Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 ปรับตัวให้ทันเมื่อเงินบาทแข็งค่า
TARADTHONG.COM
มกราคม 10, 2025, 09:04:12 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปรับตัวให้ทันเมื่อเงินบาทแข็งค่า  (อ่าน 5383 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: ตุลาคม 10, 2010, 12:42:55 PM »

ปรับตัวให้ทันเมื่อเงินบาทแข็งค่า (Momypedia)
โดย : วิไลลักษณ์ @Momypedia

          ช่วงนี้นอกจากเรื่องเหตุการณ์บ้านเมืองที่ยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว เรายังจะต้องติดตามเรื่องปากท้องกันด้วยค่ะ โดยเฉพาะตอนนี้เรื่องค่าเงินบาทแข็งตัว เป็นเรื่องที่หลายคนกำลังกังวลว่า จะมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตและการใช้เงินของเราบ้างมั้ย

          เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เรามาทำความเข้าใจคร่าว ๆ เกี่ยวกับเรื่องเงินบาทแข็งค่ากันซักนิดค่ะ เมื่อเงินบาทแข็งค่าก็หมายความว่า เราจะใช้เงินบาทไทยน้อยลงเพื่อนำไปซื้อเงินดอลล่าร์ เช่น แต่เดิมต้องใช้ถึง 33 บาทเพื่อซื้อ 1 ดอลล่าร์ แต่เมื่อค่าเงินแข็งขึ้น เราก็อาจจะใช้แค่เพียง 30 บาทเพื่อซื้อ 1 ดอลล่าร์

          เห็นแบบนี้แล้วรู้สึกดีใช่มั้ยคะ ที่เราจ่ายน้อยลงแต่ได้มากขึ้น ถ้าจะไปเที่ยวเมืองนอก หรือซื้อของจากต่างประเทศเข้ามามันดีแน่นอนค่ะ แต่ในแง่ของธุรกิจก็ไม่ใช่เรื่องดีเลย โดยเฉพาะธุรกิจส่งออกที่จะทำกำไรได้น้อยลง คือขายของออกไปแล้วได้เงินดอลล่าร์กลับมา แต่เมื่อนำไปแลกเป็นเงินบาทกลับได้เงินน้อยลงกว่าที่ควรจะได้ ตอนนี้หลายคนเลยเริ่มกังวลกันแล้วว่า ถ้าธุรกิจส่งออกที่เป็นรายได้หลักของ ประเทศเกิดแย่ลงเรื่อย ๆ แล้วชาวบ้านอย่างเรา ๆ ล่ะ จะทำยังไงกันดี

          วันนี้เรามีคำแนะนำการใช้เงินในช่วงเงินบาทแข็งค่าจาก คุณอิสริยะ สุวรรณนาคินทร์ พนักงานค้าเงิน ฝ่ายบริหารเงินจาก EXIM BANK มาฝากกันค่ะ

           1. เงินบาทแข็งค่าไม่มีผลต่อการออมนะคะ ดังนั้นเรายังสามารถออมเงินได้ตามปกติเหมือนเดิม โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มหรือลดจากเดิมค่ะ

           2. ในภาวะเช่นนี้ เรายังสามารถจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคได้ตามปกติค่ะ ไม่จำเป็นต้องซื้อของตุนไว้ และข้าวของก็ไม่ได้แพงขึ้นเหมือนภาวะเงินเฟ้อค่ะ

           3. ใครที่อยากไปเที่ยวเมืองนอก ช่วงเงินบาทแข็งค่าแบบนี้น่าจะเหมาะที่สุดค่ะ แต่ก็ต้องเช็คแนวโน้มค่าเงินในต่างประเทศให้ดีด้วย และควรแลกเงินไปในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะถ้าถือเงินตราต่างประเทศกลับมาแลกเป็นเงินบาทเป็นจำนวนมาก อาจจะทำให้เสียโอกาสคือการแลกกลับเป็นเงินบาทได้จำนวนที่น้อยลง

           4. สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจส่วนตัว ผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากเงินบาทแข็งค่า ควรจะทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น เช่น การทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Contact)ไว้ ซึ่งสามารถทำให้ผู้ประกอบการสามารถรับรู้ และควบคุมต้นทุนในการทำธุรกรรมได้ชัดเจน และไม่ต้องสูญเสียรายได้จำนวนมากจากการแข็งค่าของเงินบาท

           5. สำหรับคนที่มีเงินดอลล่าร์อยู่ในมือ เพราะเคยคิดจะเก็บไว้เก็งราคา ตอนนี้ก็มีสองทางให้เลือกค่ะ หนึ่งคือยอมขายขาดทุนแลกซะตั้งแต่ตอนนี้เลย หรือ สองคือถือรอไว้ให้ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนลงค่อยนำมาแลก แต่วิธีที่สองค่อนข้างมีความเสี่ยงค่ะ เพราะ 1 ปีที่ผ่านมาบาทแข็งค่ามาแล้ว 9% ซึ่งอาจจะขาดทุนมากกว่าเดิม แต่ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแต่ละบุคคลค่ะ

          จริง ๆ แล้วถ้าพูดถึงผลกระทบต่อคนทำงานทั่วไปอย่างเรา ก็อาจจะเห็นได้ไม่ชัดเจนมากเท่าผู้ที่ทำธุรกิจนำเข้าส่งออก แต่ยังไงก็ตามการช่วยกันฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ก็ยังเป็นสิ่งที่เราต้องช่วยกันอยู่เหมือนเดิมค่ะ อะไรซื้อได้หาได้ในบ้านเราก็ช่วยกันอุดหนุนให้เยอะ ๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญคือต้องรู้จักบริหารเงินให้ดี เพราะถึงภาวะเงินบาทแข็งค่าจะไม่กระทบเราเท่าไหร่ จนเราใช้เงินเพลินแบบลืมเก็บ หรือไม่ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ เราอาจจะเจอปัญหาที่เกิดจากตัวเอง ไม่ใช่จากระบบค่าเงินก็ได้นะคะ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!