Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 ปะการังสามารถฟื้นตัวได้ หลังเกิดภาวะฟอกขาว
TARADTHONG.COM
มกราคม 01, 2025, 12:50:01 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปะการังสามารถฟื้นตัวได้ หลังเกิดภาวะฟอกขาว  (อ่าน 5224 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: กันยายน 24, 2010, 08:05:08 PM »

ปะการังสามารถฟื้นตัวได้ หลังเกิดภาวะฟอกขาว


เป็นเวลาสิบกว่าปีแล้วที่ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการสำรวจและนำเสนอสถานการณ์ ปะการังฟอกขาว ให้สาธารณชนได้รับทราบความเป็นไปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2534 แต่สำหรับในปีนี้ 2553 ข่าวสภาวะ ปะการังฟอกขาว สร้างความฮือฮาและน่าวิตกกังวล หลังพบว่าแนวปะการังเกิดการฟอกขาวครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ท้องทะเลไทย

       สถานการณ์ ปะการังฟอกขาว รุนแรงจริงหรือ ?

             จากการสำรวจแนวปะการังทุกจังหวัดทางฝั่งอันดามัน พบว่าเกิด ปะการังฟอกขาว มากกว่า 70 % ของปะการังมีชีวิตที่มีอยู่ และหลังจากสำรวจ 1 เดือน ปะการังฟอกขาว ก็เริ่มตายถึง 40 % ขณะที่ฝั่งอ่าวไทยก็พบ ปะการังฟอกขาว รุนแรงเช่นเดียวกัน โดยพบปะการังมีการฟอกขาวจำนวนมาก ประมาณ 50-70 % ของแนวปะการังทั้งหมด ซึ่งนับเป็นการเกิดปรากฏการณ์ ปะการังฟอกขาว ที่กินพื้นที่มากที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในทะเลฝั่งอ่าวไทย ส่วนบริเวณกลุ่มเกาะตอนบนของชลบุรี ได้แก่ เกาะสีชัง เกาะนก เกาะสาก เกาะครก และเกาะจุ่น จะพบการฟอกขาวช้ากว่าจุดอื่น ๆ

             ขณะที่ท้องทะเลแถบเกาะภูเก็ต พื้นที่ที่เป็นจุดขายภาคการท่องเที่ยวที่สำคัญของไทยนั้น ก็หนีไม่พ้นสภาวะ ปะการังฟอกขาว ทั้งยังพบมากถึง 80-90 % ที่สำคัญปะการังฟอกขาวส่วนใหญ่คือ ปะการังน้ำตื้น หรือแนวปะการังที่มีความลึกของน้ำทะเลไม่เกิน 10 เมตร ซึ่งถือเป็นแนวปะการัง ถ้าลึกลงไปมากกว่านั้นยังพบการฟอกขาวน้อยมาก

             ส่วนในพื้นที่อื่น ๆ อาทิ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน พบมีการฟอกขาวบริเวณอ่าวนำชัย 25 % อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ พบการฟอกขาวทั้งเกาะสุรินทร์เหนือและใต้ 30-50 % ขณะที่บริเวณแหล่งดำน้ำใน จ.พังงา พบประมาณ 70 % อุทยานแห่งชาติทางทะเล จ.ชุมพร พบมีการฟอกขาวประมาณ 70 – 80 % ส่วนที่เกาะช้าง จ.ตราด เกาะเสม็ด จ.ระยอง ทะเลขนอม จ.นครศรีธรรมชาติ พบการฟอกขาวไม่รุนแรง

             นอกจากนี้ มีรายงานด้วยว่า ที่เกาะเต่า จ.ชุมพร และเกาะอาดังราวี จ.สตูล สถานการณ์ปะการังฟอกขาวปีนี้แย่กว่าปีที่เกิดสึนามึ เพราะตอนสึนามิแค่ปะการังหักพังฟื้นตัวไม่ยาก แต่ปีนี้ ปะการังฟอกขาว มากเสียจนไม่แน่ว่าอาจจะมีบางส่วนตายด้วยซ้ำ

             อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจยังพบข้อสังเกตอื่น ๆ คือ บริเวณที่สิ่งแวดล้อมดีในน้ำลึก มีแนวโน้มฟอกขาวน้อยกว่าในบริเวณน้ำตื้น ส่วนบริเวณน้ำขุ่นแต่การไหลเวียนของกระแสน้ำดี ก็พบว่ามีปะการังที่ไม่ฟอกขาวเลย โดยเฉพาะในที่ลึก ซึ่งน่าจะเกิดจากการปรับตัวให้ทนทานต่อสิ่งแวดล้อม และความขุ่นของน้ำยังช่วยลดปริมาณแสงลงด้วย นอกจากนี้ ยังพบว่าปะการังลายดอกไม้ (Pavona decussata) ปะการังดาวใหญ่(Diploastrea heliopora) และ Leptastrea transversa เป็นชนิดที่มีแนวโน้มต้านทานต่อการฟอกขาวได้ดี

       ปะการังฟอกขาว เกิดเพราะสาเหตุใด ?

             ปัจจัยที่ทำให้เกิด ปะการังฟอกขาว นักวิชาการ ระบุว่า สาเหตุน่าจะเกิดจากอุณหภูมิของน้ำทะเลที่ขึ้นสูงกว่าปกติ โดยอุณหภูมิปกติจะอยู่ที่ประมาณ 28-29 องศาเซลเซียส แต่ขณะนี้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส โดยอาจจะเป็นผลมาจากอากาศที่ค่อนข้างร้อนจัดในช่วงที่ผ่านมา หรืออาจมีกระแสน้ำอุ่นพัดเข้ามาในอ่าวไทย และทะเลฝั่งอันดามัน

             ทั้งนี้ อุณหภูมิที่อาจถือว่าเป็นจุดกระตุ้นให้เกิด ปะการังฟอกขาว คือที่ประมาณ 30.1 องศาเซลเซียส หากปะการังอยู่ในสภาพที่อุณหภูมิสูงกว่า 30.1 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานต่อเนื่องเกิน 3 สัปดาห์ ก็จะทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาวขึ้นนั่นเอง

             ขณะเดียวกัน ปรากฏการณ์เอลนีโญ ก็มีส่วนทำให้เกิดภาวะ ปะการังฟอกขาว ด้วยเช่นเดียวกัน โดย ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญมีความสัมพันธ์กับภาวะโลกร้อนอย่างชัดเจน และภาวะโลกร้อนเริ่มมีผลต่อธรรมชาติถี่และรุนแรงขึ้น โดยที่ผ่านมา ประเทศไทยศึกษาปะการังมากว่า 60-70 ปีแล้ว แต่พบปรากฏการณ์ ปะการังฟอกขาว รุนแรงเพียง 2 ครั้ง คือ ปี พ.ศ. 2541 และปีนี้ พ.ศ. 2553

       ปราฎการณ์ ปะการังฟอกขาว เป็นอย่างไร ?

             ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ปะการัง เป็นสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากใต้ทะเล ภายในเนื้อเยื่อของปะการังจะมีสาหร่ายเซลล์เดียวชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ ซึ่งสาหร่ายชนิดนี้จะเป็นวัตถุที่ช่วยสร้างสีสันให้กับปะการัง นอกจากนี้ยังมีการสังเคราะห์แสงให้พลังงานแก่ปะการังอีกด้วย

             การเกิดภาวะฟอกขาวจะเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิของน้ำทะเลสูงมากเกินกว่าระดับที่ควรจะเป็น โดยตามหลักวิทยาศาสตร์ อธิบายไว้ว่า ปะการังจะทำการเหวี่ยงสาหร่ายออกไปจากตัวมัน เอาสาหร่ายที่ทำให้ปะการังมีสีสันออกมา ตัวปะการังเลยเห็นเป็นเนื้อเยื่อใส ๆ คลุมก้อนหินปูนอยู่คล้ายวุ้นเป็นสีขาวไปทั่วบริเวณ โดยภาวะแรกเริ่มของการฟอกขาว ปะการังจะยังไม่ตายทันที จะอ่อนแอและมีชีวิตอยู่ได้อีก 2-3 สัปดาห์ หากอุณหภูมิน้ำทะเลหรือสภาพแวดล้อมกลับคืนสู่สภาพปกติ ปะการังจะสามารถปรับสภาพและฟื้นตัวได้

       ปะการังสามารถฟื้นตัวได้ อย่างไร ?

             โอกาสการฟื้นตัวของ ปะการังฟอกขาว ขึ้นอยู่กับสภาพปะการังที่แตกต่างกันไปในแต่ละบริเวณ ความรุนแรงของการฟอกขาว ปริมาณและความหลากหลายของชนิดปะการังที่เหลืออยู่ในบริเวณนั้น ๆ การกระจายตัวอ่อนจากบริเวณใกล้เคียง และที่สำคัญที่สุดคือสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการฟื้นตัวและการเจริญเติบโตของปะการัง

             โดยมีข้อมูลยืนยันว่า ปะการังฟอกขาวฟื้นตัวได้ หากสภาพสิ่งแวดล้อมกลับมาเป็นปกติในระยะเวลาไม่นาน ซึ่งลักษณะการฟื้นตัวของปะการังฟอกขาว อาจเกิดได้ 2 รูปแบบ คือ...

             1. ปะการังที่ฟอกขาวสามารถทนสภาพที่อ่อนแอได้ประมาณ 1 เดือนครึ่ง หากอุณหภูมิน้ำลดลง ปะการังที่ฟอกขาวอยู่นั้นก็สามารถดึงสาหร่ายซูแซนเทลลี่สามารถกลับเข้าสู่ เนื้อเยื่อ  และสามารถฟื้นตัวมีสีดังเดิม  กระบวนการฟื้นตัวของแนวปะการังแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้เร็วภายใน 2-3 เดือน เมื่ออุณหภูมิลดลงสู่สภาพปกติ (อุณหภูมิลดลงได้เนื่องจากลมมรสุมเข้าหรือมี เมฆฝนมาก) แต่หากสภาพแวดล้อมยังไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน ปะการังบางชนิดจะเริ่มตายลง โดยสามารถสังเกตได้จากเริ่มเห็นสาหร่ายและตะกอนที่ขึ้นคลุมปะการัง

             2. กรณีที่ปะการังที่ฟอกขาวได้ตายไป พื้นที่ แนวปะการังที่เสื่อมโทรมลงจากการตายของปะการังเนื่องจากการฟอกขาวก็ ยังสามารถฟื้นตัวได้ โดยมีตัวอ่อนปะการังเข้ามาเกาะในพื้นที่ หรือปะการังบางชนิดที่ยังเหลืออยู่ค่อย ๆ เจริญเติบโตครอบคลุมแนวปะการัง กระบวนการนี้อาจใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี เป็นอย่างน้อย แนวปะการังจึงกลับมามีสภาพดีดังเดิม

             ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า พื้นที่นั้นต้องมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม มีคุณภาพน้ำดี เช่น น้ำใสสะอาด ปราศจากการรบกวนของกิจกรรมของมนุษย์ มีพื้นแข็งสำหรับตัวอ่อนปะการังลงยึดเกาะเพื่อเจริญเติบโต มีระบบนิเวศที่ยังอยู่ในสภาพสมดุล ไม่มีการจับปลาหรือสัตว์ที่กินสาหร่ายออกจากพื้นที่มากเกินไป เนื่องจากสาหร่ายที่คลุมตามพื้นจะทำให้ตัวอ่อนของปะการังไม่สามารถลงเกาะได้ รวมทั้งแก่งแย่งพื้นที่การเจริญเติบโตของปะการัง

             อย่างไรก็ตาม หากสมดุลของระบบนิเวศสูญเสียไป การฟื้นตัวของแนวปะการังจะเกิดขึ้นได้ช้ามาก หรือไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ซึ่งในปัจจุบันการฟื้นตัวของปะการังในหลาย ๆ พื้นที่ก็เป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีผลกระทบของมนุษย์เข้าไปซ้ำเติมต่อการฟื้นตัว โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการพัฒนาค่อนข้างเยอะและรุนแรง อย่างเช่น เกาะช้าง เกาะสมุย ซึ่งเป็นเกาะที่มีการตัดถนน ทำรีสอร์ท ทำให้ตะกอนลงทะเล ขณะเดียวกัน การขยายตัวของนักท่องเที่ยวทำให้เกิดการควบคุมที่ไม่ดี สองแห่งนี้จึงน่าเป็นห่วงที่สุด

             และถ้าทุกอย่างไม่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวของปะการัง มันก็จะตายลงและจะมีสาหร่ายมาขึ้นแทน จากนั้นก็จะเปลี่ยนสถานะจากแนวปะการังที่เป็นสีสันแห่งท้องทะเล กลายเป็นแนวหินโสโครกแทน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อจำนวนปลา สูญเสียแหล่งความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในทะเล ทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำลดลง หรือสูญหายไปจากหลายพื้นที่ รวมไปถึงการกัดเซาะชายฝั่ง ขณะเดียวกัน ยังส่งผลกระทบต่อภาคการประมง และการท่องเที่ยวด้วย 

             แต่ก็ยังมีเรื่องที่น่ายินดีว่า จากการสำรวจเบื้องต้นที่เกาะพีพี จ.กระบี่ พบว่าขณะนี้ปะการังโขดซึ่งเกิดการฟอกขาวนั้นได้มีการฟื้นตัวกลับมาแล้วประมาณ 50% ส่วนพื้นที่อื่น ๆ ก็เช่นกัน ขณะที่ปะการังเขากวางนั้นไม่พบว่ามีการฟื้นตัวกลับมา คาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี เนื่องจากมีความเสียหายค่อนข้างมาก 

       เยียวยา ปะการังฟอกขาว ทำอย่างไร ?

             การดำเนินการและการจัดการพื้นที่แนวปะการังที่ได้รับผลกระทบจากการฟอกขาว ควรส่งเสริมการฟื้นตัวตามธรรมชาติของปะการัง ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

             - การงดกิจกรรมใด ๆ ที่รบกวนปะการัง

             - เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ประโยชน์จากแนวปะการัง โดยเฉพาะระยะแรกๆ หลังการเกิดฟอกขาว

             - ในพื้นที่ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวควรลดหรืองดกิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเล เพื่อช่วยลดมลพิษที่จะถูกปล่อยลงสู่ทะเล และให้เวลาปะการังในการฟื้นตัวกลับคืนสู่สภาพเดิม

             - ในระยะยาวที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจนไม่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวตามธรรมชาติของปะการัง การเข้าฟื้นฟูโดยมนุษย์อาจกระทำได้โดยใช้วิธีการที่แตกต่างกันไป ขึ้นกับความเหมาะสมในแต่ละบริเวณ และควรดำเนินการด้วยความระมัดระวัง

             - ควรเฝ้าระวังรักษาแนวปะการังที่สามารถต้านทาน หรือทนทาน ต่อการเกิดปะการังฟอกขาวให้เป็นแหล่งกระจายตัวอ่อนของปะการังตามธรรมชาติ

             - มาตรการระยะยาวที่ต้องทำ คือ การรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงภาวะคุกคามต่อแนวปะการัง อันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน

             แม้ว่าสาเหตุหลักของ ปะการังฟอกขาว จะเกิดจากอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น แต่หากเราทุกคนไม่เพิ่มภาระให้ด้วยการเหยียบปะการัง ให้อาหารปลา หรือทิ้งอาหารเหลือลงทะเล รวมถึงช่วยกันใส่ใจดูแล ปะการังสวย ๆ ก็จะยังเป็นสมบัติล้ำค่าของท้องทะเลไทยต่อไปอีกนานเท่านาน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!