10 เทคนิคป้องกันภัย ออฟฟิศซินโดรม
10 เทคนิคป้องกันภัยออฟฟิศซินโดรม (Slim Up)
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ในตอนเช้าไม่ค่อยได้รับวิตามินดีจากแสงแดดสักเท่าไหร่ แล้วไหนจะออกจากออฟฟิศหลังพระอาทิตย์ตกดินอีก ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ แต่ในห้องปรับอากาศหรือแม้ช่วงเที่ยงยังนั่งทางกลางวันที่โต๊ะทำงานอีก โปรดระวังสักนิดเพราะคุณกำลังเสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโครมอย่างมาก และถ้าหากคุณมีอาการจำพวกนี้ควบคู่ไปด้วยล่ะก็ คุณกำลังเสี่ยงต่อโรคนี้อย่างแน่นอน
กระดูก ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดข้อมือและข้อนิ้วมือ หมอนรองกระดูกเคลื่อน
ดวงตา ปวดตา เคืองตา ดุนตา ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน ตาแห้ง น้ำตาไหล ตากระตุก
สมอง ปวดศีรษะ สมองตื้อ มึนงง
หากคุณกำลังมีลักษณะของอาการเช่นนี้อย่าได้ชะล่าใจเป็นอันขาด เพราะอาการเหล่านี้มักเป็นสัญญาณร้ายของโรคที่มนุษย์ออฟฟิศต้องเผชิญกันอย่างถ้วนหน้า แต่ทั้งนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มีทางแก้ไขซะเลย การออกกำลังกาย ก็เป็นสิ่งไม่ควรละเลย แนะนำว่าหลังตื่นนอนยืดกล้ามเนื้อหลังช่วงล่าง โดยนอนคว่ำแล้วพยายามยืดร่างกายบริเวณหลัง เกร็งไว้สักครู่
สำหรับผู้ที่อยู่ในอิริยาบถเดิมนาน ๆ เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ หรือหนีบหูคุยโทรศัพท์ อาจมีอาการดึงบริเวณไหล่ ต้นคอ หลัง จึงควรยืดกล้ามเนื้อด้วยการใช้มือจับ ศีรษะ จากนั้นค่อย ๆ ต้นศีรษะกับฝ่ามือในทิศทางที่สวนทางกัน ทำสลับทั้งด้านซ้าย-ขวา, หน้า-หลัง ถ้ามีอาการเหนื่อยล้าจากการนั่งหรืออยู่ในท่าทางเดิมนานๆ ให้บริหารท่าแอ่นหน้าอกและแอ่นหลัง ยืดแขนออกจนสุดโดยให้ข้อมืออยู่ในระดับเอว จะช่วยยืดกล้ามเนื้อให้ผ่อนคลายยิ่งขึ้น และที่สำคัญกับทิปส์ง่ายๆ ที่นำมาฝากกันดังต่อไปนี้
1. นั่งทำงานและใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย
• นั่งเล่นตรงแนบติดกับเก้าอี้ ลำตัวเป็นมุมฉากกับขาช่วงบน เท้าทั้งสองวางแนบกับพื้นพอดี
• จอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ห่างจากระดับสายตาพอดี มือ แขนช่วงล่าง และคีย์บอร์ดอยู่แนวระนาบเดียวกัน ปล่อยไหล่เป็นธรรมชาติขณะพิมพ์งาน
• ระยะห่างของสายตาและหน้าจอประมาณ 2 ฟุต ปรับความสว่างหน้าจอให้เท่ากับความสว่างจากด้านนอก อย่าให้มีแสงจ้าเข้าทางข้างหลัง ผู้ใช้งาน และพักสายตาบ่อย ๆ
2. ท่ายืน ไม่ยืนลงน้ำหนักบนข้างเดียว หรือยืนแอ่น/หลังค่อม
3. ท่านอน ไม่นอนขดตัวหรือนอนตะแคงนาน ๆ โดยไม่มีหมอนข้างช่วย
4. รองเท้า ไม่ควรใส่ส้นสูงเกินครึ่งนิ้ว หรือเมื่อมีความจำเป็นควรถอดออกบ้างและนวดที่ปลายเท้าเบา ๆ ในลักษณะของการคลึงจากปลายเท้าเข้าสู่ปลายนิ้ว
5. กระเป๋า ไม่ควรสะพายกระเป๋าหนักในข้างเดียวเป็นระยะเวลานานๆ ควรเปลี่ยนด้านสะพายบ้างเพื่อให้หัวไหล่ได้ปรับความสมดุลและไม่ควรหิ้วของหนักโดยทิ้งน้ำหนักลงไปที่นิ้วอย่างเดียว
6. สายตา ไม่เล่นเกม หรือทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป ไม่อยู่กลางแดดจ้าหรือในที่ที่มีฝุ่น-ลมมากเกินไป
7. ออกกำลังกาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที หรือพยายามยืดแขนขาบิดตัวบ้างในขณะทำงานเพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อยืดตัวจนเกินไป
8. พักผ่อน พักและบริหารสายตาด้วยการกระพริบตาถี่ ๆ 10 ครั้งทุก 30 นาทีที่ใช้คอมพิวเตอร์ กำหนดลมหายใจออกเป็นช่วงๆ เพื่อปรับออกซิเจนเข้าสู่สมอง
9. อาหาร ใน 1 วันพยายามทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทานอาหารให้หลากหลายขึ้น หรือทานวิตามินบำรุงควบคู่ไปด้วยยิ่งดี
10. สร้างบรรยากาศ ควรติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ และจะดียิ่งขึ้นถ้ามีตู้ปลาขนาดใหญ่ ๆ สักตู้ เพื่อช่วยคืนสมดุลความขึ้นที่เสียไปกับเครื่องปรับอากาศ
จากการสำรวจพนักงานออฟฟิศในประเทศฝั่งยุโรปพบว่าส่วนใหญ่ต้องปรึกษาแพทย์ด้วยอาการต่างๆ โดยอันดับหนึ่งคือ การปวดหลัง รองลงมามีอาการปวดบริเวณคอ/ไหล่ และปวดศีรษะตามลำดับ ซึ่งเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะออฟฟิศ ชินโดรม นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มคนทำงานอายุระหว่าง 16-24 ปี มีความเสี่ยงของการเกิดภาวะดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 55 เนื่องจากต้องทำงานหนัก ประกอบอิริยาบถในการทำงานไม่เหมาะสม ทั้งนั่งหลังต่อม การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ สูงกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ
นอกจากนี้ปัญหาความเครียดก็ส่งผลต่อการเกิดภาวะนี้ด้วย โดยพบสูงถึงร้อยละ 80 สำหรับประเทศไทย เคยสำรวจในคนทำงานที่สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งจำนวน 400 คนพบว่าร้อยละ 60 มีภาวะดังกล่าว