Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 กินหมูไม่สุก ระวัง streptococcus suis คร่าชีวิต
TARADTHONG.COM
มกราคม 11, 2025, 02:11:35 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กินหมูไม่สุก ระวัง streptococcus suis คร่าชีวิต  (อ่าน 5998 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: สิงหาคม 23, 2010, 10:25:07 AM »

กินหมูไม่สุก ระวัง streptococcus suis คร่าชีวิต

เราคงทราบกันดีว่า การรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ มักก่อให้เกิดโรคตามมาภายหลังมากมาย และในช่วงหลังมานี้เราก็มักได้ยินข่าวคนทานหมูกระทะที่ไม่สุก หรือทานอาหารที่มีส่วนประกอบของเนื้อหมูดิบ ๆ หรือเลือดหมูกลายเป็นโรคหูดับ หูหนวก เป็นอัมพาต หรือเลวร้ายที่สุดถึงขั้นเสียชีวิต จากการรับเชื้อ Streptococus suis (สเตรปโตคอคคัส ซูอิส) เข้าไปในร่างกาย

          ว่าแต่...เนื้อหมูดิบจะส่งผลกระทบถึงขั้นเสียชีวิตได้ขนาดนั้นเชียวหรือ วันนี้กระปุกดอทคอม ขออาสามาเตือนภัยเรื่องนี้กันค่ะ

          สำหรับ โรคสเตรปโตคอคคัส ซูอิส เป็นโรคที่เกิดในสุกร เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococus suis ในสกุล Streptococcus ที่ปกติจะมีอยู่ในสุกรเกือบทุกตัว ซึ่งฝังตัวอยู่ในต่อมทอนซิลของสุกร แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดโรค เว้นแต่เมื่อใดที่สุกรมีร่างกายอ่อนแอ เครียด หรือป่วยด้วยโรคที่ไปกดภูมิคุ้มกัน แบคทีเรียตัวนี้ก็จะเพิ่มจำนวน และติดเชื้อในกระแสเลือด (bacteremia) และทำให้หมูป่วยและตายได้ในที่สุด

เชื้อ Streptococus suis ติดต่อสู่คนได้อย่างไร

          เชื้อ Streptococus suis สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ 2 ทาง คือ

           1. ผ่านทางบาดแผล รอยถลอก เยื่อบุตา จากการสัมผัสสุกรที่เป็นโรค กลุ่มเสี่ยงที่ควรระวังคือ เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร คนทำงานในโรงฆ่าสัตว์ คนชำแหละเนื้อสัตว์ สัตวแพทย์ สัตวบาล

           2.จากการบริโภคเนื้อสุกร เครื่องใน หรือเลือดหมูที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุก เช่น ลาบ ลู่ ที่นิยมทำจากเนื้อหมูดิบ ๆ หรือหมูกระทะที่ปิ้งย่างไม่สุก

 อาการของผู้ป่วย

          ผู้ป่วยที่รับเชื้อ Streptococus suis เข้าสู่ร่างกายแล้ว ภายใน 3 วัน จะมีไข้ คลื่นเหียน ปวดศีรษะ จนเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าไปสู่เยื่อหุ้มสมอง ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบ ม่านตาอักเสบตามมา และเนื่องจากเยื่อหุ้มสมอง อยู่ใกล้กับปลายประสาทหูชั้นในทั้งสองข้าง เชื้อจึงสามารถลุกลาม และทำให้เกิดหนองบริเวณปลายประสาทรับเสียงและประสาททรงตัว ทำให้หูตึง หูดับ จนหูหนวกร่วมกับอาการเวียนศีรษะและเดินเซตามมาได้ รวมทั้งเกิดอาการ Toxic Shock Syndrome ซึ่งอาการทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นภายใน 14 วัน หลังจากเริ่มมีอาการไข้

          นอกจากนี้ ความน่ากลัวของ Streptococus suis ไม่ใช่เพียงแค่ทำให้หูหนวก และสูญเสียการทรงตัวเท่านั้น แต่หากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาช้า จะทำให้เชื้อแบคทีเรีย Streptococus suis เข้าไปทำลายเยื่อหุ้มสมอง หรืออาจเกิดติดเชื้อในกระแสโลหิตจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ในที่สุด




 การรักษา

          แพทย์จะจ่ายยาต้านจุลชีพให้ เช่น ฉีดยาเพนนิซิลลินขนาดสูง 18-24 ล้านยูนิตทางหลอดเลือดดำ เป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ให้เพื่อฆ่าเชื้อโรค

          แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางคนที่รอดชีวิตมา ยังอาจมีความผิดปกติหลงเหลืออยู่ เช่น ความผิดปกติในการทรงตัว เนื่องจากเชื้อได้เข้าไปทำลายเยื่อหุ้มสมอง หรือหากเชื้อเข้าปลายระบบประสาทตา จะทำให้ม่านตาอักเสบ ลูกตาฝ่อ หรือตาบอดได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยบางคนยังอาจเป็นอัมพาตครึ่งซีกได้เช่นกัน

 การป้องกัน

          สำหรับในสุกรนั้น ควรเลี้ยงสุกรให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่แออัด โรงเรือนต้องระบายอากาศได้ดี ป้องกันสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันได้ เพื่อไม่ให้สุกรอ่อนแอ จนเชื้อStreptococus suis เพิ่มจำนวนเข้ามาได้ เนื่องจากสุกรที่รับเชื้อ Streptococus suis เข้ามาแล้วจะไม่แสดงอาการป่วย เราจึงไม่สามารถทราบได้เลยว่า สุกรตัวไหนที่ป่วย

          ขณะที่วิธีป้องกันเชื้อ Streptococus suis ในคนที่ต้องทำงานในฟาร์ม หรือสัมผัสสุกร ควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล สวมรองเท้าบู้ต หรือ สวมถุงมือระหว่างปฏิบัติงาน จะป้องกันการแพร่เชื้อจากสุกรมาสู่คนได้

          แต่สำหรับเรา ๆ การหลีกเลี่ยงบริโภคเนื้อสุกร เครื่องใน รวมทั้งเลือดหมูที่ดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ เป็นหนทางป้องกันที่ดีที่สุด เพราะเชื้อ Streptococus suis จะถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน ดังนั้นหากต้องการหลีกเลี่ยงเชื้อ Streptococus suis ก็อย่าลืมปรุงอาหารให้สุกก่อนทุกครั้งค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!