TARADTHONG.COM
พฤศจิกายน 24, 2024, 07:04:34 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 10 เคล็ดลับการสอบสัมภาษณ์  (อ่าน 8525 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: มิถุนายน 18, 2010, 10:01:39 AM »

10 เคล็ดลับการสอบสัมภาษณ์

น้อง ๆ คนไหนที่กำลังเตรียมตัวเข้าสอบสัมภาษณ์ หรือได้รับการเรียกตัวจากสถานที่สมัครงาน เพื่อทดสอบความรู้ ความสามารถ บุคลิกภาพ ทักษะไหวพริบ คงจะกำลังเตรียมตัวให้พร้อมกับการรับศึกหนักอยู่ วันนี้เรามีเคล็ดลับการสอบสัมภาษณ์มาบอกกันค่ะ...^^

1. เตรียมตัวให้พร้อมที่สุด รักษาสุขภาพ ระมัดระวังเรื่องการกิน การพักผ่อน หลายคนพลาดท่าเรื่องการกินมาแล้ว เช่น ท้องเสีย เป็นไข้ ซึ่งอาจเกิดจากความวิตกกังวล ความเครียด ฯลฯ บางคนเพื่อนฝูงมาร่วมแสดงความยินดีล่วงหน้า ฉลองล่วงหน้าหามรุ่งหามค่ำ พับเพียบไปก็เยอะนะ จะหาว่าไม่บอก ลดความวิตกกังวล ทบทวนความรู้ ปรึกษาผู้ที่มีประสบการณ์ เตรียมตัวเตรียมใจให้ดี

2. แต่งกายอย่างไรดี อันนี้สำคัญเพราะเขาจะมองคุณด้วยความละเอียดมันหมายถึงบุคลิกภาพ และบ่งบอกว่า คุณ เป็น คนลักษณะอย่างไร ถ้าแต่งกายดีสุด สุด ด้วยเครื่องแต่งกายที่สุภาพสมฐานะ ใส่เสื้อเชิ๊ต กางเกงสุภาพ อย่าใส่ยีนส์นะขอร้อง เขาจะหาว่าไม่รู้กาละเทศะ ไม่รุ่มร่าม หรือคับเกินไป ห้ามใส่รองเท้าแตะ เด็ดขาด ควรใส่รองเท้าหนังสีสุภาพ ไม่มีลวดลาย พูดง่าย ๆ แต่งตัวให้สุภาพดูดีเท่านั้นพอ

3. ควรเตรียมอะไรไปบ้าง ก่อนเดินทางไปสัมภาษณ์ควรติดต่อสอบถาม และดูรายละเอียดให้ชัดเจน ว่าต้องเตรียมอะไรไปบ้างปกติจะเตรียมหลักฐานต่าง ๆ ที่สำคัญ ซึ่งเขาอาจจะขอเพิ่มเติม ตัวอย่างผลงาน เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย หรืออื่น ๆ ตามลักษณะของตำแหน่งงาน และที่จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณมากที่สุด แต่อย่าพะรุงพะรัง จะทำให้เสียบุคลิกภาพเปล่า ๆ

4. ควรเดินทางไปถึงที่สัมภาษณ์เมื่อใด ก่อนอื่นคุณต้องมั่นใจว่าจะไปถึงที่สอบใช้เวลาเท่าใด โดยเฉพาะคนที่อยู่ต่างจังหวัด แล้วเดินทางเข้าไปสอบในกรุงเทพ พลาดมาเยอะเหมือนกัน ต้องหาข้อมูลให้ชัดเจน และต้องแน่ใจว่าเขานัดสัมภาษณ์ที่ใด ถ้าไม่แน่ใจให้เดินทาง ไปดูล่วงหน้าก่อน แต่ที่ดีที่สุดควรเดินทางไปถึงที่สัมภาษณ์ล่วงหน้าประมาณสัก 15 นาที จะทำให้เรามีสมาธิ และมีเวลาเตรียมตัวมากขึ้น แต่ถ้าไปถึงล่วงหน้าเป็นชั่วโมง ก็ดีแต่อาจจะทำให้คุณรอนานอาจเกิดความหงุดหงิด เสียสมาธิได้ และควรไปคนเดียว ถ้าไม่จำเป็นอย่าพาผู้อื่นไปด้วยเพราะจะทำให้เราพะวง เขาอาจจะมองว่าคุณยังไม่เป็นผู้ใหญ่พอ

5. ทำอย่างไรดีขณะนั่งรอสัมภาษณ์ ระหว่างนั่งรอสัมภาษณ์ จงใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ที่สุด พยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานที่คุณสัมภาษณ์ให้มากที่สุด เช่น เอกสาร แผ่นพับ ตัวอย่างผลงาน หรือสอบถามจากฝ่ายประชาสัมพันธ์ เพื่อหารายละเอียดเพิ่มเติมที่จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณให้มากที่สุด พยายามแสดงความเป็นมิตรที่ดีด้วยรอยยิ้ม กับผู้อื่นรวมทั้งผู้เข้าสอบด้วยกันเพื่อสร้างความประทับใจ อย่าใช้สายตาว่าเขาคือศตรูหรือคู่แข่งซึ่งมันจะไม่เป็นผลดีสำหรับคุณเลย



6. เมื่อถูกเรียกตัวเข้าสัมภาษณ์ ก่อนเข้าห้องสัมภาษณ์ลองหายใจลึก ๆ ถ้ามีประตูควร เคาะ ประตู เสียก่อน ตามมารยาท ยกมือวันทาด้วยท่าทางสุภาพ ควรไหว้ประธานหรือผู้ที่มีตำแหน่งสูงสุดเพียงผู้เดียวถ้านั่งอยู่หลายคน โดยทั่วไปมัก นั่ง ตรงกลาง เรื่องนี้ ใช้ไหวพริบเองก็แล้วกัน อย่าเพิ่งนั่งจนกว่าจะได้รับอนุญาต หรือ คำเชิญจากผู้สัมภาษณ์ กล่าวขอบคุณครับแล้วนั่งให้หัวใจเต้น เบาลง จงมีสายตาท่าทางที่เป็นมิตร ห้ามหยิ่ง อันนี้แน่อยู่แล้วโดยธรรมชาติ

7. เมื่อได้ฟังคำถามคำแรก จงตอบคำถามด้วยความมั่นใจ ฉะฉาน ยกเว้นคุณไปสมัครเป็นนางเอกหนังเรื่องนางอาย พูดให้เป็นธรรมชาติด้วยเสียงที่พอเหมาะอย่าค่อย หรือดังเกินไป จงพูดเท่าที่จำเป็นอย่าคุยโม้โอ้อวด หรือถ่อมตนมากเกินไป จงพูดในสิ่งที่เป็นความจริงและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคำถามและเป็นประโยชน์ สำหรับคุณให้มากที่สุด และถ้าไม่เข้าใจคำถาม ? อย่าเดาคำถามอย่างเด็ดขาดควรกล่าวคำขอโทษและขอทบทวนคำถามอีกครั้งให้แน่ใจ แต่อย่าไม่เข้าใจบ่อยมาก ไม่ดี ถ้าคุณเข้าใจคำถามผิด แล้วเขาทักมากรุณากล่าวคำขอโทษแล้วตอบใหม่อย่ายืนยันคำพูดเดิม หรือย่าเถียงเด็ดขาด อาจทำให้การสัมภาษณ์ยุติลง

8. ถ้าพบกับคำถามที่ตอบไม่ได้ จงอย่าอ้างว่าไม่ได้เรียนมา และอย่าแสดงกริยาหงุดหงิดอารมณ์เสีย เขาอาจจะอยากลองดูไหวพริบการแก้ปัญหาของคุณ อันนี้อย่าตอบมั่วเด็ดขาด ยอมรับซะว่าไม่ทราบจริง ๆ และจะไปสืบค้นหาคำตอบภายหลัง ซึ่งแสดงว่าคุณเป็นผู้ใฝ่รู้ อย่าขอเปลี่ยนคำถามหรือขอผู้ช่วยเพราะไม่ใช่เกมโชว์ แต่หากเจอคำถามที่ลำบากใจ ทำใจเย็น ๆ ไว้ พร้อมทั้งใช้ไหวพริบของคุณตอบให้ดีที่สุด อย่าพูดในสิ่งที่ทำไม่ได้ และไม่มั่นใจอาจจะสร้างปัญหาได้ในภายหลัง

9. การใช้วาจาในระหว่างสัมภาษณ์ ควรใช้คำพูดที่ฉะฉานไม่ก้าวร้าว อย่าพูดคำพูดที่ไม่แน่ใจบ่อย ๆ หรือ ภาษาที่เป็นกระแสนิยม เช่น ใช่มั้งคะ ! แบบว่า! ว้าวดีจังเลย! จ๊าบจริงครับ! เจ๋งเลยครับ! ระวังดี ๆ นะโดยเฉพาะคนที่พูดบ่อย ๆ จนเป็นนิสัยอาจจะหลุดออกมาได้ มือขอให้อยู่เป็นสุขอย่าคุ้ยแคะแกะเกา ระวังให้ดีให้มันอยู่ในที่ที่ควรอยู่ จงใช้เท่าที่จำเป็น

10. เมื่อการสัมภาษณ์สิ้นสุดลง เป็นธรรมดาครับ ก็ต้องกล่าวขอบคุณที่ให้โอกาส แม้ว่าการสัมภาษณ์อาจจะไม่เป็นที่พอใจคุณเท่าใดนัก เช่น อาจตอบคำถามไม่ดี หรือมีข้อผิดพลาด พยายามข่มใจไว้ ไหว้งาม ๆ แล้วเดินออกไป อย่าลืมเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อย เช่น โต๊ะ เก้าอี้

 
บันทึกการเข้า
ringnant
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 18, 2010, 11:50:12 AM »

          ขออนุญาติ share นิดนึงนะครับ :

     1.  มีทฤษฎีนึงบอกเอาไว้ว่า -> ผู้ถูกสัมภาษณ์จะได้งานหรือไม่นั้น เวลา 5 นาทีแรกในการสัมภาษณ์เป็น golden period เลย เพราะผู้สัมภาษณ์จะตัดสินใจไปแล้วกว่า 50%
         ว่า O.K. หรือไม่ -> เวลาที่เหลือก็เป็นแค่คำถามที่จะช่วย confirm ความคิดของผู้สัมภาษณ์เท่านั้น

     2.  จากประสบการณ์ของผมเอง -> พบว่าผู้ถูกสัมภาษณ์มากกว่า 50% จะชิงถามเรื่องรายได้ต่างๆที่ตัวเองจะได้รับว่ามีอะไรบ้าง เท่าไร ( เงินเดือน, ค่ารถ , รถยนต์ประจำตำแหน่ง , โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ)
          คือผู้สัมภาษณ์กลายเป็นผู้ถูกสัมภาษณ์เสียเอง -> ซึ่งส่วนตัวแล้ว หากผู้ถูกสัมภาษณ์แสดงท่าทีเช่นนี้ตั้งแต่เริ่มการสัมภาษณ์ หรือแสดงกิริยาคาดคั้นเกินสมควร ผมจะไม่เสียเวลาสัมภาษณ์อีกต่อไป ->
          คำถามต่อมาก็คือแล้วผู้ถูกสัมภาษณ์ควรจะถามดีหรือไม่? เพราะใครๆก็อยากรู้รายได้ที่ตนเองจะได้รับนี่นา -> ในความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่า ใบสมัครส่วนใหญ่จะมีให้กรอกเงินเดือนที่ต้องการอยู่แล้ว
          ปัญหาก็คือผู้สมัครมักจะกั๊กๆการกรอกตัวเลขลงไปต่างหาก ( กลัวว่าจะกรอกน้อยไป ) อย่างไรก็ตาม หากการสัมภาษณ์เป็นไปด้วยดี ในช่วงท้ายของการสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์อาจจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่
          ผู้ถูกสัมภาษณ์เองก็ได้ และมักจะเปิดโอกาสให้ผู้ถูกสัมภาษณ์สอบถามรายละเอียดต่างๆที่ต้องการทราบเพิ่มเติมได้ ซึ่งผู้ถูกสัมภาษณ์ก็ควรสอบถามอย่างสุภาพและพอเหมาะพอควร เพราะผู้ถูกสัมภาษณ์ก็
          ต้องการความมั่นใจไม่ต่างจากผู้สัมภาษณ์เช่นเดียวกันว่าเลือกนายจ้างได้ตรงกับใจหรือไม่

ringnant
บันทึกการเข้า
ABC
Newbie
*

คะแนนความนิยม: 14
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 42


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 18, 2010, 05:11:55 PM »

ตกงานมาก็หลายปี ก็ได้เล่นทองนี่แหละเลี้ยงชีพ แต่บางทีก็ขาดทุนเหมือนกัน ดีใจที่มีเว็บไซต์ดีๆแห่งนี้ kiss1 kiss1 kiss1
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!