Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 รู้จักภัยน้ำท่วม และวิธีการรับมือน้ำท่วม
TARADTHONG.COM
มกราคม 11, 2025, 06:52:46 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รู้จักภัยน้ำท่วม และวิธีการรับมือน้ำท่วม  (อ่าน 5483 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
loveyou
Administrator
Full Member
*****

คะแนนความนิยม: 29
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 234



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: ตุลาคม 18, 2010, 08:51:07 PM »

รู้จักภัยน้ำท่วม และวิธีการรับมือน้ำท่วม


เมื่อย่างเข้าสู่ปลายเดือนพฤษภาคม สายน้ำแห่งความชุ่มฉ่ำ จะค่อย ๆ ไหลรินลงมาจากก้อนเมฆบนท้องฟ้า นั่นหมายความว่า กำลังเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งสายฝนจะตกโปรยปรายลงมาให้ชุ่มฉ่ำ พืชผลทางการเกษตร ดอกไม้ ใบหญ้า จะได้สัมผัสกับน้ำฝนอย่างเต็มที่ เหล่าพายุต่าง ๆ แห่แหนพัดผ่านอยู่เนือง ๆ จนกว่าจะหมดฤดูในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งก่อนที่น้ำฝนจะเทลงมาในฤดูฝนนั้น เกษตรกรในแถบที่ราบสูงของไทย ต้องเผชิญกับความแห้งแล้งแสนสาหัส ถึงขนาดที่ต้องพึ่งพาโครงการฝนหลวง เพื่อให้ผลผลิตการเกษตรยังคงออกดอกออกผลอยู่ได้ แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนในปีนี้ ความดีใจของเกษตรกรกลับเปลี่ยนแปลงเป็นความทุกข์ใจอีกครั้ง เพราะฝนที่ยังคงตกอย่างต่อเนื่องไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ได้เปลี่ยนให้แผ่นดินที่แห้งแล้ง ต้องเผชิญกับน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมสูงจนทะลักเข้าสู่ที่พักอาศัย

          อุทกภัย หรือ ที่เราเรียกติดปากว่า น้ำท่วม คือ มหันตภัยร้ายที่เกิดขึ้นโดยเงื้อมมือของธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยน้ำท่วมออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้



 

          1. น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องจากฝนที่ตกติดต่อกันหลายชั่วโมง จนผืนดินไม่สามารถดูดซับน้ำได้ทัน น้ำฝนที่เทลงมาจึงไหลลงสู่พื้นราบอย่างรวดเร็ว ซึ่งมักเกิดขึ้นในที่ราบสูง และไหลลงสู่พื้นที่ต่ำกว่า จนทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือน และทรัพย์สินเสียหาย

          2. น้ำท่วมขัง และน้ำล้นตลิ่ง เพราะฝนที่ตกอย่างหนักทำให้พื้นที่ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ มีน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายน้ำออกได้ อีกทั้งน้ำในแม่น้ำลำคลองยังมีปริมาณมากจนล้นตลิ่ง และอาจทะลักเข้าถึงบ้านเรือนได้

          ในประเทศไทย เคยเกิดเหตุน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้งทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในแถบภาคเหนือ และภาคอีสาน ไม่เว้นแม้แต่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครเอง ก็เคยประสบภัยน้ำท่วมมาแล้วเช่นกัน





ย้อนรอยน้ำท่วม

          จ.ลพบุรี ที่ราบสูงตอนกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในจังหวัดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี เพราะมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน โดยเฉพาะแม่น้ำสายสำคัญ อย่างแม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ปัญหาน้ำท่วมจึงมีให้เห็นเป็นประจำอยู่ทุกปี แม้จะมี เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ คอยกักเก็บและควบคุมปริมาณน้ำอยู่ก็ตาม ในปี 2553 นี่ก็เช่นกัน จ.ลพบุรี ประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก ต้องปิดโรงเรียน และระดมหน่วยงานเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยหลายครัวเรือน

          จ.ลำปาง หนึ่งในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมในภาคเหนือ โดยเฉพาะที่ อ.แจ้ห่ม ซึ่งอยู่ใกล้กับแม่น้ำ ที่มีแม่น้ำแม่สอย และแม่น้ำวัง ไหลผ่านมาบรรจบกัน อีกทั้งสภาพภูมิศาสตร์ จ.ลำปาง ยังเป็นพื้นดินต่ำ มีภูเขาล้อมรอบ จนถูกเรียกว่า อ่างลำปาง โดยล่าสุดน้ำป่าไหลหลากและน้ำจากแม่น้ำก็ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนใน อ.แจ้ห่ม และบริเวณรอบ ได้รับความเสียหาย มีระดับน้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตร มีผู้ประสบภัยนับ 1,000 หลังคาเรือน

          จ.เชียงราย คือจังหวัดใหญ่ทางภาคเหนือ ที่แม้จะอยู่เหนือสุดของประเทศไทย แต่ก็ยังต้องประสบภัยน้ำท่วมอย่างหนักในปีนี้ เนื่องจากฝนที่ตกหนักทำให้น้ำป่าไหลหลากทะลักล้นเข้าสู่บ้านเรือน ใน 5 อำเภอ ที่ได้รับความเดือดร้อนหนัก คือ อ.ดอยหลวง, อ.พญาเม็งราย, อ.แม่จัน , อ.แม่ฟ้าหลวง และ อ.เวียงเชียงรุ้ง อีกทั้งล่าสุดอ่างเก็บน้ำห้วยพลู ก็ยังแตกออกจนเป็นเหตุให้น้ำทะลักและดินทรุดตัวลง รวมถึงถนนขาดออกจากกันอีกด้วย

          กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ก็เคยประสบปัญหาน้ำท่วมมาแล้วเช่นกัน โดยเฉพาะในปี 2538 น้ำท่วมขังอยู่นานราว 2 เดือน คนเมืองหลวงต่างต้องใช้ชีวิตท่ามกลางน้ำท่วมขัง ถือเป็นภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้สาเหตุมาจากกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต่ำและกำลังทรุดตัวลงอยู่เรื่อย ๆ ประกอบกับน้ำทะเลที่ค่อย ๆ หนุนสูงขึ้นทุกปี

          นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางจังหวัดของประเทศไทย ที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก และยังคงมีอีกหลายจังหวัดที่ยังเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้ ดังนั้นการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วม จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากที่ประชาชนจะต้องรับรู้ไว้ เพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นได้

วิธีรับมือน้ำท่วม     

          1. หมั่นติดตามข่าวสาร และประกาศเตือนทุกช่องทาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เสาสัญญาณ เป็นต้น

          2. เตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ไฟฉาย และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อเอาตัวรอดในยามน้ำท่วม

          3. เตรียมกระสอบทรายไว้เพื่อทำผนังกั้นน้ำ (แต่ห้ามวางไว้พิงกำแพง เพราะจะเพิ่มแรงดันให้น้ำทะลักเข้ามาได้ง่าย)

          4. หมั่นทำความสะอาดพื้น ไม่ให้มีของอันตรายหากเกิดน้ำท่วมสูง

          5. เก็บของมีค่า และสัตว์เลี้ยง รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ไปไว้ชั้นบนของบ้าน

          6. เตรียมเบอร์ติดต่อ หน่วยงานของรัฐ เผื่อต้องการความช่วยเหลือ

          7. ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม

          8. หากเกิดน้ำท่วมให้หนีขึ้นที่สูง และปิดวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

          9. พยายามหาส่วนแห้งเพื่อหลบภัย และป้องกันไฟดูด

          10. ห้ามรับประทานน้ำที่ท่วมสูง หากขาดแคลนน้ำดื่ม ให้ต้มก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคระบาด

          11. หากน้ำท่วมไม่สูงมาก ให้ระวังการใช้รถใช้ถนน และดูแลเด็กเล็กไม่ให้ออกจากบ้าน

          12. ระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ หากถูกกัดให้ล้างแผลด้วยน้ำต้มสุกและเช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล จากนั้นหาทางไปโรงพยาบาลทันที

หน่วยงานให้ความช่วยเหลือน้ำท่วมและหมายเลขสอบถามข้อมูลน้ำท่วมต่าง ๆ

1. กรมอุตุนิยมวิทยา

          - เว็บไซต์ tmd.go.th

          - สายด่วนกรมอุตุนิยมวิทยา หมายเลขโทรศัพท์ 1182, 02-398-9830

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพมหานคร (AM 1287 KHz) หมายเลขโทรศัพท์ 02-383-9003-4, 02-399-4394

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.นครราชสีมา (FM 94.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์ 044-255-252

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.พิษณุโลก (FM 104.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์ 055-284-328-9

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ระยอง (FM 105.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์ 038-655-075, 038-655-477

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ภูเก็ต (FM 107.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์ 076-216-549

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ชุมพร (FM 94.25 MHz) หมายเลขโทรศัพท์  077-511-421

2. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

          - เว็บไซต์ disaster.go.th

          - สายด่วนนิรภัย หมายเลขโทรศัพท์ 1784

          - ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อย ๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ หมายเลขโทรศัพท์ 02-241-7450-6 แผนที่ disaster.go.th

          - หรือสามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ อาคารศาลาว่าการกทม.1 (เสาชิงช้า), ศาลาว่าการกทม.2(ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทุกแห่ง

3. ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จังหวัดนครราชสีมา

          - สามารถสอบถามและขอความช่วยเหลือได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์  044-342652-4 และ 044-342570-7

4. ศูนย์รับบริจาคเงิน-สิ่งของช่วยผู้ประสบอุทกภัยเนชั่น

          - หมายเลขโทรศัพท์  02-338-3333 และ 02-338-3000 กด 3


5. ครอบครัวข่าวช่อง 3 ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม53

          - ชื่อบัญชี "ครอบครัวข่าว ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม53" บัญชีกระแสรายวัน หมายเลข 014-3-003-689 ธนาคารกรุงเทพ สาขาพระราม 4 อาคารมาลีนนท์

6. สน.ประชาชน ทีวีไทย รับแจ้งข้อมูลน้ำท่วม และร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย

          - หมายเลขโทรศัพท์  02-791-1385-7

7. ศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่ที่โคราช รายการเช้าข่าวข้น+อสมท.

          - สามารถนำไปให้ที่อสมท.เช่น อาหารแห้ง, เรือ, ผ้าอนามัย, ไฟฉาย หมายเลขโทรศัพท์ 02-201-6000 ที่อยู่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)‎ 63/1 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320 แผนที่ mcot.net

8. มูลนิธิกลุ่มแสงเทียน

          - รวบรวมสิ่งของบริจาค ช่วยเหลือพี่น้องที่น้ำท่วม หมายเลขโทรศัพท์  02-465-6165

9. ททบ.5

          - ชื่อบัญชี "กองทัพบก โดยททบ.ช่วยภัยน้ำท่วม" บัญชีธนาคารทหารไทย สาขาสนามเป้า บัญชีออมทรัพย์ 021-2-69426-9 หรือสามารถส่งความช่วยเหลือได้ที่สถานีททบ.5

10. จส. 100

          - สอบถามน้ำท่วมถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์  044-242-047 ต่อ 21, 044-212-200, 037-211-098, 036-461-422, 036-211-105 ต่อ24

11. การรถไฟแห่งประเทศไทย

          - สอบถามการเดินรถไฟได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1690, ติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน หมายเลขโทรศัพท์ 1669

12. บริษัทขนส่ง

          - สอบถามการเดินรถได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1490

13. ร.พ.มหาราช จ.นครราชสีมา

          - หมายเลขโทรศัพท์ 086-251-2188 ตลอด 24 ชั่วโมง

          - ทางโรงพยาบาลมีความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวด นมกล่อง และอาหารแห้ง รวมทั้งของใช้เบ็ดเตล็ดผู้ป่วย เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย เป็นจำนวนมาก

          - สามารถโอนเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา เลขบัญชี 3013165804 และ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาหัวทะเล นครราชสีมา เลขบัญชี 7902605487

14. สภากาชาดไทย

          - หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603

          - สามารถบริจาคเงิน ได้ที่หมายเลขบัญชี สภากาชาดไทย ชื่อบัญชี สภากาชาดไทย เพื่อการรับบริจาคเงินต่าง ๆ เลขที่บัญชี 045-2-88000-6 บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย แล้วแฟ็กซ์ใบนำฝากพร้อมเขียนชื่อและที่อยู่มาที่ หมายเลขโทรสาร 02-252-7795 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-256-4047

          - สามารถบริจาคสิ่งของ ได้ที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 หมายเลขโทรสาร 02-252-7976

          - สามารถลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ได้ที่ http://www.rtrc.in.th/ หรือสอบถามรายละเอียดที่หมายเลขโทรศัพท์  02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603
บันทึกการเข้า

รักนะ...จุ๊บ จุ๊บ
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!