Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 พิธี คว่ำบาตร
TARADTHONG.COM
มกราคม 07, 2025, 10:47:11 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พิธี คว่ำบาตร  (อ่าน 5312 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 06:47:44 PM »

พิธี คว่ำบาตร

 คว่ำบาตร คือการประกาศตัดสัมพันธ์ กับผู้ที่ ทำผิดทางศาสนา อย่างแรง คฤหัสถ์ ที่ถูกสงฆ์คว่ำบาตร คือผู้ทำความผิดแปดอย่าง ได้แก่

 ๑. ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแก่สงฆ์

๒. ขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่สงฆ์

๓. ขวนขวายเพื่อให้พระอยู่ไม่ได้

๔. ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย

๕. ยุยงให้สงฆ์แตกกัน

๖. ตำหนิติเตียนพระพุทธเจ้า

๗. ตำหนิติเตียนพระธรรม

๘. ตำหนิติเตียนพระสงฆ์

ผู้ใดเป็นอุบาสกอยู่แล้ว ยังทำความพยายามอย่างนี้ สงฆ์เห็นว่า หากจะติดต่ออยู่ ก็กำเริบทำความเสื่อมเสียแก่ พระศาสนายิ่งขึ้น ก็ทำพิธีคว่ำบาตรเสีย

พิธีคว่ำบาตรนั้น สงฆ์ทั้งหมด จะประชุมกัน รูปหนึ่ง ประกาศความผิด ของผู้ที่จะคว่ำบาตรแล้วประกาศคว่ำบาตร สองครั้ง (ญัตติทุติยกรรม) เมื่อคว่ำบาตรแล้ว ภิกษุสามเณร จะต้องงดรับบิณฑบาตของเขา งดรับของทุกอย่าง งดการติดต่อทั้งสิ้น จนกว่าเขา จะสำนึกผิด มาขอขมาสงฆ์สงฆ์จึงทำพิธี หงายบาตรให้ โดยมีการประชุมสงฆ์ ทำนองเดียวกับ ตอนคว่ำบาตร แต่ตอนหงายบาตรให้อุบาสกผู้นั้น อยู่ในที่ประชุมสงฆ์ด้วย

ต่อมา "คว่ำบาตร" กลายเป็นสำนวน มีความหมายถึง การตัดออกจาก สมาคม ไม่คบหาด้วยพระ จึงไม่ได้เป็นฝ่าย คว่ำบาตร ต่อคฤหัสถ์เท่านั้น คฤหัสถ์ก็สามารถ \"คว่ำบาตร\" ไม่ตักบาตรทำบุญกับพระที่ตนเห็นว่า มีวัตรปฏิบัติ ไม่เหมาะไม่ควรได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : 108ซองคำถาม

ข้อมูลนี้ได้มาจาก สารานุกรมไทย เล่มที่ ๑๔ (อนุภาค) ของ อุทัย สินธุสาร
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!