TARADTHONG.COM
พฤศจิกายน 27, 2024, 04:49:43 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สาระสำคัญของแผนเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐฯ  (อ่าน 6450 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
songkhla
Administrator
Jr. Member
*****

คะแนนความนิยม: 26
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 60



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2011, 07:56:07 AM »

สาระสำคัญของแผนเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐฯ

เอเอฟพี/เอเจนซี - แผนการขยายเพดานก่อหนี้ภาคสาธารณะ/ตัดลดยอดการขาดดุลงบประมาณ ที่พวกผู้นำรัฐสภาของพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันตกลงประนีประนอมกันได้ในคืนวันอาทิตย์(31 ก.ค.) ทำให้มีความเป็นไปได้สูงลิ่วที่สหรัฐฯจะไม่ต้องตกอยู่ในภาวะผิดนัดชำระหนี้ (default) ในวันอังคาร(2 ส.ค.)นี้ ทั้งนี้โดยที่ต้องติดตามต่อไปว่าสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ของสหรัฐฯ จะอนุมัติผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างทันการณ์ตามที่คาดการณ์กันหรือไม่
       
       สำหรับเนื้อหาสำคัญของแผนการนี้พอจะสรุปได้ดังนี้
       
       **เพดานก่อหนี้**
       ข้อตกลงจะเปิดทางให้ประธานาธิบดีโอบามาขยายเพดานก่อหนี้สินภาคสาธารณะของสหรัฐฯได้เป็น 3 ขั้นตอน โดยที่ในการขยับเพดานขยัก 2 และ 3 โอบามาต้องเสนอต่อรัฐสภา ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้พวกสมาชิกรัฐสภาที่ไม่เห็นด้วยได้แสดงความเห็นคัดค้านให้ปรากฏ ทว่าจะไม่สามารถสกัดกั้นได้ยกเว้นทั้ง 2 สภาต่างมีเสียงค้านเป็นจำนวนสองในสาม ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันเห็นกันว่าไม่น่าเป็นไปได้
       
       รวมทั้ง 3 ขั้นตอน ประธานาธิบดีสามารถขยายเพดานก่อหนี้ขึ้นไปอีกอย่างน้อย 2.1 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลสหรัฐฯบอกว่าเป็นระดับที่เพียงพอใช้ไปจนถึงปี 2013 และหมายความว่าไม่ต้องทำอะไรในปี 2012 อันเป็นปีที่ต้องมีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี
       
       **การตัดลดงบประมาณรายจ่ายรอบแรก**
       แผนการนี้กำหนดให้ตัดลดงบประมาณรายจ่ายลงเพื่อเป็นการลดยอดขาดดุลงบประมาณแผ่นดินให้ได้ราว 2.4 ล้านล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลา 10 ปีต่อจากนี้ไป โดยที่รัฐสภาจะให้การอนุมัติเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นแรกซึ่งทำเนียบขาวบอกว่ามียอดระหว่าง 900,000 ล้าน ถึง 1 ล้านล้าน ดอลลาร์ (จอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาล่างที่เป็นฝ่ายรีพับลิกันให้ตัวเลขแน่นอนเลยว่า 917,000 ล้านดอลลาร์) จะมีผลในทันทีที่บังคับใช้แผนการประนีประนอม
       
       รายการใช้จ่ายที่จะถูกตัดจะเป็นพวกโครงการแผนงานประเภทที่รัฐสภาอนุมัติให้เป็นรายปี (discretionary spending) ตั้งแต่งบประมาณทางทหาร ไปจนถึงโครงการตรวจสอบเฝ้าระวังด้านอาหาร โครงการเหล่านี้จะถูกกำหนดเพดานสูงสุดในแต่ละปีเป็นเวลา 10 ปี โดยที่ปีแรกๆ จะยังลดลงจากเดิมไม่มากนักเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ส่งผลกระทบกระเทือนภาวะเศรษฐกิจซึ่งกำลังย่ำแย่อยู่แล้ว เป็นต้นว่า งบประมาณรายจ่ายของปีงบประมาณปัจจุบัน (1 ต.ค.2011-30ก.ย.2012) ซึ่งยอดเดิมอยู่ที่ 1.049 ล้านล้านดอลลาร์ จะถูกลดลงมาเพียง 6,000 ล้านดอลลาร์เท่านั้น แต่เพดานใช้จ่ายจะส่งผลกระทบรุนแรงขึ้นในปีหลังๆ โดยที่วาดหวังกันว่าถึงตอนนั้นเศรษฐกิจสหรัฐฯน่าจะฟื้นตัวขึ้นมาแล้ว
       
       ในยอด 917,000 ล้านดอลลาร์ที่จะตัดลงในรอบแรกนี้ ประมาณ 350,000 ล้านดอลลาร์จะมาจากโครงการด้านกลาโหมและด้านความมั่นคงอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันมียอดรวมเท่ากับกว่าครึ่งหนึ่งของโครงการประเภทที่รัฐสภาอนุมัติให้เป็นรายปีทั้งหมด เนื่องจากสหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะถอนตัวออกจากอิรักและอัฟกานิสถานมากขึ้นเป็นลำดับ ค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้จึงน่าจะลดต่ำลงมาเรื่อยๆ อยู่แล้ว แต่กระนั้นพวกรีพับลิกันก็ยังคงต่อต้านแนวความคิดในเรื่องนี้ และจึงยังเป็นประเด็นที่อาจก่อให้เกิดการพิพาทขัดแย้งขึ้นมาอีกในเวลาต่อไป
       
       **การตัดลดงบประมาณรายจ่ายรอบสอง**
       ในขั้นตอนนี้กำหนดให้ตัดลดรายจ่ายให้ได้อีกราว 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลา 10 ปีเช่นกัน การตัดลดจะให้เป็นอำนาจการพิจารณาของคณะกรรมาธิการชุดหนึ่งที่รัฐสภาแต่งตั้งขึ้นเป็นพิเศษ สมาชิกที่มี 12 คนจะมาจากทั้ง 2 สภา โดยเป็นฝ่ายเดโมแครตและฝ่ายรีพับลิกันฝ่ายละเท่าๆ กัน
       
       คณะกรรมาธิการจะเสาะหาวิธีประหยัดงบประมาณด้วยการยกเครื่องระบบการจัดเก็บภาษี และปรับโครงสร้างโครงการด้านสวัสดิการสังคมต่างๆ ซึ่งเป็นประเด็นอ่อนไหวยิ่งในทางการเมือง และสมาชิกรัฐสภาของทั้งสองพรรคยังไม่สามารถตกลงกันได้เลยจนกระทั่งบัดนี้
       
       คณะกรรมาธิการจะต้องทำภารกิจนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 23 พฤศจิกายนปีนี้ แล้วเสนอให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติ โดยที่รัฐสภาจะต้องลงมติรับรองภายในวันที่ 23 ธันวาคม ทั้งนี้สมาชิกรัฐสภาสามารถลงคะแนนว่าจะรับหรือไม่รับ แต่ไม่สามารถแปรญัตติแก้ไขรายละเอียดได้
       
       ถ้าคณะกรรมาธิการไม่อาจเห็นพ้องกันเพื่อให้มีการตัดลดรายจ่ายอย่างน้อยที่สุด 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ หรือรัฐสภาลงมติไม่รับรองข้อเสนอของคณะกรรมาธิการ ก็ให้ทำการตัดลดงบประมาณรายจ่ายให้ได้เป็นจำนวนดังกล่าวโดยอัตโนมัติตั้งแต่งบประมาณปี 2013 เป็นต้นไป
       
       การตัดรายจ่ายลงอย่างอัตโนมัตินี้ให้แบ่งตัดจากพวกโครงการด้านการทหารครึ่งหนึ่ง และจากโครงการด้านที่ไม่ใช่การทหารอีกครึ่งหนึ่งเท่าๆ กัน ทว่าเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวระบุว่าจะไม่มีการแตะต้องโครงการสวัสดิการบางโครงการ
       
       **การแก้ไขรัฐธรรมนูญ**
       แผนการนี้ยังเรียกร้องให้ทั้งสองสภาทำการลงมติว่าจะรับรองหรือไม่รับรองบทแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ที่กำหนดให้รัฐบาลสหรัฐฯต้องจัดทำงบประมาณแผ่นดินแบบสมดุล ทั้งนี้เห็นกันว่าบทแก้ไขนี้คงไม่มีโอกาสผ่านออกมาบังคับใช้ เนื่องจากต้องได้เสียงสองในสามจากทั้งสองสภา แต่ที่มีการบรรจุข้อนี้เข้ามาด้วย ก็เพื่อจูงใจให้พวกอนุรักษนิยมยอมรับกับแผนการประนีประนอมทั้งฉบับได้มากขึ้น
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!