Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 ผลวิจัยชี้ ปลากินยุง นับเลขเทียบชั้นปริญญาตรี
TARADTHONG.COM
ธันวาคม 24, 2024, 08:32:12 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ผลวิจัยชี้ ปลากินยุง นับเลขเทียบชั้นปริญญาตรี  (อ่าน 5067 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 07:01:17 PM »

ผลวิจัยชี้ ปลากินยุง นับเลขเทียบชั้นปริญญาตรี


ปลากินยุงนับเลข (ไทยโพสต์)

              หากคุณคิดว่ามนุษย์ฉลาดกว่าปลาละก็ อย่าเพิ่งมั่นใจนัก นักวิทยาศาสตร์เพิ่งทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ และพบว่าปลากินยุงตัวเล็ก ๆ สามารถนับเลขได้ใกล้เคียงกับทักษะของนักศึกษาปริญญาตรีทีเดียว

              ปลาน้ำจืดที่กินลูกน้ำเป็นอาหารพันธุ์นี้ มีความเป็นสัตว์สังคมสูง เมื่อมันพบว่าตัวมันกำลังว่ายน้ำอยู่เพียงลำพัง มันจะรีบตามหาเพื่อนตัวอื่น ๆ ทันที ผลการศึกษาทดลองในแล็บก่อนหน้านี้เคยแสดงว่าปลาชนิดนี้สามารถ "คำนวณ" ความแตกต่างทางปริมาณได้

              แต่ผลการศึกษาชิ้นใหม่เผยว่า ปลากินยุงไม่เพียงบอกความแตกต่างระหว่างตัวเลขหลัก เช่น 4 กับ 8 ได้เท่านั้น พวกมันยังรู้ความแตกต่างของปริมาณที่มีจำนวนมากเป็นหลักร้อย เช่น 100-200 ได้ด้วย

              คริสเตียน อากริลโล จากมหาวิทยาลัยปาโดวาในอิตาลี กล่าวว่า ไม่มีใครคาดคิดว่าการศึกษาสัตว์อย่างเช่นปลา จะให้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจแบบนี้ "เราว่าผลที่ได้ช่างเหลือเชื่อจริง ๆ"

              แม้จะนับเลขได้ แต่ทักษะด้านตัวเลขของปลาพวกนี้ จะหายไปทันทีหากมีการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วน ของตัวเลข 2 ชุด ซึ่งก็ไม่ต่างกับอาสาสมัครมนุษย์ที่ปวดเศียรกับเรื่องอัตราส่วน

              การทดลองครั้งแรก นักวิทยาศาสตร์ฝึกปลาในแล็บก่อน เพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างรูปทรงเรขาคณิตจำนวนหนึ่งกับประตูที่เป็นทาง ผ่านเข้าไปรวมกับฝูงปลา

              จากนั้นก็นำมันไปปล่อยในแท็งก์ พวกปลาจะต้องเลือกระหว่างประตู 2 ประตู ที่มีรูปทรงจำนวนต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น รูปทรง 4 ชิ้นเชื่อมโยงกับประตูเอ และรูปทรง 8 ชิ้นเชื่อมโยงกับประตูบี

              เริ่มแรกของการทดสอบ พวกปลายังเลือกไม่ถูกว่าจะไปทางไหนและเข้าไปแบบเดาสุ่ม แต่พอเวลาผ่านไปปลาก็เริ่มเลือกประตูที่ถูกบานบ่อยครั้งขึ้น

              การศึกษาครั้งใหม่ได้ทำการทดลองซ้ำการทดลองนี้ แต่นักวิจัยใช้รูปทรงจำนวนมากขึ้นติดไว้ที่ประตู

              อากริลโลกล่าวว่า ปฏิกิริยาของพวกปลาตลกมาก พวกมันดูประหลาดใจเมื่อเราเปลี่ยนเลขจำนวนน้อย ๆ ขึ้นเป็นหลักร้อย พวกมันว่ายวนในแท็งก์พักใหญ่ มองหาสิ่งเร้าอันใหม่เหมือนกับว่ามันพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งเกิดขึ้น

              "อย่างไรก็ดี หลังผ่านไปสักพักพวกปลาก็เริ่มแก้ปัญหาได้" เขากล่าว

              ขณะที่เล่นสนุกกับจำนวนตัวเลขที่ประตู นักวิจัยยังพบด้วยว่าเมื่อจำนวนรูปทรง 2 ชุดมีความใกล้เคียงกันมากขึ้นเท่าใด การเลือกก็จะถูกต้องน้อยลง เช่น หากอัตราส่วนของรูปทรง 2 ชุดที่ประตูเป็น 1:2 (8 กับ 16) หรือ  2:3 (8 กับ 12) ปลาจะเลือกถูกประตูมากกว่า แต่หากอัตราส่วนเปลี่ยนเป็น 3:4 (9 กับ 12) พวกปลากลับไม่แสดงให้เห็นว่ามันสามารถแยกความแตกต่างได้

              ด้วยความอยากรู้ ว่าทักษะการนับเลขของปลากับของมนุษย์เปรียบเทียบกันแล้วเป็นอย่างไร คณะนักวิจัยได้ขอให้กลุ่มอาสาสมัครที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี 25 คนมาทดสอบด้วยปัญหาเดียวกัน โดยให้นักศึกษาชี้ความแตกต่างระหว่างรูปทรงจำนวนมาก 2 กลุ่มภายในเวลา 2 วินาที ด้วยการกะเก็งโดยไม่ให้นับจำนวนรูปทรง

              แน่นอนว่าเมื่อพูดถึงการนับเลข มนุษย์ย่อมทำได้แม่นยำกว่าปลา แต่พอเป็นเรื่องของอัตราส่วนกลับปรากฏว่าศักยภาพในการจำแนกความแตกต่างของมนุษย์ก็ลดลงเช่นเดียวกับปลา เมื่ออัตราส่วนจาก 2:3 ลดลงเป็น 3:4

              อกริลโลและเพื่อนร่วมทีม ให้ข้อสรุปว่า ผลลัพธ์ที่ได้นี้เสริมหลักฐานที่ว่า มนุษย์, ปลา และสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูสันหลัง ต่างก็มีความสามารถในการประมวลตัวเลขเช่นเดียวกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!