Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 ต้อหิน...ภัยเงียบในดวงตา
TARADTHONG.COM
ธันวาคม 24, 2024, 11:56:27 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ต้อหิน...ภัยเงียบในดวงตา  (อ่าน 6896 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2010, 07:32:22 PM »

 ต้อหิน...ภัยเงียบในดวงตา


เพราะดวงตาเป็นหน้าต่างของชีวิต นั่นทำให้เราพึงต้องระวังเป็นพิเศษ หากคุณสายตาสั้นมาก ๆ หากคุณมีปัญหาพันธุกรรรมทางสายตา และหากคุณเป็นเบาหวานด้วยแล้ว คุณจะต้องให้ความสำคัญกับดวงตาเป็นพิเศษ

เพราะมันเป็นโรคร้ายโรคหนึ่ง ที่คืบคลานเข้ามาทำลายดวงตาของคุณโดยไม่รู้ตัว นั่นคือ...ต้อหิน

ผศ.พ.ญ.จันทนา สกุลแรมรุ่ง หัวหน้าคลินิกโรคตา โรงพยาบาลพญาไท 3 ให้ข้อมูลว่า โรคต้อหิน ทำให้เกิดความผิดปกติของขั้วประสาทตา มีการทำลายของขั้วประสาทตา โดยทั่วไปมักจะสัมพันธ์กับความดันลูกตา เพราะฉะนั้น คนที่เป็นต้อหิน การมองเห็นในระดับหนึ่งของโรคจะเสมือนมองผ่านกล้องส่องทางไกล คือเห็นเฉพาะเป็นวง

ธรรมชาติลูกตาจากด้านหน้าจะมีกระจกตา ถัดมามีรูม่านตา เลนส์แก้วตาทำหน้าที่โฟกัสแสง วุ้นตา จอประสาทตา และขั้วประสาทตา ที่ตำแหน่งนี้ ขั้วประสาทตาก็คือศูนย์รวมของเส้นประสาททุกเส้นในตา เพื่อรวมกันส่งสู่สมอง ในโรคของตู้หินจะต้องมาโฟกัสในบริเวณช่องที่อยู่ด้านหลังม่านตา

เราจะมีอวัยวะที่เรียกว่าซีเรียลลีโปรเซส มีหน้าที่สร้างน้ำเลี้ยงลูกตา โดยกรองเลือดให้กลายเป็นน้ำใส และน้ำใสที่ออกมาจะผ่านช่องด้านหลังม่านตา ผ่านรูม่านตาตรงกลางเข้ามาอยู่ในช่องด้านหน้าของลูกตา คือ น้ำเลี้ยงลูกตา น้ำในลูกตานี้ต้องระบายออกผ่านรูตะแกรงที่อยู่ระหว่างตาขาวกับตาดำของเรา

ในคนที่เป็นต้อหินส่วนมาก ความผิดปกติอยู่บริเวณตะแกรงนี้ ทำให้น้ำเลี้ยงที่สร้างแล้วไหลออกไม่สะดวก น้ำที่สร้างจึงมีปริมาณมากจนมีแรงดันสูง แรงดันนั้นจะส่งผ่านมาที่จอประสาทตาและขั้วประสาทตา มีผลทำลายประสาทตาบางส่วน รวมทั้งลดปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงประสาทตาด้วย ทำให้การมองเห็นแย่ลง

สิ่งที่น่ากลัว คือพัฒนาการของโรคออกอาการช้า ๆ ทำให้การสังเกตสิ่งผิดปกติในการมองเห็นของตัวเองเป็นไปได้ยาก และทำให้คนที่เป็นโรคนี้ปล่อยปละละเลยกับอาการมองเห็น เช่น ถึงแม้ว่าการมองเห็นตาข้างขวาจะแคบลง แต่ตาข้างซ้ายก็ยังเป็นปกติ เนื่องจากเมื่อมองภาพโดยรวมแล้วยังคงมองเห็นภาพข้างหน้าอยู่

และที่สำคัญ คือเมื่อเป็นแล้ว ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเห็นชัด ดังเดิม

วิธีการรักษา จะรักษาต่อเนื่องไปเรื่อย เสมือนโรคเบาหวาน เพื่อควบคุมให้การมองเห็นของประสาทตาที่เหลืออยู่ทำงานได้เต็มที่ การรักษาขั้นต้น คือการใช้ยาทาและยาหยอด คือจะเริ่มจากการหยอดตั้งแต่ 1-4 ขนาน ถ้าคุมอยู่ ก็ใช้ยาให้น้อยที่สุด ถ้าใช้ยาแล้วไม่ได้ผล อาจจะต้องผ่าตัด

แล้วจะดูแลตัวเองอย่างไร เพื่อห่างไกลต้อหิน ?

ผศ.พ.ญ.จันทนาแนะนำว่า อันดับแรก คือไม่ควรล้างตาบ่อย ๆ เนื่องจากเยื่อบุตาจะแพ้สารเคมีที่อยู่ในน้ำยาล้างตา

ต่อมา ก็ต้องดูแลสายตาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ถ้ารู้สึกเมื่อยตา เพราะใช้งานมาทั้งวัน อยากจะพัก แนะนำให้ประคบเย็น จะสบายขึ้น แต่ถ้าตาอักเสบ เช่น ตากุ้งยิง หรือฝี ก็ให้ประคบร้อน

ที่ควรทำต่อมา คือตรวจสุขภาพตาทุกปี เพราะแพทย์จะวัดความดันในลูกตา เพื่อหาความเสี่ยง

และสามารถตรวจสายตาขั้นพื้นฐาน โดยทดสอบลานสายตา โดย ปิดตาข้างใดข้างหนึ่ง ตามองตรงไปที่เพื่อน แล้วลองใช้นิ้วมือซ้ายขยับออกไปทางซ้ายเรื่อย ๆ ไกลที่สุดที่เรายังพอเห็นนิ้วและเห็นที่เรามองเห็นได้สุด นั่นคือลานสายตาด้านซ้ายของเรามองเห็นแค่นี้ ส่วนทางด้านขวาให้กางมือออกไปไกลที่สุดที่เราขยับนิ้วแล้วเห็น นั่นคือความกว้างที่สุดเป็นองศา คือความกว้างของลานสายตา

ในคนที่เป็นต้อหินระดับหนึ่ง ลานสายตาจะแคบลง จะเห็นแคบลง ๆ เพราะฉะนั้น ที่สุดจะเห็นเฉพาะตรงกลาง ข้าง ๆ อาจจะมองไม่เห็น เวลาเดินผ่าน อาจจะชนประตู เป็นต้น

เมื่อดวงตาเป็นหน้าต่างของชีวิต ฉะนั้น เราจำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่มันเป็นพิเศษ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!