Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 วิธีแก้... เมื่อเกิดความเสียหายกับเลนส์ถ่ายภาพ
TARADTHONG.COM
ธันวาคม 22, 2024, 09:02:14 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีแก้... เมื่อเกิดความเสียหายกับเลนส์ถ่ายภาพ  (อ่าน 18451 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
loveyou
Administrator
Full Member
*****

คะแนนความนิยม: 29
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 234



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 04:03:52 PM »

วิธีแก้... เมื่อเกิดความเสียหายกับเลนส์ถ่ายภาพ



BROKEN LENS ความผิดพลาดและการแก้ไข (FOTOINFO)
คอลัมน์ SPECIAL SECTION เรื่องโดย : อิสระ เสมือนโพธิ์

         สำหรับนักถ่ายภาพแล้ว แทบทุกคนล้วนต้องการให้อุปกรณ์ถ่ายภาพที่ตนเองใช้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์พร้อมใช้งานเสมอ เพื่อให้ผลที่ได้มีคุณภาพสูงสุดเท่าที่อุปกรณ์ของเราทำได้ ความเสียหายของอุปกรณ์ถ่ายภาพที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็นกล้อง เลนส์หรือแฟลชนั้น นอกจากจะทำให้เสียโอกาส เสียการเสียงานแล้วยังทำให้เสียเงินอีก แต่นั่นอาจจะยังไม่เท่ากับการเสียความรู้สึก โดยเฉพาะถ้ากล้องหรือเลนส์ตัวนั้นพึ่งใช้งานได้ไม่นานก็จะยิ่งเสียความรู้สึกมากขึ้น

         ในส่วนของกล้องนั้น ความเสียหายอาจเกิดได้หลายกรณี ทั้งความผิดพลาดจากการผลิต ความผิดพลาดจากการใช้งานผิดวิธีของผู้ใช้เอง หรือการใช้งานหนักจนชิ้นส่วนบางอย่างหมดสภาพ แต่ในส่วนของเลนส์นั้นความเสียหายจะเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบเช่นเดียวกับกล้อง แต่หลาย ๆ อย่างเราสามารถป้องกันได้ ซึ่งจะทำให้เลนส์ของเราอยู่กับเราในสภาพที่สมบูรณ์ได้นานที่สุด

         ทั้งนี้ ความเสียหายของเลนส์ แบ่งแยกสาเหตุออกเป็น 2 ประเภท คือ เกิดจากความผิดพลาดจากการผลิต และความผิดพลาดจากการใช้งาน มาดูกันว่า มีอะไรบ้าง

ความผิดพลาดจากการผลิต

         ความผิดพลาดในการผลิตเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ทั้งส่วนของออฟติคและแมคคานิคดังนี้

         1. ชิ้นเลนส์เป็นฝ้า ปัญหาของฝ้าคือ มันทำให้ความใสของชิ้นเลนส์ลดลงเป็นผลให้รายละเอียดของภาพลดลง ความใสของภาพลดลง ภาพสูญเสียคอนทราสต์และเกิดปัญหาเรื่องแสงฟุ้งเมื่อถ่ายภาพย้อนแสง หากเป็นมากจะทำให้เลนส์สูญเสียคุณภาพจนไม่สามารถยอมรับได้

         ปัญหาเรื่องฝ้าที่เกิดจากการผลิตมี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ

          ฝ้าที่เกิดจากการเสื่อมของกาวที่ใช้ยืดชิ้นเลนส์ (Compound Elements) และ ฝ้าที่เกิดจากการยืดเกาะของคราบและความชื้นบนผิวโค้ทเลนส์ กว่าร้อยล่ะเก้าสิบห้าของการเกิดฝ้าจนทำให้เลนส์เสียหายมาจากฝ้าในคอมปาวน์ของเลนส์ โดยเมื่อกาวที่ใช้ยึดชิ้นเลนส์ประกบเสื่อม ความชื้นจะแทรกเข้าไปในช่องว่างระหว่างชิ้นเลนส์ทำให้ผิวเลนส์บริเวณนั้นเกิดคราบเกาะ ความใสของชิ้นเลนส์จะลดลง การเสื่อมของชิ้นเลนส์ประกบเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ และมักจะเกิดจากขอบนอกของชิ้นเลนส์แล้วไล่ไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดชิ้นเลนส์จะขุ่นไปทั้งชิ้น

         ฝ้าชนิดนี้ไม่ได้เกิดที่ผิวนอกจึงไม่สามารถล้างได้ ต้องเปลี่ยนชิ้นเลนส์แต่เพียงสถานเดียว ซึ่งราคาชิ้นเลนส์นั้นไม่ใช่ถูก ๆ เริ่มตั้งแต่ 2,000-20,000 บาทเลยทีเดียว หากมีให้เปลี่ยนก็ยังพอทำใจได้ แต่ถ้าเลนส์ตกรุ่นไปแล้ว ไม่มีอะไหล่ชิ้นเลนส์ให้เปลี่ยน ก็คงกลายเป็นที่ทับกระดาษ

          การแก้ไข หากมีชิ้นเลนส์ใหม่ให้เปลี่ยนก็ควรเปลี่ยนชิ้นเลนส์ (แต่ชิ้นเลนส์อะไหล่เหล่านี้ก็จะมีโอกาสเกิดฝ้าได้อีก เพราะผิดพลาดตั้งแต่ขั้นตอนการผนึกชิ้นเลนส์เช่นเดียวกัน) แต่ถ้าไม่มีชิ้นเลนส์ให้เปลี่ยนก็ยังมีช่างฝีมือที่สามารถซ่อมได้ โดยนำเลนส์ไปแช่น้ำยาเป็นเวลานานเพื่อให้ชิ้นเลนส์ประกบแยกตัวออก จากกันแล้วจึงนำไปล้างผิวเลนส์ นำมาอัดกาวใหม่ก็จะใช้ได้แต่คุณภาพอาจลดไปบ้างเพราะกาวที่ใช้และความหนาของการก็มีผลต่อระบบออฟติค แต่ถ้ายังไม่แยกช่างมักจะใช้วิธีต้มในน้ำเดือดเพื่อแยกชิ้นเลนส์ประกบ

          ฝ้าที่เกิดจากการยืดเกาะของคราบจากความชื้นบนผิวโค้ทเลนส์ พบได้บ่อยมาก เพียงแต่ฝ้าแบบนี้สามารถล้างออกได้ ด้วยน้ำยาเช็ดเลนส์ เพราะมันแค่เกาะบนผิวโค้ทเลนส์ จากประสบการณ์ส่วนตัวผมพบฝ้าบางๆ แบบนี้หลายรุ่น สิ่งที่พบคือ เมื่อเจอความชื้นจะมีคราบบางๆ เกาะบนผิวเลนส์ทำให้ความใสของเลนส์ลดลงและจะเห็นสีโค้ทจางลง แต่เมื่อเช็ดเลนส์มันจะกลับมาใสแจ๋วอีกครั้ง แต่ปัญหาก็คือ มันจะมีคราบบางๆ มาเกาะอยู่เรื่อยๆ หากเป็นกับเลนส์ชิ้นหน้าหรือชิ้นหลังก็คงไม่ใช่ปัญหาเพราะเช็คได้ แต่ถ้ามันเกิดกับชิ้นเลนส์ด้านใน เราจะเช็ดอย่างไร และถ้ามันเกิดกับผิวเลนส์หลายชิ้นคุณภาพจะลดลงอย่างแน่นอน เพียงแต่จะลดลงไม่มากนักซึ่งอาจจะเห็นได้เมื่อถ่ายภาพย้อนแสง

          การแก้ไข เป็นปัญหาจากผิวโค้ทบางชิ้นซึ่งน่าจะมาจากสารที่ใช้เคลือบผิวที่ดูดจับความชื้น และเป็นคราบมากกว่าปกติซึ่งคงไม่มีทางแก้ นอกจากเก็บเลนส์ในที่มีความชื้นเหมาะสม อย่าปล่อยให้เลนส์อยู่ในที่ชื้นๆ นานๆ





         2. ปัญหาเรื่องกระบอกเลนส์และระบบกลไก อะไรคือปัญหาจากระบบแมคคานิคของเลนส์ คุณเคยพบปัญหาเหล่านี้บ้างหรือไม่ กระบอกเลนส์ติดขัด กระบอกเลนส์หลวมคลอน สวิตซ์หรือปุ่มปรับหลุดได้ง่าย กระบอกเลนส์ไม่สามารถขยับเข้าออกได้เพราะบูชพัง ภาพชัดข้างนึงไม่ชัดข้างนึงทั้งที่ระนาบเดียวกัน

         ปัญหาเหล่านี้มักเกิดจากการผลิต บ่อยครั้งที่ผู้ผลิตเลนส์ประเมินการใช้งานของช่างภาพเบากว่าความจริงจึงทำให้ปุ่มปรับต่างๆ ผลิตไม่แข็งแรงพอ ปรับแรงหน่อยสวิตซ์หลุด วงแหวนหัก ซูมบ่อย ๆ กระบอกคลอน

         บางรุ่นก็ทำมาแข็งแรงดีแต่ไม่เพียงพอ เช่น เลนส์ซูม 14-24 มม. ของยี่ห้อหนึ่ง กระบอกเลนส์ส่วนหน้าใหญ่และหนักมาก หากใช้งานตามปกติก็คงไม่เป็นปัญหา แต่โปรไม่ได้ใช้แบบธรรมดา ต้องวิ่งกล้องแกว่งไปมา ไอ้ที่คิดว่าแข็งแรงพอก็ยังทานไม่ไหว บูชพังเพราะรับน้ำหนักไม่ไหว

         เลนส์บางรุ่นไดอะแฟรมก็ค่อยข้างเปราะบาง เสียง่าย ค่าซ่อมก็แพง บางรุ่นมอเตอร์แบบไซเร้นจ์ก็เงียบสมชื่อคือไม่หมุน ค่าซ่อมก็แพง บางรุ่นระบบป้องกันภาพสั่นไหวก็ชอบมีปัญหา บางรุ่นมอเตอร์ก็แรงเกินไปจนระบบกลไกเอาไม่อยู่ก็พังอีก

         อาการเหล่านี้หากยังอยู่ในประกันก็โชคดีไป แต่ส่วนใหญ่มักจะเจอตอนหมดประกันใหม่ๆ

          การแก้ไข ใช้งานอย่างระมัดระวังสักหน่อย หากไม่ได้เป็นมืออาชีพที่ต้องลุย ต้องแย่งมุมถ่ายภาพ ต้องเบียดต้องกระแทกก็อย่าใช้เลนส์รุนแรงเกินไป แม้จะเป็นเลนส์ระดับเทพ เพราะเทพก็พังได้ เลนส์ที่ขึ้นชื่อเป็นที่เลื่องลือในเรื่องอาการร้ายๆ ทั้งหลาย ก็ควรระวังในการซื้อมาใช้

         3. ปัญหาเรื่องโฟกัส เป็นที่น่าแปลกใจว่าในขณะที่เทคโนโลยีพัฒนาไปไม่หยุดยั้ง แต่เรากลับพบปัญหาเรื่องที่ไม่ควรเป็นปัญหา คือการโฟกัสผิดตำแหน่งที่เรียกกันว่า Black Focus หรือ Front Focus

         ปัญหานี้เกิดได้ทั้งจากกล้องและจากเลนส์ แต่ที่พบบ่อยคือจากกล้อง ส่วนปัญหาที่เกิดจากเลนส์ก็พบได้และมักจะเกิดจากความผิดพลาดในการผลิตส่งผลให้ตำแหน่งที่กล้องล็อกโฟกัสคลาดเคลื่อน หรือบางครั้งอาจเกิดการขยับของชุดโฟกัสขณะชัตเตอร์กำลังเริ่มทำงาน ทำให้โฟกัสเลื่อน

          การแก้ไข ส่งเลนส์ไปเช็ดที่ศูนย์ ให้จัดการตั้งโฟกัสให้ใหม่ ให้ตรงตลอดช่วงซูม และถ้ากล้องที่คุณใช้อยู่สามารถปรับชิพท์โฟกัสที่เซ็นเซอร์ได้ ก็ควรปรับแบบ Fine Tune กับกล้องที่คุณใช้อยู่ ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดปัญหาเรื่องการโฟกัสกับเลนส์ตัวนั้นอีก

ความผิดพลาดจากผู้ใช้

         1. เลนส์เป็นฝ้าเป็นรา ปัญหาเรื่องเลนส์เป็นราหรือเป็นฝ้า ก็มาจากผู้ใช้ด้วยเช่นกัน โดยปัญหาเรื่องการเกิดราในเลนส์นั้นมาจากการเก็บเลนส์ในที่ชื่นเป็นเวลานาน เช่นกล้องวางอยู่ในกระเป๋ากล้องในห้องที่มีความชื้นสูง บางท่านก็นำไปไว้ในตู้เสื้อผ้า และที่เป็นปัญหาก็เพราะเข้าใจผิดว่าใส่สารดูดความชื้น (ซิลิก้าเจล) ลงไปในกระเป๋ากล้องแล้วน่าจะปลอดภัย แต่ความจริงก็คือ คุณใช้สารดูดความชื้นผิดวิธี การใส่ลงไปในกระเป๋ากล้องนั้น เพียงแค่ 2-3 ชั่วโมงมันก็จะดูดความชื้นจนอิ่มตัว หมดสภาพ แต่ความชื้นในกระเป๋ายังถ่ายเทจากภายนอกได้อยู่ ความชื้นภายในกระเป๋าจึงยังสูงอยู่ หากกล้องต้องอยู่นิ่งๆ ในกระเป๋าเป็นเวลานาน โอกาสจะเกิดราจึงมีค่อนข้างมาก

         ส่วนปัญหาเรื่องฝ้ามักจะมาจากการเก็บเลนส์ในที่ร้อนบ่อยๆ เช่น เก็บกล้องและเลนส์ไว้ในกระเป๋ากล้องที่วางไว้ท้ายรถยนต์ที่จอดตากแดดเป็นเวลานาน ความร้อนในรถนั้นสูงมาก นานๆ เข้าอาจทำให้กาวที่ใช้ในการยืดชิ้นเลนส์คอมปาวน์เสื่อมได้ โอกาสที่เลนส์จะเป็นฝ้าจึงมีมากกว่าปกติ

         นอกจากนั้นการเก็บเลนส์ไว้ในที่ชื้นนานๆ ก็มีโอกาสทำให้เลนส์เกิดฝ้าได้มากขึ้น และอีกกรณีคือ การเปลี่ยนอุณหภูมิและความชื้นอย่างฉับพลัน เช่น วางกล้องและเลนส์ในห้องแอร์เป็นเวลานาน แล้วเมื่อยออกมาข้างนอกก็หยิบกล้อง และเลนส์ออกมาใช้งานทันที การเปลี่ยนแปลงความชื้นอย่างรวดเร็วจากห้องแอร์ที่มีความชื้นต่ำมาก และมีอุณหภูมิต่ำมาเป็นภายนอก เช่น กลางแดดที่มีอุณหภูมิสูงและความชื้นสูง ไอน้ำจะควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำเล็กๆ เกาะบนผิวเลนส์แทบทุกชิ้น รวมทั้งช่องมองภาพของกล้อง เกิดเป็นผ้าชั่วคราวจนพ็อกไปหมดต้องรอประมาณ 3-4 นาที เมื่อกระบอกเลนส์อุณหภูมิสูงขึ้น ไอน้ำที่เกาะบนผิวเลนส์จะระเหยออกไป ชิ้นเลนส์จะใส แต่สิ่งที่ต้องระวังคือมันอาจจะใส่ไม่เท่าเดิม เพราะอาจเกิดคราบบนชื้นเลนส์บางชิ้น ทำให้ความใสของชิ้นเลนส์ลดลง ซึ่งถ้าเป็นกับผิวเลนส์ชิ้นหน้ากับชิ้นท้ายก็คงไม่ใช่ปัญหา แต่ถ้ามันเกิดกับเลนส์ด้านในบ่อยๆ คุณภาพเลนส์จะลดลงแน่นอน เพราะความใสจะน้อยลงจากคราบบางๆ

          การแก้ไข

          หลีกเลี่ยงการเก็บกล้องและเลนส์ในรถยนต์ที่จอดตากแดดไว้อย่างเด็ดขาด และถ้าหากจำเป็นต้องเก็บไว้จริงๆ ควรหากล่องโฟมขนาดใหญ่ และใส่กระเป๋ากล้องทั้งใบลงใบในกล่องโฟมเพราะจะช่วยกันความร้อนได้ และยังไม่เป็นที่ล่อตาล่อใจของโจรขโมย

          หากไม่ใช้กล้องเป็นเวลานาน ต้องเก็บกล้องและเลนส์ในที่ๆ มีความชื้นต่ำ หากจะใช้สารดูดความชื้นจะต้องอยู่ในภาชนะที่ปิดสนิท ความชื้นเข้าไม่ได้ เช่นในกล่องกันความชื้น กล่องถนอมอาหารที่มีซีลกันความชื้น (เช่น ยี่ห้อ SUPER LOCK) หรือใส่เลนส์ลงในถุงพลาสติกแล้วใส่สารดูดความชื้นลงไปจากนั้น ก็รัดถุงให้แน่นด้วยหนังยาง หรือถ้ามีงบอาจใช้ตู้ดูดความชื้นในการเก็บกล้อง

          การนำกล้องออกจากห้องแอร์หรือจากรถยนต์ เพื่อใช้งานกลางแดดไม่ควรหยิบกล้องออกจากกระเป๋ากล้องทันที ควรให้กล้องและเลนส์ค่อยๆ ปรับอุณหภูมิและความชื้นด้วยการให้มันอยู่ในกระเป๋ากล้อง (ไม่ต้องเปิดฝากกระเป๋ากล้อง) เป็นเวลา 4-5 นาที แล้วจึงค่อยหยิบกล้องและเลนส์ออกมาใช้งาน เลนส์ของคุณจะไม่เกิดฝ้า

          วิธีที่ดีในการป้องกันการเกิดรา คือใช้งานบ่อยๆ หรือให้กล้องและเลนส์เปลี่ยนสภาพอากาศ อุณหภูมิและความชื้นอยู่ตลอด โอกาสที่จะเกิดราจะน้อยมาก





         2. เลนส์พังเพราะการใช้งาน ปัญหาเรื่องเลนส์เสียหายจากการใช้งานอย่างไม่ระมัดระวังนั้นเกิดขึ้นบ่อยๆ เช่นสะพายกล้องเดินไปเดินมาโดยเลนส์ซูมออกมาที่ช่วงเทเล กระบอกเลนส์ที่ยืดออกมาทำให้ชุด CAM ของระบบซูมอาจเสียหายได้ เมื่อกล้องแกว่งไปมา โดยเฉพาะกับเลนส์ราคาประหยัดที่โครงสร้างของกระบอก ควบคุมระบบซูมไม่ได้แข้งแรงเท่าใดนัก กระบอกเลนส์อาจหลวมคอลน หรือแม้แต่เลนส์ระดับโปรบางรุ่นที่มีกระบอกเลนส์ส่วนหน้าใหญ่และหนัก หากต้องสะพายกล้องแกว่งไปมาบ่อยๆ ชุด CAM ก็อาจพังได้ แม้จะทำจากโลหะก็ตาม

         อีกกรณีหนึ่งที่หลายท่านอาจคาดไม่ถึง คือการปรับซูมเล่นบ่อยๆ บางท่านอยู่ว่างๆ ไม่รู้จะทำอะไรก็ปรับซูมเข้าซูมออก เห็นเป็นเรื่องสนุก แต่ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นก็คือ สายแพร์ที่ขดอยู่ในกระบอกเลนส์เมื่อเคลื่อนเข้าออกบ่อยๆ ก็อาจจะขาดได้ และอาจทำให้กระบอกซูมหลวมเร็วกว่าปกติ

         สวิตซ์ปรับล็อกช่วงโฟกัส (ในเลนส์มาโคร) สวิตซ์เลือกโหมดโฟกัส (AF/M) หรือสวิตซ์เปิดการทำงานของระบบ IS, VR นั้นก็ควรใช้แบบเบามือหน่อย โดยเฉพาะวงแหวนปรับเลือกโหมดโฟกัส (AF/M) ในเลนส์นิคอน AF 80-200mm f/2.8, AF 60mm f/2.8 Micro หรือ AF 105mm f/2 DC นั้นต้องระวังให้มากเพราะแตกกันบ่อยๆ

           การแก้ไข ถ้ามีปัญหาขึ้นมาก็คงต้องซ่อมกันสถานเดียวสำหรับระบบแมคคานิคทั้งหลาย และหากความผิดพลาดเกิดจากการใช้งานของคุณ ไม่ใช่ของสินค้า ก็อาจต้องจ่ายค่าซ่อมเอาเอง ดังนั้นจึงควรใช้เลนส์อย่างระมัดระวังสักหน่อย หากต้องวิ่งต้องเดนิอย่างเร่งรีบ การสะพายกล้องควรใช้มือประคองใต้กระบอกเลนส์ไว้เพื่อไม่ให้เลนส์แกว่งมากเกินไป ป้องกันกระบอกเลนส์เสียหาย และหากเลนส์ที่ใช้มีสวิตซ์ ZOOM LOCK ก็ควรจะล็อกไว้เพื่อไม่ให้กระบอกเลนส์เลื่อนไหลออก

         อย่าปรับซูมเข้าซูมออกอย่างรวดเร็ว รุนแรง เพราะกลไกลของชุด CAM และบล็อกยืดชุดเลนส์อาจจะเคลื่อนที่ได้




         3. น้ำ ฝุ่น และการทำความสะอาดที่ผิดวิธี ปัญหาเรื่องน้ำและฝุ่นกับเลนส์นั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องระวัง หากเลนส์ที่คุณใช้เป็นเลนส์เกรดโปรที่มีการซีลเพื่อป้องกันน้ำ คุณจะสามารถใช้เลนส์ตัวนั้นในสถานการณ์ที่มีละอองน้ำแรงๆ เช่น บริเวณน้ำตก หรือใช้ในขณะฝนตกได้ โดยไม่เกิดความเสียหาย แต่ถ้าเลนส์ที่คุณใช้ไม่ได้ซีลกันละอองน้ำ การใช้งานในสภาพที่มีละอองน้ำแรงหรือท่ามกลางสายฝนนั้นความเสียหายอาจเกิดกับเลนส์ของคุณได้ เพราะน้ำสามารถแทรกเข้าไปตามรอยต่อต่างๆ เช่นวงแหวนซูม วงแหวนโฟกัส ทำให้เลนส์พังได้ ส่วนเรื่องฝุ่นนั้นปัญหายังไม่น่ากลัวนัก เพราะเพียงแค่เข้าไปในกระบอกและชิ้นเลนส์ภายใน

         ส่วนปัญหาในเรื่องการทำความสะอาดที่ผิดวิธีนั้น เป็นเรื่องใหญ่ ยังมีนักถ่ายภาพจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจหลักการทำความสะอาดเลนส์เช่น ใช้น้ำยาเช็ดเลนส์คุณภาพต่ำในการทำความสะอาดเลนส์ (มักจะเป็นน้ำยาเช็ดเลนส์ที่จัดชุดขายพร้อมลูกยางและแปรง) ซึ่งน้ำยาเช็ดเลนส์เหล่านี้บางชนิดค่อนข้างอันตรายต่อโค้ทเลนส์ และส่วนใหญ่จะทั้งคราบไว้บนผิวเลนส์

         ใช้ผ้าเช็ดเลนส์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจทำให้ผิวเลนส์เป็นรอยได้ ต้องใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์เนื้อนุ่มเท่านั้น และผ้าจะต้องสะอาดโดยเก็บในของกันฝุ่นเมื่อใช้เสร็จทุกครั้ง เพราะฝุ่นทรายที่ติดบนผ้าอาจทำให้เลนส์เป็นรอยขูดขีดได้

         หากไม่จำเป็นไม่ควรเช็ดผิวเลนส์ การใช้ฟิลเตอร์ PROTECT หรือ UV ครอบหน้าเลนส์แล้วเช็ดที่ฟิลเตอร์แทนจะปลอดภัยกว่า เพราะพลาดพลั้งไปก็แค่เสียค่าฟิลเตอร์ตัวเดียว





           การแก้ไข เลนส์ที่มีปัญหาเรื่องน้ำเข้านั้นในเบื้องต้นถ้าเลนส์ยังทำงานได้ ก็อาจทำความสะอาดในเบื้องต้นได้โดยถอดเลนส์ออก แล้วใช้ผ้าสะอาดซับน้ำออกจากเลนส์ให้หมด จากนั้นนำเลนส์ให้หมด จากนั้นนำเลนส์ผึ่งให้แห้งในที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดีและไม่ชื้น ไม่ควรนำไปตากแดดเพราะอาจทำให้เกิดคราบในชิ้นเลนส์ ถ้าเลนส์เพียง แค่มีน้ำเข้าเล็กน้อยก็อาจไม่เสียหายจนต้องส่งซ่อมแต่อย่างใด เพียงแต่อย่าเพิ่งใส่กับกล้องแล้วเปิดสวิตซ์ เพราะถ้ามีน้ำอยู่อาจเกิดการช็อต ทำให้วงจรเลนส์เสียหาย

         แต่ถ้าทำแล้วเลนส์ยังไม่ทำงาน หรือยังมีน้ำเข้าไปอยู่ภายในก็คงต้องส่งศูนย์บริการจัดการให้ ส่วนเรื่องของฝุ่นนั้นไม่ได้มีผลต่อคุณภาพมากนัก ไม่จำเป็นต้องส่งล้างแต่อย่างใดถ้าฝุ่นไม่ได้มากจนเห็นได้ชัด สำหรับเรื่องการเช็ดเลนส์นั้นหลีกเลี่ยงการใช้ของเหลวใดๆ กับเลนส์ถ้าคุณไม่ใช้ผู้ชำนาญ ในการเช็ดเลนส์ เพราะอาจเกิดความเสียหายกับเลนส์ แนะนำว่าไม่ควรทำความสะอาดผิวเลนส์โดยไม่จำเป็น ใช้เพียงแปลงอ่อนๆ กับลูกยางเป่าฝุ่นก็พอแล้ว เพราะหากเลนส์มีฟิลเตอร์ครอบอยู่ ก็เช็ดทำความสะอาดที่ฟิลเตอร์เท่านั้น

         และถ้าเลนส์ของคุณเกิดความเสียหายไม่ว่าจะเป็นเรื่องฝ้า รา หรือระบบกลไกใดๆ ก็ตามควรส่งศูนย์บริการหรือร้านที่ไว้ใจได้เท่านั้น แต่ทางที่ดีควรดูแลรักษาเลนส์ของคุณให้ดี เพราะการส่งซ่อมนั้นนอกจากจะเสียเงินแล้ว ยังเสียความรู้สึกและเสียความมั่นใจว่า "มันอาจจะให้ภาพไม่ดีเหมือนเดิม" อีกด้วย...
บันทึกการเข้า

รักนะ...จุ๊บ จุ๊บ
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!