Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 ถูกติ...ถูกวิจารณ์เสีย ๆ หาย ๆ รับมือยังไงดีล่ะ?
TARADTHONG.COM
ธันวาคม 23, 2024, 09:51:55 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ถูกติ...ถูกวิจารณ์เสีย ๆ หาย ๆ รับมือยังไงดีล่ะ?  (อ่าน 5060 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2010, 09:53:08 PM »

ถูกติ...ถูกวิจารณ์เสีย ๆ หาย ๆ รับมือยังไงดีล่ะ? (Lisa)

            ตั้งแต่เจ้านายที่คอยจับผิดในการทำงานของคุณ ไปจนถึงเพื่อนที่บ่นว่าคุณไม่เคยโทรไปหาเลย ชีวิตมีแต่คำวิจารณ์มากมายไปหมด เรามีเคล็ดลับในการรับมือกับคำวิจารณ์มาฝาก

    อย่าทำตัวต่อต้าน

            ใครบ้างจะไม่อยากโต้กลับ เมื่อเจอคำพูดจากเจ้านายประเภทที่ว่า "รายงานของคุณยังไม่ดีพอ คุณต้องกลับไปทำมาใหม่!" แต่การทำตัวต่อต้านและหาข้อแก้ตัวจะทำให้คุณยิ่งดูไม่มีประสิทธิภาพในสายตาเจ้านาย และเขาจะยิ่งหาข้อบกพร่องในตัวคุณ

            เคล็ดลับ : อย่าปล่อยให้คำวิจารณ์ปิดกั้นการสื่อสารและโอกาส ในการบรรลุเป้าหมายของคุณควบคุมสถานการณ์โดยมองว่าคำวิจารณ์นั้น คือสิ่งที่จะทำให้คุณได้เรียนรู้และเติบโตขึ้น ถามผู้วิจารณ์ว่าเขาจะเปลี่ยนแปลงหรือทำให้แตกต่างจากเดิมได้อย่างไร คุณก็จะได้แนวคิดและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์

     เมื่อเป็นคำวิจารณ์แง่ลบ

            การวิจารณ์ที่สร้างสรรค์นั้นเป็นประโยชน์ และช่วยทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ในขณะที่คำวิจารณ์เชิงลบนั้นมักไม่ยุติธรรมและเป็นเหมือนการโจมตี จึงมักจะบั่นทอนกำลังใจคนที่ได้ฟังประมาณว่า "งานของคุณเละเทะไม่เป็นท่าทุกที คุณน่ะหมดหวังแล้วล่ะ)"

            เคล็ดลับ : พยายามอย่าผิดหวัง หายใจเข้าลึกๆ สักสองสามครั้งเพื่อให้ใจเย็นไว้ เป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะทำให้ผู้วิจารณ์รู้ว่า ข้อกล่าวหาของเขาผิด และคุณรู้สึกผิดหวัง คำตอบที่ดีที่สุดเมื่อมีคนติคุณอย่างง่าย ๆ เลยก็คือ แค่ไม่เห็นด้วย อย่างเช่น "งานของฉันไม่ได้เละเทะทุกครั้งไปหรอกนะ แล้วฉันก็ไม่ได้สิ้นหวังด้วยค่ะ"

    เคารพในตัวเอง

            ทัศนคติของคุณที่มีต่อคำวิจารณ์อาจบ่อนทำลายความเคารพตัวเองของคุณได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเพื่อนของคุณเดินผ่านไปแล้วบอกว่า "โต๊ะเธอรกจริง ๆ เธอนี่มันไม่มีระเบียบเลยนะ" หากคุณเห็นว่าการวิจารณ์นี้เป็นการโจมตีนคุณละก็ มันก็เสี่ยงต่อการถูกทำลายความเคารพในตัวเองของคุณได้

            เคล็ดลับ : ตอบกลับอย่างมั่นใจว่า "ใช่ มันก็จริงนะ ฉันไม่ใช่คนเนี้ยบที่สุดในโลกนี่" เท่ากับคุณทำให้เขารู้ว่าคุณโอ.เค. กับคุณสมบัติที่ไม่ค่อยดีนักของตัวเอง และคุณจะไม่มีวันขอโทษพวกเขาที่คุณเป็นแบบนี้ หรือปล่อยให้ตัวเอง ถูกทำลายโดยคำวิจารณ์พวกนั้น กุญแจสำคัญอยู่ที่ความมั่นใจของคุณนี่แหละ คุณเชื่อว่าคุณมีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ แต่ก็ต่อเมื่อคุณต้องการจะเปลี่ยนเท่านั้น

     ถามข้อเท็จจริง

            บางคำวิจารณ์อย่าง "ฉันคิดว่าคุณคงเห็นงานนี้ เป็นการท้าทายนะ เพราะคุณน่ะขี้อายมาก" อาจจะกำกวมและประดักประเดิด คุณไม่แน่ใจว่าคำวิจารณ์นี้ใช้ได้และเป็นแง่บวก และก็จะรู้สึกสับสนอยู่อย่างนั้น

            เคล็ดลับ : เมื่อคำวิจารณ์นั้นกำกวม อย่าเพิ่งรีบด่วนตัดสินคำวิจารณ์นั้น ให้ถามถึงรายละเอียดเพิ่มขึ้นแทน เช่น ลองถามว่า "ในแง่ไหนล่ะ ที่คุณคิดว่าฉันขี้อาย" หากมันเป็นคำวิจารณ์เชิงบวก คุณจะสามารถใช้ข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา และเดินหน้าต่อไป ถ้าเป็นคำวิจารณ์ในเชิงทำลาย คุณก็จะได้เห็นมันอย่างชัดเจนขึ้น

    หลีกเลี่ยงการแก้ตัว

            มีโอกาสเป็นไปได้ว่าบางทีคำวิจารณ์นั้นก็ให้เหตุอย่างดีและจริงใจ อย่างเช่น เมื่อมีคนพูดว่า "เธอน่าจะโทรมาบอกฉันก่อนว่าจะมาสายหนึ่งชั่วโมง เธอปล่อยให้ฉันคอยอยู่อย่างไร้จุดหมายเลยนะ" หากคุณหาข้อแก้ตัว แทนที่จะรับผิดชอบในความผิด อาจเป็นการบ่อนทำลายความสัมพันธ์ของคุณได้

            เคล็ดลับ : เห็นด้วยกับคำวิจารณ์เมื่อเขาพูดถูก ไม่เพียงแต่จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น คุณยังจะดูดีในสายตาของคนอื่นอีกด้วย แสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำของคุณอย่างเต็มที่ รู้จักขอโทษและปรับปรุงตัวก็จะทำให้ความสัมพันธ์ของคุณดีขึ้น

    เห็นด้วยในบางเรื่อง

            คำวิจารณ์ประเภทหนึ่งที่รุนแรง และยากจะรับมือที่สุด ก็คือ ข้อกล่าวหาที่ไม่ยุติธรรม อย่างเช่น ประโยคที่ว่า "เธอนี่พึ่งพาอะไรไม่ได้เลย เธอลืมจ่ายค่าโทรศัพท์ เธอไม่เคยอยู่ที่นี่เลยยามที่ฉันต้องการเธอ"

            เคล็ดลับ : คุณคงไม่อยากทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีกด้วยการโต้ตอบกลับ แต่ก็ไม่ดีอีกเหมือนกันที่จะคอตกแล้วเดินจากไป ใช่ มั่นจริงที่คุณอาจจะลืมจ่ายค่าโทรศัพท์ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณไม่เคยอยู่เคียงข้างแฟนคุณเลย ทางเลือกที่ดีที่สุด ก็คือ เห็นด้วยในสิ่งที่คำวิจารณ์นั้นกล่าวได้ถูกต้องแล้ว เช่น คุณอาจพูดว่า "ใช่ เธอพูดถูกจริง ๆ ฉันลืมจ่ายค่าโทรศัพท์ ฉันขอโทษ" การสงบสติอารมณ์และไม่ยอมตอบโต้หรือโกรธจากคำวิจารณ์ที่ไม่ยุติธรรม เท่ากับเป็นการกำจัดสิ่งที่บั่นทอนกำลังใจของคุณออกไปด้วย


        Quiz : คุณรับมือกับคำวิจารณ์ได้ดีแค่ไหน

       1. เจ้านายคุณวิจารณ์งานคุณในเชิงสร้างสรรค์

            ก. คุณปกป้องตัวเอง และพยายามหาใครสักคนหรืออะไรสักอย่างเพื่อเป็นข้อแก้ตัว
            ข. คุณรู้สึกขอบคุณเจ้านาย การวิจารณ์เชิงบวกสำหรับคุณถือเป็นโอกาส ที่จะได้เรียนรู้และเติบโต

       2. รุ่นน้องกำลังวิจารณ์วิธีการทำงานของคุณ

            ก. คุณโกรธใหญ่เลยและโต้กลับ
            ข. คุณไม่แคร์

       3. คุณกำลังถกเถียงกับเพื่อน ๆ และคนที่คุณคุ้นเคยก็วิจารณ์ความเห็นของคุณ

            ก. คุณรู้สึกว่าตัวเองงี่เง่า และหุบปากเงียบไปเลยตลอดค่ำคืนนั้น
            ข. คิดซะว่าใคร ๆ ก็มีสิทธิ์ในความคิดของตัวเองทั้งนั้นแหละ

       4. เพื่อนบอกว่า "เธอไม่เคยโทรหาฉันเลยนะ" คุณจะ

            ก. โกรธและตะโกนว่า "แล้วไง เธอก็ไม่เคยโทรมาเหมือนกันแหละ"
            ข. บอกความจริงอย่างใจเย็น เช่น "ฉันโทรหาเธอแล้วนะเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และเราคุยกัน 20 นาที"

       5. คุณเพิ่งไปตัดผมทรงใหม่ คุณชอบมาก แต่เพื่อนของคุณมองแล้วบอกว่า "ทรงนี้ดูเด็กมากนะ เธอไม่แก่ไปหน่อยหรือที่จะทำทรงนี้"

            ก. คุณเจ็บปวดมาก และรีบนัดช่างตัดผมใหม่ทันที
            ข. คุณยิ้มและบอกว่า "นั่นสิ มันดูเด็กมากเลยเนอะ"

       6. เมื่อคุณได้คำวิจารณ์ที่ดี คุณจะ

            ก. รู้สึกเคือง ๆ ถึงยังไงการวิจารณ์ก็คือการวิจารณ์อยู่ดี
            ข. จำจุดอ่อนและข้อผิดพลาดเอาไว้ เพื่อที่ครั้งหน้าจะได้ไม่ทำอีก

       7. แม่สามีบ่นว่า "นี่ก็หลายเตือนแล้วนะที่เธอตกงาน เธอเป็นภรรยาและแม่ที่ล้มเหลว" คุณจะ

            ก. คิดว่าเธอพูดถูก ฉันหางานไม่ได้ ฉันมันล้มเหลว
            ข. ใจเย็นไว้ มองตาเธอแล้วบอกว่า "ฉันไม่ใช่คนล้มเหลว"


       คำตอบของคุณบอกอะไรบ้าง

            คำตอบส่วนมากเป็น ก : คุณอ่อนไหวต่อคำวิจารณ์สุด ๆ แล้วมันจะส่งผลร้ายต่อคุณในความสัมพันธ์ ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน บางที พ่อแม่คุณอาจจะเป็นคนช่างวิจารณ์อย่างแรง ทำให้คุณเห็นว่าการวิจารณ์ทั้งมวลนั้นช่างเจ็บปวดและเป็นการปฏิเสธ โดยที่ในความเป็นจริงแล้ว การวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์เป็นฟีดแบ็กเกี่ยวกับพฤติกรรมของคุณ มันไม่ใช่การตัดสินตัวตนของคุณสักหน่อย

            คำตอบส่วนมากเป็น ข : ไม่มีใครชอบถูกวิจารณ์หรอก แต่คุณมีวุฒิภาวะพอที่จะยอมรับมันโดยไม่รู้สึกขุ่นเคืองหรือโต้ตอบรุนแรง ที่จริงแล้วคุณมองว่ามันเป็นโอกาสที่จะเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง หากคุณสงสัยในเจตนาของคำวิจารณ์เกี่ยวกับตัวคุณ คุณก็ไม่มีปัญหาเลยที่จะถามให้เจาะจงลงไป เช่น "บอกฉันได้มั้ยว่าจะปรับปรุงจุดนี้ยังไงดี" และคุณก็มั่นใจพอที่จะบอกคนอื่นเมื่อคำวิจารณ์ของเขารุนแรงเกินไปและเป็นแง่ลบ


        วิจารณ์อย่างไรให้สร้างสรรค์

          ใช้กลวิธี ทำให้คำวิจารณ์ฟังดูนุ่มนวลขึ้น ด้วยการพูดว่า "ความผิดง่าย ๆ แบบนี้เกิดขึ้นได้นะ" เขาจะได้ไม่รู้สึกแย่และหมดแรงจูงใจ

          มุ่งเน้นที่ความประพฤติ คำวิจารณ์ที่สร้างสรรค์นั้นเป็นการช่วยให้คนอื่นได้ปรับปรุง และห้ามพูดเด็ดขาดว่าพวกเขา "สิ้นหวังแล้ว"

          ดูกาลเทศะด้วย อย่าวิจารณ์เขาต่อหน้าคนอื่น หรือตอนที่เขากำลังเหน็ดเหนื่อยและผิดหวัง

          ให้คำแนะนำ ให้ข้อเสนอแนะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกับเขา เช่น แทนที่จะพูดว่า "ฉันทนเสียงเพลงดัง ๆ ของเธอไม่ได้" ลองเป็น "เพลงดัง ๆ มันรบกวนฉันนะ คุณจะช่วยหรี่เสียงหน่อยได้มั้ยหลังสองทุ่ม"

          อย่าพูดซ้ำซาก หลีกเลี่ยงที่จะขี้ถึงข้อบกพร่องหยุมหยิมทั้งหมดของเขา เก็บคำวิจารณ์ไว้สำหรับเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามจะดีกว่า

          พยายามจบด้วยข้อดี ถ้าคุณทำได้และเหมาะสมที่จะทำ ก็ควรให้คนที่คุณวิจารณ์ได้รู้ด้วยว่าคุณรู้สึกอย่างไรกับเขา
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!