Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 ระวัง ! เปิบปลาร้าอันตรายถึงชีวิต
TARADTHONG.COM
ธันวาคม 24, 2024, 12:38:42 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ระวัง ! เปิบปลาร้าอันตรายถึงชีวิต  (อ่าน 5313 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: มิถุนายน 19, 2010, 10:11:02 AM »

ระวัง ! เปิบปลาร้าอันตรายถึงชีวิต
กระทรวงสาธารณสุขเตือนผู้บริโภคปลาร้าอาจถึงขั้นเสียชีวิต เหตุพบสารกำจัดศัตรูพืชเจือปน แนะเลือกซื้อปลาร้าจากแหล่งที่สะอาด-ปรุงสุก

(18 มิ.ย.) นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า จากข้อมูลการตรวจวิเคราะห์ปลาร้า ปลาเค็ม ปลาแห้ง ปูเค็ม หอยดอง และวัตถุดิบที่ใช้ผลิตปลาร้า เช่น เกลือ รำและข้าวคั่ว ทางห้องปฏิบัติการ จำนวน 123 ตัวอย่าง พบไตรคลอร์ฟอนตกค้างในปลาร้า จำนวน 16 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 13 โดยปริมาณการตรวจพบสูงสุด 12.41 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณการตรวจพบต่ำสุด 0.11 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม


นางพรรณสิริ กล่าวต่อว่า สำหรับไตรคลอร์ฟอน หรือ ดิพเทอร์เร็กซ์ เอสพี จัดเป็นสารกำจัดศัตรูพืช กลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสที่มีอันตรายต่อร่างกาย หากผู้บริโภคได้รับสารดังกล่าวจากการหายใจเข้าไปมากจะมีอาการเหงื่อออกมาก คลื่นไส้ มึนงง มีน้ำลายออกมากกว่าปกติ เป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ หายใจไม่สะดวกและอาจชักหมดสติได้ และหากสารพิษนี้เข้าทางปากอาจมีอาการท้องร่วง ปวดท้อง และอาเจียน

อีกทั้ง นอกจากการตกค้างของยาฆ่าแมลงในปลาร้าแล้ว กรรมวิธีการหมัก การขนส่งหรือการจำหน่ายที่ไม่สะอาดถูกสุขอนามัยอาจทำให้มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดที่ทำให้เกิดโรคต่อร่างกายได้ เช่น สแตฟไฟโลคอคคัส ออเรียส, คลอสตริเดียม,เปอร์ฟริงเจนส์ และบาซิลลัส ซีเรียส ซึ่งแบคทีเรียเหล่านี้ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ

"หากประชาชนต้องการบริโภคปลาร้าให้ปลอดภัย ควรเลือกซื้อจากแหล่งจำหน่ายที่สะอาดหรืออยู่ในภาชนะบรรจุมีฝาปิดสนิทและควรบริโภคปลาร้าที่ปรุงสุก" นางพรรณสิริ กล่าว

 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!