TARADTHONG.COM
พฤศจิกายน 27, 2024, 03:49:11 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: IMFเตือนเอเชียเจอเงินเฟ้อแรง ทำนาย 'ไทย-อาเซียน'ปีนี้โต5.4%  (อ่าน 6244 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: เมษายน 13, 2011, 08:16:00 AM »

IMFเตือนเอเชียเจอเงินเฟ้อแรง ทำนาย 'ไทย-อาเซียน'ปีนี้โต5.4%

เอเอฟพี - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ออกโรงเตือนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (11) ว่าระบบเศรษฐกิจย่านเอเชียจำนวนมากมีสัญญาณว่าขยายตัวร้อนแรงเกินไป นอกจากนั้น ระดับราคาอาหารและพลังงานที่ทะยานขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว คือภัยคุกคามที่จะโหมความรุนแรงของปัญหาเงินเฟ้อ พร้อมกันนั้นก็ทำนายเศรษฐกิจไทยและอีก4ชาติใหญ่อาเซียนปีนี้จะโต 5.4%
       
       ระบบเศรษฐกิจย่านเอเชียได้ทำหน้าที่เป็นผู้นำการฟื้นตัวขึ้นมาจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้โดยที่มีจีนเป็นตัวโหมจ่ายพลัง ไอเอ็มเอฟระบุเอาไว้ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook หรือ WEO) ฉบับล่าสุด แต่ก็เตือนว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในระดับสูงเสียดฟ้า กำลังกลายเป็นตัวหล่อเลี้ยงฟูมฟักแรงกดดันด้านราคาไปด้วย
       
       “สัญญาณบ่งบอกภาวะเศรษฐกิจร้อนแรง เริ่มเป็นจริงเป็นจังขึ้นมาในหลายระบบเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย การขยายตัวด้วยอัตราสูงอย่างต่อเนื่องมีความหมายว่า บางระบบเศรษฐกิจในเอเชียกำลังดำเนินอยู่ในศักยภาพที่เต็มพิกัดหรือเกินพิกัด” ไอเอ็มเอฟชี้
       
       พร้อมกันนั้น รายงาน WEO ฉบับล่าสุดนี้ยังบอกว่า “ความเสี่ยงที่ว่าการทวีตัวในด้านราคาอาหารและพลังงานจะเป็นจุดตั้งต้นของวงจรอุบาทว์แห่งเงินเฟ้อนั้น นับว่าสูงมากในระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่และระบบเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา โดยสูงกว่าที่เป็นอยู่ในระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วมากนัก”
       
       เนื่องจากบรรดาครัวเรือนในระบบเศรษฐกิจกำลังพัฒนา ต้องกันรายได้ไปให้แก่ค่าใช้จ่ายด้านอาหารและพลังงานเป็นสัดส่วนค่อนข้างสูงมาก ไอเอ็มเอฟจึงเตือนว่า ระบบเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่จำนวนมากจำเป็นจะต้องเดินนโยบายที่เข้มงวดเพิ่มขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับการร่วงหล่นจากฟ้ามากระแทกดินแหลกสลาย
       
       ที่ผ่านมา หลายประเทศเดินนโยบายเพิ่มความเข้มงวดไปบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย หรืออินเดีย โดยพยายามที่จะเด็ดหัวพวกเงินทุนต่างชาติที่จะไหลเข้าไปแสวงกำไรระยะสั้นภายในระบบเศรษฐกิจของพวกตน
       
       สำหรับกรณีของญี่ปุ่น ซึ่งยังต่อสู้ไม่เสร็จกับเรื่องของหนี้ท่วมหัว ตลอดจนอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบลุ่มๆ ดอนๆ รายงานนี้บอกว่าจะต้องสาหัสทีเดียวกับผลกระทบจากภัยแผ่นดินไหวและสึนามิถล่มเมืองที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม
       
       ทั้งนี้ไอเอ็มเอฟได้ลดประมาณการการขยายตัวของจีดีพีญี่ปุ่นลงสู่อัตรา 1.4% ในปีนี้ จากเดิมที่เคยให้ประมาณการไว้ที่ 1.6% โดยที่ว่าเมื่อปี 2010 ญี่ปุ่นสามารถขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตรา 3.9% หลังจากการหดตัว 6.3%เมื่อปี 2009 สืบเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก
       
       ที่สำคัญ ไอเอ็มเอฟเตือนว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจแบบชุดใหญ่จะต้องทยอยปรากฏต่อประเทศญี่ปุ่น เพราะมีปัจจัยความไม่แน่นอนจำนวนมากพ่วงมากับภัยพิบัติคราวนี้ ในการนี้ ค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างบูรณะประเทศน่าจะไปถึงระดับ 295,000 ล้านดอลลาร์
       
       ในกรณีของจีน นอกจากที่ไอเอ็มเอฟจะเตือนให้แก้ปัญหาเงินหยวนอ่อนค่าเกินไป ไอเอ็มเอฟยังเตือนด้วยว่าอัตราขยายตัวด้านเงินเฟ้อของจีนอาจทะยานถึงระดับ 5% ในปีนี้ ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับประมาณการของทางการจีน ที่ทำนายตัวเองไว้ ณ ระดับขยายตัวที่ 4% หลังจากที่แรงกดดันด้านราคาได้ขยายวงจากหมวดอาหาร ไปสู่หมวดอื่นๆ รวมทั้งหมวดของราคาบ้านที่อยู่อาศัย
       
       ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟชี้ว่าการปรับค่าเงินให้แข็งมากขึ้น และมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นมา จะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างจีน หลีกเร้นพ้นจากปัญหาเศรษฐกิจเติบโตร้อนแรงเกินไป อีกทั้งจะช่วยลดความอสมดุลย์ของโลกด้วย ซึ่งนั่นเป็นขั้นตอนสำคัญมากในการที่จะประคองให้การฟื้นตัวของโลกสามารถปักหลักได้มั่นคงดีขึ้น
       
       ส่วนทางด้านอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทย, และเวียดนาม ซึ่งไอเอ็มเอฟเรียกคลุมๆ ว่าเป็น 5 ระบบเศรษฐกิจใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น รายงาน WEO ฉบับนี้คาดการณ์ว่าจะทำอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจได้เฉลี่ยอยู่ที่ 5.4% ในปีนี้ และ 5.7%ในปีหน้า
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!