามีแนวโน้มมากขึ้นที่จะเสียชีวิตฉับพลันขณะหลับ
       
       “ไม่สายเกินไปที่คุณจะเลิกบุหรี่ ยิ่งเลิกเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น แม้อายุ 70-80 ปีแล้ว การเลิกบุหรี่ยังมีผลดีเสมอ”
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!