Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 ดูแล...เบบี้ คลอดก่อนกำหนด
TARADTHONG.COM
มกราคม 11, 2025, 05:54:41 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ดูแล...เบบี้ คลอดก่อนกำหนด  (อ่าน 6743 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
loveyou
Administrator
Full Member
*****

คะแนนความนิยม: 29
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 234



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2010, 09:47:51 AM »


ดูแล...เบบี้ คลอดก่อนกำหนด (รักลูก)

              จะทำอย่างไรเมื่อลูกคลอดก่อนกำหนด เขาจะแข็งแรงไหม จะเลี้ยงดูอย่างไร ฯลฯ และหากคุณเป็นหนึ่งที่ต้องพบกับเหตุการณ์นี้ หยุดความกังวล...แล้วไปพบคำตอบของทางแก้ด้วยกันค่ะ

สาเหตุที่หนูคลอดก่อนใคร ๆ

              เด็กคลอดก่อนกำหนด คือเด็กที่อยู่ในครรภ์ต่ำกว่า 37 สัปดาห์ แต่ปัจจุบันด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ทันสมัย ทำให้ประเทศไทยสามารถเลี้ยงเด็กคลอดก่อนกำหนดได้มากขึ้น ซึ่งเคยพบว่ามีเด็กคลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ รอดชีวิตแล้วค่ะ

การคลอดก่อนกำหนด แบ่งเป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ

              1. สาเหตุจากแม่ โดยอาจจะเกิดจากคุณแม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่เป็นตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์หรือหลังตั้งครรภ์ รกเสื่อมก่อนกำหนด สายสะดือฝ่อเร็วกว่ากำหนดทำให้เด็กไม่สามารถรับสารอาหาร และต้องออกมาก่อนกำหนดรวมทั้งคุณแม่ที่เป็นธาลัสซีเมีย หรือมีการตั้งครรภ์แฝด

              2. สาเหตุจากลูก เช่น เด็กมีการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือมีความพิการแต่กำเนิด เช่น ไส้เลื่อน กระบังลม หรือโรจหัวใจ พิการบางอย่า ทำให้ต้องคลอดก่อนกำหนด เพราะในประเทศไทย ยังไม่สามารถทำการรักษาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้ค่ะ

คลอดก่อนกำหนด ส่งผลต่อสุขภาพ?

              เด็กคลอดก่อนกำหนด มีภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพในหลายด้าน เพราะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายยังพัฒนาไม่เต็มที่ แต่ก็ต้องออกมาอยู่ในโลกภายนอกก่อนกำหนด ทำให้สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง และอวัยวะที่สำคัญก็อาจจะมีปัญหาได้ เช่น

               สมอง ปัญหาที่พบได้บ่อยคือภาวะเลือดออกในสมอง โดยถ้าเด็กมีปัญหาในการหายใจ ทั้งการหยุดหายใจ หรือหัวใจไม่เต้น เด็กกลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในสมองสูงภายใน 72 ซม. แรกหลังจากคลอด นอกจากนี้ยังพบว่ามีภาวะขาดออกซิเจน โดยอาจจะมีปัญหาจากหัวใจ ปอด เพราะการขาดออกซิเจนจะทำให้เนื้อสมองตาย เด็กกลุ่มนี้เมื่อโตขึ้นจะมีปัญหาสมองพิการได้ค่ะ

               ตา ถ้าเด็กคลอดในอายุครรภ์ต่ำกว่า 36 สัปดาห์ จะมีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ซึ่งเกิดจากจอประสาทตายังพัฒนาไม่เต็มที่ บางคน เมื่อโตขึ้นจะมีสายตาสั้น สายตาเอียง ตาเข หรือจนกระทั่งตาบอด แต่ก็มีจำนวนน้อยมากค่ะ

               หัวใจ เด็กคลอดก่อนกำหนดจะมีภาวะเส้นเลือดหัวใจเกิน (PDA) ช่วงที่อยู่ในท้องคุณแม่ ปกติแล้วเด็กๆ ต้องมีเส้นเลือดที่เกินมานี้อยู่ โดยหลังจากคลอดแล้ว เส้นเลือดนี้จะสามารถหยุดทำงานได้เอง

              แต่ในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด โดยเฉพาะที่น้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม พบว่าเส้นเลือดนี้ยังทำงานอยู่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กหัวใจวายหายใจหอบ หัวใจเต้นเร็ว มีอาการเลือดออกในปอดจากภาวะหัวใจวายค่ะ

               ปอด เด็กคลอดก่อนกำหนดที่อายุครรภ์น้อยๆ พบว่ามีปัญหาปอดไม่เจริญเติบโตบ่อยมาก โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และไม่ได้ฉีดยาเร่งการเจริญเติบโตของปอดก่อนคลอด

              ในต่างประเทศ คุณแม่ที่มีลูกคลอดก่อนกำหนดจะได้รับยาตัวนี้ถึง 80% แต่ในประเทศไทยได้รับยาไม่ถึง 20% ซึ่งปัญหาอาจมาจากคุณแม่ไม่ทราบว่าเจ็บครรภ์คลอดหรือยัง เพราะส่วนใหญ่เมื่อมาถึงโรงพยาบาลก็จะคลอดลูกเลย

              ปัจจุบันมีการให้ยาเร่งการเจริญเติบโตของปอด สำหรับเด็กที่ปอดไม่เจริญหลังคลอด แต่การที่เด็กได้รับยาหลังคลอดก็ไม่ดีเท่ากับให้ก่อนคลอด เพราะเด็กบางคนอาจได้รับผลข้างเคียงจากยา

               ลำไส้ ปัญหาที่พบได้บ่อย คือลำไส้เน่าตายเฉพาะที่ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ แต่มีรายงานจากทั่วโลกแล้วว่า เด็กคลอดก่อนกำหนดที่กินนมแม่สามารถป้องกันภาวะนี้ได้ จึงมีการส่งเสริมให้เด็กคลอดก่อนกำหนด กินนมแม่ให้มากที่สุดและนานที่สุด เพื่อป้องกันปัญหานี้ค่ะ

               การหยุดหายใจ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 สัปดาห์หลังคลอด สมองยังไม่เจริญเติบโตและไม่กระตุ้นระบบหายใจ ทำให้เด็กหยุดหายใจได้บ่อยๆ ซึ่งแพทย์จะทำการรักษาโดยมีทั้งการใช้ยากินและยาฉีด เพื่อกระตุ้นให้เด็กหายใจเอง แต่ถ้าใช้ยาแล้วไม่ได้ผลก็จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

              ปัญหาสุขภาพของเด็กคลอดก่อนกำหนด แม้จะเกิดขึ้นในอวัยวะที่สำคัญ แต่ทุกโรคสามารถรักษาได้ แต่ก็อาจจะไม่ใช่เด็กทุกคนที่รอดชีวิต เพราะต้องขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ประกอบด้วยค่ะ

ดูแลเด็กคลอดก่อนกำหนด

               @ Hospital เมื่อทารกคลอดออกมาต้องอยู่ในไอซียูทารกแรกเกิด และถ้าคลอดก่อนกำหนดมากๆ ในอายุครรภ์น้อยๆ ประกอบกับมีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำกว่า 750 กรัม อาจต้องอยู่โรงพยาบาลนานถึง 3-6 เดือน เพราะเด็กที่ตัวเล็กมาก ๆ จะมีโรคแทรกซ้อนได้สูงขึ้น จึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ทางโรงพยาบาลจะต้องดูแลเด็กๆ ให้แข็งแรง หรือหายใจได้เองก่อน จึงจะให้กลับบ้านได้

              นอกจากนั้น สิ่งที่จะทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนดมีความแข็งแรงทั้งกายและใจ คือความรัก ความผูกพันของพ่อแม่ แม้ลูกจะต้องอยู่ในโรงพยาบาลหลายเดือน แต่ทางโรงพยาบาลจะมีสถานที่ให้คุณแม่มานอนเฝ้าลูก ให้อุ้มลูก โอบกอดสัมผัส และส่งเสริมการให้นมแม่

              มีงานวิจัยจากทั่วโลกบอกว่าควรให้เด็กคลอดก่อนกำหนดได้รับนมแม่ เพราะจะช่วยให้ลูกมีการพัฒนาของสมองที่ดีขึ้น หายเจ็บป่วยได้เร็วขึ้น และการติดเชื้อลดลงอีกด้วยค่ะ แม้แต่เด็กที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ คุณแม่ก็สามารถอุ้มลูกได้ โดยใช้ท่า Kangaroo Care ซึ่งให้ลูกนอนบนอกที่เปลือยเปล่าของแม่ เพื่อให้แม่ได้โอบกอดลูกได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกได้ด้วย แม้ลูกน้อยจะยังดูดนมแม่ไม่ได้ แต่การสัมผัสใกล้ชิดระหว่างกัน ก็เป็นการกระตุ้นการสร้างน้ำนมได้ดี ทำให้สามารถปั้มนมแม่ให้ลูกกินได้ค่ะ

               @ Home การเลี้ยงดูเด็กคลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่จะเหมือนเด็กปกติค่ะ เพราะทางโรงพยาบาลจะดูแลจนกว่าเด็กจะแข็งแรง หายใจและดูดนมได้เองจึงจะให้กลับบ้าน มีเด็กส่วนน้อยเท่านั้นที่จะต้องให้ออกซิเจนอยู่ เพราะปอดถูกทำลายไปมาก จึงต้องสอนพ่อแม่ให้รู้เกี่ยวกับอุปกรณ์การใช้ถังออกซิเจน

              โดยทางโรงพยาบาลอาจจะมีเครื่องมือให้ยืมไปที่บ้าน สอนวิธีดูดเสมหะ วิธีเคาะปอด หรือหลังออกจากโรงพยาบาล อาจมีพยาบาลไปเยี่ยมเพื่อดูว่าเด็กผิดปกติไหม หรือเด็กบางคนที่ไม่สามารถดูดกลืนได้ จึงต้องใส่สายให้อาหาร ก็ต้องสอนพ่อแม่ถึงเรื่องการผสมอาหาร วิธีเปลี่ยนสายให้อาหาร

              ในกรณีที่เด็กมีภาวะโรคปอดอักเสบเรื้อรัง อาจจะมีอาการหอบเหนื่อยเวลาเป็นหวัด พ่อแม่จะต้องให้ออกซิเจนและดูดเสมอหะให้ลูกค่ะ

สังเกตพัฒนาการลูกน้อย

              พัฒนาการของเด็กคลอดก่อนกำหนด จะนับตามอายุจริง คือเมื่อเด็กครบกำหนด 40 สัปดาห์ เช่น เด็กที่คลอด 32 สัปดาห์ หลังคลอด 8 สัปดาห์ จะถือว่าเป็นอายุจริงที่เด็กเพิ่งคลอดค่ะ

              เพราะฉะนั้นพัฒนาการของเด็กตอนคลอดจะยังไม่เริ่มขึ้น คือยังมองไม่เห็น พูดคุย หรือยิ้มไม่ได้ แต่เมื่อเด็กครบกำหนดอายุอีก 8 สัปดาห์ ก็จะเริ่มมองเห็น และมีพัฒนาการเป็นไปตามอายุจริง ๆ

              ถ้าเปรียบเทียบพัฒนาการแรกเกิดของเด็กคลอดก่อนกำหนด กับเด็กที่คลอดครบกำหนด พบว่าเด็กคลอดก่อนกำหนดจะมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติ แต่ถ้านำเด็กทั้ง 2 คนมาเปรียบเทียบกัน เมื่ออายุประมาณ 40 สัปดาห์ พบว่าเด็กคลอดก่อนกำหนดมีพัฒนาที่ใกล้เคียงเด็กปกติมาก จะมีเพียงส่วนน้อยประมาณ 20-30% เท่านั้น ที่มีปัญหาพัฒนาการช้า และมีปัญหาทางด้านอารมณ์หรือพฤติกรรม

              ดังนั้น การส่งเสริมและการกระตุ้นพัฒนาการจะทำเหมือนเด็กที่พัฒนาการช้าทั่ว ๆ ไป ซึ่งต้องสังเกตว่าลูกมีพัฒนาการด้านไหนช้าหรือพัฒนาการช้าโดยรวม ซึ่งก็ควรปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก ว่าลูกมีความบกพร่องจุดไหนและส่งเสริมให้ถูกต้องค่ะ

              ถ้าพ่อแม่ดูแลและให้ความรักกับลูกน้อยคลอดก่อนกำหนดอย่างเต็มที่ ตามคำแนะนำของแพทย์ หมั่นสังเกตพัฒนาการ เมื่อมีปัญหารีบปรึกษาแพทย์ โอกาสที่เจ้าตัวน้อยจะเติบโตแข็งแรง เหมือนเด็กที่คลอดครบกำหนดก็มีเต็มร้อยค่ะ
บันทึกการเข้า

รักนะ...จุ๊บ จุ๊บ
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!