Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 ศึกชิงความเป็นหนึ่งของ Google-Facebook-Apple
TARADTHONG.COM
มกราคม 09, 2025, 12:48:45 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ศึกชิงความเป็นหนึ่งของ Google-Facebook-Apple  (อ่าน 6315 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
loveyou
Administrator
Full Member
*****

คะแนนความนิยม: 29
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 234



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: มิถุนายน 18, 2011, 04:58:44 PM »

ศึกชิงความเป็นหนึ่งของ Google-Facebook-Apple



Google-Facebook-Apple ศึกยักษ์ชิงความเป็นหนึ่งบนโลกอินเทอร์เน็ต (นิตยสาร E-Commerce)
ผู้เขียน : บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์

           สถานการณ์บนโลกอินเทอร์เน็ตในตอนนี้ คงเป็นภาวะที่คล้ายคลึงกับสถานการณ์ในพงศาวดารจีนอย่างสามก๊ก ที่ต้องมีการชิงไหวพริบวางกลยุทธ์เพื่อทำศึก และเฝ้าศึกษาการทำยุทธ์พิชัยสงครามของฝ่ายตรงข้ามแต่ละฝ่ายเพื่อครองความเป็นใหญ่ในผืนแผ่นดิน แน่นอนว่าบนโลกอินเทอร์เน็ตก็ถูกแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ Google, Facebook และ Apple

           ถามว่าฝ่ายไหนได้เปรียบที่สุดคงจะตอบไม่ได้ เพราะแต่ละฝ่ายต่างมีดีติดตัวมาร่วมศึกกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น Google ที่มีฐานสมาชิกบนโลกอินเทอร์เน็ต กับเครื่องมือค้นหาที่ได้รับความนิยม อีกทั้งระบบโฆษณาที่ทั่วโลกให้การยอมรับ Facebook ที่นับวันกำลังจะไล่ตามทัน Google เพราะทีเด็ดที่มากับระบบเครือข่ายสมาชิก อีกทั้งเป็นเครื่องมือในการทำการตลาดที่ยอดเยี่ยม โดยใช้ผู้เล่นในระบบเครือข่ายเป็นตัวหลักในการผลักดัน และประชาสัมพันธ์สินค้าบริการผ่านเกมเป็นส่วนใหญ่

           ส่วนน้องสุดท้ายคือ Apple ที่แม้จะมีกลยุทธ์ที่ดำเนินช้ากว่า 2 ยักษ์ใหญ่บนโลกออนไลน์แล้ว บนแพลตฟอร์มของอุปกรณ์ Apple ถือว่าเป็นผู้นำในเรื่องของการเปลี่ยนโลกทัศน์ที่นับวันจะมีไม้เด็ดออกมาสู่สายตาผู้ใช้งานในยุคของอินเทอร์เน็ตเป็นใหญ่นี้

เร่งรับปรับกลยุทธ์

           แม้ว่าแต่ละฝ่ายจะมีอาวุธที่ยอดเยี่ยมในการสู้ศึกสงครามออนไลน์ ที่สถานการณ์ของสงครามตอนนี้นับวันพร้อมที่จะประทุ และคุกคามจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปถึงแพลตฟอร์มอื่น เช่น อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ ซึ่งแต่ละฝ่ายนั้นคงไม่นิ่งนอนใจ และเชื่อมั่นในอาวุธที่ใช้ฟาดฟันได้เต็มที่เท่าใดนัก เพราะหากไม่รู้ศาสตร์ในการวางกลศึก ไม่ทราบกำลังของศัตรู แม้จะมีอาวุธที่ร้ายกาจ และมีประสิทธิภาพดีเยี่ยมเพียงใดก็อาจจะมีสิทธิเพลี่ยงพล้ำ และแพ้ศึกได้แน่นอน ซึ่งตอนนี้ทั้งสามฝ่ายอย่าง Google, Facebook และ Apple ต่างเฝ้าติดตามกันและกัน อีกทั้งยังเริ่มที่จะปรับกลยุทธ์ใหม่ไปพร้อมกัน โดยมีเป้าหมายหลักก็เพื่อจะครองใจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันให้ได้มากที่สุด

           Google ได้ปรับแผนดำเนินการขององค์กรใหม่ หลังจากที่ Larry Page เข้ารับตำแหน่ง CEO โดยหวังว่าการปรับแผนองค์กรใหม่ของ Google ในครั้งนี้ จะทำให้ Google สามารถทิ้งระยะให้ห่างจาก Facebook ที่นับวันจะวิ่งไล่ทันเข้ามาทุกที โดยการแต่งตั้งให้ผู้บริการระดับสูงทั้ง 6 ท่าน ประจำตำแหน่งรองประธานอาวุโสในฝ่ายต่างๆ ทั้ง 6 ฝ่าย เพื่อเป็นการควบคุมการแบ่งแยก Product Area ของ Google ให้มีความชัดเจนมากขึ้น
ผู้เขียนมีความเห็นว่าการแบ่งรองประธานอาวุโสประจำแต่ละฝ่ายในครั้งนี้จะมีผลต่อการดำเนินงานของ Google ได้มากขึ้นนั้นจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Google สามารถดำเนินแผนงานได้อย่างรวดเร็ว และมีความกระชับมากขึ้นกว่าเดิม

           ล่าสุด Google เร่งรัดพัฒนาระบบปฏิบัติการที่กำลังจะใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาอย่างแท็บเล็ตที่คาดว่าจะเป็นโครงการที่มีความลือว่า อาจจะดึงขึ้นมาปัดฝุ่นใหม่อย่าง Chrome OS ที่มีการทำงานผ่านระบบ Virtualization หรือ Cloud Computing และแพลตฟอร์มบนสมาร์ทโฟนอย่างระบบปฏิบัติการ Android ที่ตอนนี้ทาง Google เตรียมแผนการที่จะปรับเปลี่ยนมาตรฐานของการพัฒนาเจ้าระบบปฏิบัติการตัวนี้จากค่ายพัฒนาอิสระ ให้เป็นไปตามมาตรฐานและกฎของ Google ตั้งขึ้น เพื่อจะได้ไม่เกิดข้อแตกต่างในรุ่นของระบบปฏิบัติการ Android ที่ถูกแยกย้ายพัฒนาจากหลายแห่งมากจนเกินไป

           สำหรับ Facebook ที่ตอนนี้กำลังมาแรง และกำลังจะกำหนดการให้เป็นมาตรฐาน แม้กระทั่งเครื่องมือค้นหาหรือ Search Engine ชื่อดังอย่าง Yahoo ยังอาศัยบุญของเจ้าเครือข่ายสังคมออนไลน์ตัวนี้ไปด้วย ซึ่งกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายที่รองรับการทำการตลาดผ่านอินเทอร์เน็ตให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นนั้น ยังคงเป็นกลยุทธ์หลักของ Facebook ที่น่าจะดำเนินไปตามแผนดำเนินการเดิมที่ตั้งไว้

           แต่ใครจะทราบว่าช่วงหลังมีกระแสข่าวลือบนโลกอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับเจ้าบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ตัวนี้อย่างหนาหู อาจจะเพราะกรรมการผู้จัดการ หรือ CEO ของ Facebook นาย Mark Zuckerberg มีแฟนสาวเป็นชาวจีน ซึ่งมองดูเผิน ๆ อาจจะไม่เกี่ยวอะไร แต่ใครจะรู้ว่าแท้จริงแล้ว Facebook มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น เพราะอาจจะเป็นไปได้ว่า Facebook กำลังมีกลยุทธ์ที่จะเข้าถึงกลุ่มประชากรที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก และยังเป็นประเทศที่กำลังจะก้าวหน้าในเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างประเทศจีน

           ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวยังไม่ได้ถูกเปิดเผย และอาจจะเป็นเพียงข่าวลือหรือไม่ ผู้เขียนก็คงไม่สามารถยืนยันได้ เพราะเป็นเพียงข้อความที่ถูก Tweet ขึ้นไปผ่านบัญชีของ Hu Yanping ผู้ก่อตั้ง DCCI หรือศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Data Center of the China Internet) ซึ่งเป็นข้อความที่กล่าวถึง Facebook ว่า ได้ตกลงร่วมมือกับเครื่องมือค้นหาชื่อดังของจีนอย่าง Baidu แล้ว ไม่ว่าข้อความดังกล่าวจะเป็นจริงหรือไม่ ผู้เขียนมีความเห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดขึ้น เพราะ Facebook เตรียมหาโอกาสในการเป็นคู่แข่งกับ Google มาโดยตลอด การหาพันธกิจอย่าง Yahoo และ Baidu นั้นก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด

           การที่ Facebook ก้าวเข้าไปสร้างเครือข่ายบนประเทศจีนนั้นถือว่าเป็นการปูทางให้แก่ผู้ใช้งานภาคธุรกิจของจีนที่จะเริ่มหันมาใช้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์มากขึ้น อีกทั้งยังถือว่าเรื่องที่แปลกมากในการสร้างสื่อใหม่ในประเทศจีน ที่แม้แต่ Google เองนั้นก็ยังไม่สามารถเข้าถึงได้มาเป็นเวลานานแล้ว ที่สำคัญผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าประชากรญี่ปุ่นนั้นไม่นิยมใช้ Google เป็นเครื่องมือค้นหา  กลับใช้บริการของ Yahoo เป็นไปได้ว่าเป้าหมายของ Facebook คือ 2 ประเทศนี้ที่ขึ้นชื่อว่าก้าวหน้าระดับต้น ๆ ในเอเชีย

           Apple ถือว่าเป็นฝ่ายที่มีความแรงในการเป็นที่หนึ่งในเรื่องของสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์พกพาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว วัดได้จากยอดขายสมาร์ทโฟน, iPhone และ iPad ที่เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นชัดว่าการสื่อสารบนโลกอินเทอร์เน็ตนั้นไม่ได้เกิดขึ้นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ฝ่ายเดียวแต่อย่างใด ล่าสุดบริการ iAd ที่ Apple นำเสนอว่าจะเป็นบริการจัดการสื่อโฆษณาออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน, iPhone และ iPad หรือ App Store ช่องโหว่บางอย่างของเว็บบราวเซอร์ในอุปกรณ์สมาร์ทของแต่ละค่าย แต่ละระบบปฏิบัติการจะมีการแสดงผลป้ายโฆษณา หรือลิงก์อักษรโฆษณาที่แตกต่างกันไป ในสมาร์ทโฟนที่ได้รับความนิยมระดับแนวหน้าบางรุ่น อย่าง Android และ Apple นั้นบางทีการเข้าหน้าเว็บไซต์แทบไม่มีการแสดงผลโฆษณาออนไลน์จาก Google หรือบริการ Google Adsense ให้ปรากฏออกมาแต่อย่างใด

           อีกทั้งในทุกวันนี้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟนที่นับวันแทบจะทำธุรกรรมทุกอย่างผ่านแอพพลิเคชั่นทั้งหมดก็เริ่มมีจำนวนมากขึ้น จึงไม่แปลกใจเลยที่ Apple จะสร้างบริการ iAd ที่มีรูปแบบธุรกิจที่คล้ายคลึงกับ Advertise Service อย่าง Google Adsense ที่ได้รับความนิยมทั่วโลกผ่านเว็บไซต์ มาเป็นเครือข่ายลองเชิงผ่านแอพพลิเคชั่นบน App Store อย่างบริการ iAd ที่จะเป็นกลยุทธ์ที่น่าจับตามองของ Apple ซึ่งผลดีของบริการนี้อาจจะเป็นสิ่งที่สามารถต่อยอดไปสู่การขายสื่อโฆษณาจากหน้านิตยสาร ไปสู่โฆษณาที่ปรากฏบนหน้าของ E-Magazine

แอพพลิเคชั่นที่ต่างกันเพียงแพลตฟอร์ม

           ในเรื่องของตลาดแอพพลิเคชั่น ถ้าวิเคราะห์บนแพลตฟอร์มของสมาร์ทโฟนอาจจะมีการแข่งขันเพียง 2 ค่ายหลักคือ Android ของ Google และ iOS ของ Apple ที่ต่างพากันงัดลูกเล่นและชุดพัฒนาที่แสนจะอำนวยความสะดวกแก่เหล่านักพัฒนาให้สร้างสรรค์แอพพลิเคชั่นมากมายให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนได้เลือกใช้กันไม่หวาดไม่ไหว ทั้งบน Android App Market และ App Store หากถามว่า Facebook ที่ไม่มีแพลตฟอร์มของแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนจะเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบหรือเปล่า

           ผู้เขียนเห็นว่า ฝ่ายที่ดูจะสบายที่สุด และไม่ต้องเปลืองตัวเปลืองกำลังในศึกของแอพพลิเคชั่นบนแพลตฟอร์มนี้ นั่นก็คือ Facebook เพราะแอพพลิเคชั่นทุกตัวที่ปรากฏบน Store ของแต่ละค่าย ล้วนต้องมีการแทรกชุดโปรแกรมที่ต้องเชื่อมต่อกับบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ของ Facebook เกือบทุกแอพพลิเคชั่น ตั้งแต่แอพพลิเคชั่นจำพวกเกม ข่าว หรือ Feed RSS Reader ที่มาในรูปแบบของ E-Magazine อย่าง Flip Board ก็ยังต้องมีฟังก์ชั่นการทำงานสำหรับแบ่งปันข้อมูลที่เราสนใจผ่านหน้า Wall บนบัญชี Facebook ของเราให้เพื่อนในเครือข่ายได้รับรู้กันโดยทั่ว อีกทั้งเกมต่างๆ ที่เราเล่นบนสมาร์ทโฟน ก็ยังมีการแบ่งปันคะแนนสูงสุดที่เล่นได้ผ่าน Facebook อีกด้วย

           ดังนั้น แพลตฟอร์มสมาร์ทโฟนจึงเป็นแพลตฟอร์มที่ Google และ Apple จำเป็นต้องพึ่งพา Facebook ผู้เขียนอาจจะเปรียบสถานการณ์ในแพลตฟอร์มสมาร์ทโฟนตอนนี้ให้เหมือนเรื่องสามก๊ก ก็คงจะเปรียบว่า Facebook นั้นเหมือนฝ่ายของง่อก๊ก ที่นำโดยซุนกวน ที่ต้องชำนาญยุทธวิธีการทำศึกบนน่านน้ำ ซึ่งเป็นยุทธ์พิชัยศึกที่จ๊กก๊กของเล่าปี่ และวุยก๊กของโจโฉไม่ชำนาญ ทั้งสองฝ่ายอาจจำเป็นต้องพึ่งพา และยอมเสียเปรียบในการเป็นพันธมิตรแบ่งผลประโยชน์บางอย่างเพื่อช่วยเหลือในการทำสงคราม ที่บางครั้งต้องอาศัยภูมิศาสตร์ทางน้ำและผู้ชำนาญ เป็นต้น

           แต่ถ้ามองในส่วนของแพลตฟอร์มบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำงานผ่านเว็บบราวเซอร์พื้นฐานทั้ง 3 ค่าย ต่างมีลูกเล่นที่โดดเด่นเฉพาะอย่าง โดยงัดมาต่อกรกันอย่างถึงพริกถึงขิง และคนที่เสียเปรียบในแพลตฟอร์มนี้กลับกลายเป็น Apple ที่แม้ว่า Apple จะมีบริการออฟไลน์/ออนไลน์ที่ยอดเยี่ยมอย่าง iTunes และเว็บบราวเซอร์ที่รวดเร็ว แสดงผลสวยงามอย่าง Safari อีกทั้งยังขับเคลื่อนทุกสิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการของ Apple อย่าง Mac OS ก็ตาม หรือยอดขายที่ปรากฏส่วนใหญ่มาจากรูปลักษณ์และความเป็นมาตรฐานแม้จะมีปริมาณที่สูงพอควร อีกทั้งอาจจะเป็นผลพลอยได้จากผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนอย่าง iPhone บางกลุ่มที่ถูกใจระบบจึงลองหันมาเปลี่ยนใจใช้เครื่อง Mac แต่กระแสตอบรับส่วนมากกลับไม่ได้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในเรื่องของ Widget และแอพพลิเคชั่นบนแพลตฟอร์มของเครื่องคอมพิวเตอร์เท่าใดนัก อาจจะต้องยอมรับว่าลูกเล่นของเว็บบราวเซอร์มีผลต่อรายได้ที่ปรากฏอย่างต่อเนื่อง Firefox และ Google Chrome มี Add-On ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่า Safari 

           ในตอนนี้ผู้อ่านหลายคนที่ใช้เครื่อง Mac อาจจะไม่เห็นด้วยเท่าใดนัก แต่ผู้เขียนอาจจะต้องบอกให้ทราบว่า รายได้ที่มีต่อเนื่อง อย่างเช่น รายได้ของโฆษณาแฝงผ่านแอพพลิเคชั่นส่วนเสริมอย่าง Add-On แม้จะไม่มากเท่ายอดขายของตัวอุปกรณ์ เช่น เครื่อง Mac แต่ละปียอดขายอุปกรณ์อย่างเครื่อง Mac นั้นทำรายได้เพียงแค่ช่วงไตรมาสที่ 3 เพียงรอบเดียว แต่รายได้จากโฆษณานั้นเป็นอัตราที่ได้รับมาก-น้อย ต่อเนื่อง แต่ได้ทุกไตรมาสเมื่อทำการวิเคราะห์และประเมินผล โดยเฉลี่ยแล้วเป็นรายได้ที่ไม่ต่างกันเท่าใดนักในแพลตฟอร์มนี้

           Add-On และส่วนเสริมจึงเป็นอีกช่องทางที่ Google และค่ายเสรีอย่าง Firefox นั้นหันมาใช้เป็นช่องทางสร้างรายได้ โดยการแทรกโฆษณาผ่านป้ายอักษรและลิงก์ตัวอักษร เมื่อมีการเปิดใช้แอพพลิเคชั่น มองไปที่ Google Chrome Web Store จะเห็นว่าแอพพลิเคชั่นบางตัวนั้นให้ชำระเงินเพื่อซื้อ Feature หรือคุณลักษณะเด่นบางอย่างที่ตัวทดลองใช้ไม่สามารถทำได้ แต่ผู้ใช้งานที่สนใจเห็นแล้วรู้สึกยอมรับกับอัตราการจ่ายเงินเพื่อซื้อแอพพลิเคชั่นตัวเต็มโดยไม่ลังเล เพราะราคาของแอพพลิเคชั่นเหล่านี้ไม่สูงมาก ยิ่ง Firefox นั้นผู้พัฒนา Add-On สามารถเพิ่มเว็บไซต์ของผู้พัฒนา และปุ่มบริจาค Donate Button ให้แก่ผู้ที่สนใจแอพพลิเคชั่น นั้นสามารถชำระเงินเพื่อสนับสนุนโครงการในการพัฒนา Add-On ที่โดนใจนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไป

           ในส่วนของ Facebook เองก็ยังคงมีการปล่อยชุดพัฒนาให้แก่นักพัฒนา หรือ API ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมร่วม นักพัฒนาหลายแห่งเริ่มหันมาพัฒนาแอพพลิเคชั่นผ่านมาตรฐานของ Facebook โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทสินค้าและบริการที่ต้องการประชาสัมพันธ์บริการ และสินค้ามักจะสร้างมินิเกม หรือเกมออนไลน์  ที่ปรากฏในรูปของแอพพลิเคชั่นบน Facebook มากขึ้น ซึ่งมินิเกมที่โปรโมตสินค้าและบริการเหล่านี้ นอกจากจะใช้ชุดพัฒนาของ Facebook แล้วยังสามารถนำไปต่อยอดในการสร้างสินค้าในเกมผ่านผู้ให้สนับสนุนเงินทุนผ่าน Virtual Goods ได้อีกด้วย ถ้าให้ประเมินสภาพการณ์แล้ว แพลตฟอร์มที่ Facebook กำหนดขึ้นให้นักพัฒนาใช้พ่วงกับข้อมูลของบริการเครือข่ายของตน นั้นมีผลที่เอื้ออำนวยต่อนักการตลาดออนไลน์ที่จะผลักดันแบรนด์ของสินค้า และบริการให้อยู่ในรูปของเกมเพื่อความบันเทิงได้มากขึ้น โดยการอ้างอิงสถิติจาก eMarketer 2010 จะพบว่า กลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมักจะใช้เวลาบน Facebook ไปกับความท้าทายของตัวแคมเปญออนไลน์ที่ส่วนใหญ่มักถูกนำเสนอในรูปแบบของเกม

ทำเนียบที่สั่นคลอนของ Google

           หากพูดในเรื่องของอาณาจักรหรือพื้นที่ที่ถูกควบคุมในอินเทอร์เน็ตแล้ว Google คงจะเป็นมาตรฐานที่เป็นใหญ่มาโดยตลอด ตลอดเวลาที่ผ่านมาการที่นักการตลาดจะทำการปั่นกระแสและโปรโมตเว็บไซต์ หรือแคมเปญการตลาด และกิจกรรมออนไลน์ให้ดังเพื่อจะเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ต่างต้องใช้เทคนิคการทำ Search Engine Optimization หรือ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ หรือแคมเปญออนไลน์ที่ตนดูแลติดอันดับต้นๆ ของเครื่องมือค้นหาอย่าง Google โดยอาศัยสิ่งที่ช่วยในการจัดอันดับที่เรียกว่า Page Rank ธุรกิจการบริหารเว็บไซต์ให้ติดอันดับเครื่องมือค้นหา หรือการทำ Search Engine ผ่านบริการ Adwords เพื่อให้ข้อความในการเชิญชวน และประชาสัมพันธ์โปรโมตเว็บไซต์นั้นผ่านหู ผ่านตาผู้สนใจให้ได้มากที่สุด

           ตรงกันข้าม ถ้าหากว่ากลุ่มผู้สนใจในเรื่อง ๆ หนึ่ง ต้องการค้นหาหรือคำแนะนำจากคนที่สนใจในเรื่องเดียวกันเกี่ยวกับแคมเปญ สินค้า และบริการนั้น กลับใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Facebook เป็นตัวช่วยในการค้นหา เพราะ Facebook ในตอนนี้มีคุณลักษณะที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเอาใจผู้ใช้ในแต่ละกลุ่มให้สามารถแสดงผลให้ตรงกับสิ่งที่ผู้ใช้งานเครือข่ายสนใจจริงๆ จะต่างกันก็เพียงแค่ในตอนนี้ Facebook ยังคงมีนโยบายความเป็นส่วนตัวค้ำหัวอยู่ จึงอยู่ในมาตรฐานกึ่งเปิด (Semi-Close Platform) อาจจะเห็นว่าตอนนี้ Traffic ของ Facebook ยังคงมีน้อยกว่าและตามหลัง Google อยู่บ้าง

           แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ การใช้เครือข่ายที่ชาญฉลาด และผลลัพธ์ของการค้นหาที่แน่นอนตรงความต้องการผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของเพื่อนที่เรามี อาจจะทำให้มาตรฐานของ Facebook สามารถเติบโตได้เทียบเท่ากับ Google ได้ ลองคิดเล่นๆ ถ้าวันหนึ่งทุกคนเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเข้าเว็บฯ แรกเป็น Facebook ไม่ใช่ Google อีเมลก็ใช้ Fan Page, Group และ Wall ของตัวเอง สนใจซื้อสินค้าก็ตัดสินใจรีวิวจากเพื่อนในเครือข่าย และจับจ่ายผ่านแอพพลิเคชั่นบนแพลตฟอร์มของ Facebook ดีไม่ดีอนาคตเปิดคอมพิวเตอร์อาจจะต้องใช้ Facebook Account ในการ Login เข้าใช้งานเครื่องก็เป็นไปได้ ที่สำคัญทุกสิ่งที่ปรากฏบน Facebook นั้นล้วนเป็น Real-Time

           สิ่งที่ผู้เขียนยกขึ้นมาข้างต้นนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ Google พอจะประเมินอนาคตของตัวเองได้ ไม่นานมานี้เผยโครงงานที่ทาง Google ซุ่มพัฒนาก็ได้เปิดตัวให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกได้เห็นโดยทั่วกัน ซึ่งโครงงานดังกล่าวมีชื่อว่า Google Caffeine เป็นการยกเครื่องปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมของระบบการค้นหาขึ้นมาใหม่ โดยมีแนวคิดว่า Next Generation Architecture of Google Search ซึ่งเป็นไม้ตายที่ Google บอกว่าจะมาแทนที่โครงสร้างสถาปัตยกรรมระบบดั้งเดิมคือ Google Indexing ในปัจจุบัน น่าจะเป็นการปรับการทำงานของ Google ให้เป็น Real-Time เหมือนที่เคยสร้าง Google Wave ขึ้นมาแน่นอน ในเรื่องของการแย่งชิงอาณาเขตบนโลกออนไลน์นี้คงจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า แล้ว Apple อยู่ตรงไหน ผู้เขียนคิดว่าสำหรับ Apple ในตอนนี้คงครองฐานสมาชิกผู้ใช้บนแพลตฟอร์มพกพาไปก่อน ในเรื่องของอินเทอร์เน็ตนั้นผลพลอยได้ที่ Apple ได้รับดูจะกดดันน้อยที่สุดหากเทียบกับศึกของ Google และ Facebook

           ศึกครั้งนี้ยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง แต่ละฝ่ายต่างยกระดับของแพลตฟอร์มที่เป็นไม้ตายของตนให้โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเท่านั้นที่จะเป็นผู้กำหนดชัยชนะของแต่ละฝ่ายว่าจะลงเอยที่ใคร เพราะถ้าชัยชนะลงเอยที่ฝ่ายไหนก็พึงรู้ไว้ว่า พฤติกรรมของผู้ใช้ก็จะเปลี่ยนกลายเป็นแนวทางที่นิยมบนแพลตฟอร์มของผู้ชนะในศึกนี้นั่นเอง
บันทึกการเข้า

รักนะ...จุ๊บ จุ๊บ
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!