Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 วิธีป้องกันตัวเองจาก ฮ่องกงฟุต เชื้อราที่เท้า
TARADTHONG.COM
ธันวาคม 23, 2024, 09:36:47 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีป้องกันตัวเองจาก ฮ่องกงฟุต เชื้อราที่เท้า  (อ่าน 5028 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: ตุลาคม 21, 2010, 07:05:50 PM »

วิธีป้องกันตัวเองจาก ฮ่องกงฟุต เชื้อราที่เท้า

หน้าฝนทีไร จะย่างเท้าไปทางไหนก็มีแต่น้ำขังเฉอะแฉะไปหมด แถมบางแห่งยังมีน้ำท่วมขังสูง ๆ จะเดินแต่ละทีก็แสนจะลำบาก และที่สำคัญ น้ำที่ท่วมขังก็เต็มไปด้วยเชื้อโรคและสิ่งสกปรก ย่อมทำให้เรามีปัญหา "ฮ่องกงฟุต" หรือ "น้ำกัดเท้า" ตามมาอย่างแน่นอน แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะวันนี้กระปุกดอทคอม มีข้อมูลดี ๆ ในการป้องกันและรักษา โรคฮ่องกงฟุต หรือ น้ำกัดเท้า มาบอกต่อกันค่ะ

          สำหรับ ฮ่องกงฟุต หรือ น้ำกัดเท้า หรือเชื้อราที่เท้าเป็นโรคที่เกิดจากการย่ำน้ำ หรือแช่เท้าในที่น้ำท่วมขัง และมีเชื้อโรค สิ่งปฏิกูลปะปนอยู่เป็นเวลานาน แล้วไม่ได้ใส่ใจดูแลรักษาความสะอาดของเท้าให้ดี ทำให้เท้าเกิดความอับชื้น จนเชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดี





          อาการของผู้ที่เป็น ฮ่องกงฟุต หรือ น้ำกัดเท้า จะเกิดแผลเปื่อย เป็นผื่น ทำให้เท้าเปื่อย มีอาการคันที่ง่ามนิ้วเท้า โดยส่วนมากจะเกิดระหว่างนิ้วเท้าที่ 3 กับ 4 และนิ้วเท้าที่ 4 กับ 5 เริ่มแรกจะเป็นขุยขาว ๆ ยุ่ย ๆ ก่อน จากนั้นจะลอกเป็นแผ่น หรือตกสะเก็ดแล้วแตกเป็นร่อง ถ้าลอกขุยขาว ๆ ออก จะเห็นผิวหนังข้างใต้มีสีแดง และมีน้ำเหลืองซึมออกมา แต่หากเป็นมาก หรือเท้ามีแผลอยู่แล้วก่อนแช่ในน้ำสกปรก จะทำให้อาการรุนแรงขึ้น เป็นหนอง เป็นฝี มีอาการเจ็บปวดอย่างมาก หรือเป็นไข้ได้เลย ซึ่งอาการอาจจะลุกลามไปยังเล็บเท้า ฝ่าเท้า ได้ด้วย หากไม่ได้รับการรักษา

          ทั้งนี้ อาการคัน มีแผลที่ง่ามนิ้วเท้า อาจมีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้ได้ แต่ต่างกันตรงที่ หากเกิดแผลเปื่อยคันจากโรคภูมิแพ้ จะเกิดเฉพาะบริเวณง่ามนิ้วเท้าเท่านั้น ไม่ลุกลามไปยังผิวหนังบริเวณอื่น

          นอกจากนี้ ในนักกีฬาที่ฝึกซ้อมอย่างหนัก หรือผู้ที่ใส่รองเท้าอบทั้งวัน จนมีเหงื่อออกภายใต้ถุงเท้า-รองเท้าที่สวมใส่ ก็มีโอกาสเป็นติดเชื้อราที่เท้าได้เช่นกัน ดังนั้น จึงมีการเรียกชื่อโรคนี้อีกชื่อว่า "โรคเท้านักกีฬา" หรือ "แอทลีตฟุต" (Athlete’s foot) รวมทั้งผู้ที่นิยมอาบน้ำในห้องอาบน้ำรวม ก็เสี่ยงที่จะเป็นเชื้อราที่เท้าด้วย

การรักษาโรคฮ่องกงฟุต หรือน้ำกัดเท้า

          เชื้อราที่เท้ายากที่จะรักษาให้หายขาดได้ แต่หากมีอาการขึ้นมา ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง โดยแพทย์จะขูดเอาผิวหนังในบริเวณที่เป็นโรคไปพิสูจน์ หากพบว่าเป็น ฮ่องกงฟุต จะจ่ายยาทาฆ่าเชื้อรามาให้ อาจเป็นรูปแบบครีม ขี้ผึ้ง หรือยาน้ำ หากเป็นมากทายาแล้วไม่หาย แพทย์จะจ่ายยารับประทานปฏิชีวนะฆ่าเชื้อรามาให้ ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นเชื้อราที่เท้าต้องทายาอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ หรือรับประทานยาให้ครบกำหนดตามแพทย์สั่ง และปฏิบัติควบคู่ไปกับการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นอีก คือหมั่นรักษาความสะอาดของเท้า ไม่ให้เท้าเกิดความอับชื้นนั่นเอง





 วิธีการดูแลตัวเอง จากโรคฮ่องกงฟุต หรือน้ำกัดเท้า

           หลีกเลี่ยงการย่ำน้ำโดยไม่จำเป็น หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ควรใส่รองเท้าบูทยางที่กันน้ำ แต่ถ้าหากน้ำล้นเข้าไปในรองเท้าบูท ก็ควรถอดแล้วเทน้ำทิ้งเป็นครั้งคราว เพื่อไม่ให้มีน้ำแช่ขังในรองเท้าตลอดเวลา

           หลังเดินย่ำน้ำควรล้างเท้าด้วยน้ำสบู่ แล้วเช็ดเท้าให้แห้ง โดยเฉพาะบริเวณซอกเท้า และใช้แป้งฝุ่น โรยที่เท้าเพื่อให้เท้าแห้งสนิท

           หลังอาบน้ำทุกครั้ง ควรเช็ดง่ามนิ้วเท้าให้แห้งเสมอ

           หากมีบาดแผลที่เท้า ไม่ควรลงไปย่ำน้ำสกปรก แต่หากเกิดบาดแผลขึ้นในช่วงเดินลุยน้ำ ให้เช็ดแผลด้วยแอลกอฮอล์ แล้วทาด้วยยาฆ่าเชื้อ หากมีแผลอักเสบ ปวด บวม มีอาการไข้ร่วมด้วย ให้ทานยาแก้อักเสบติดต่อกัน 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะหายดี

           ระวังระมัดสัตว์ที่มากับน้ำกัดต่อย รวมทั้งของแหลมมีคมตำเท้า เพราะจะทำให้เกิดบาดแผลและติดเชื้อโรคต่าง ๆ รวมทั้งเชื้อบาดทะยักตามมาได้

           ไม่ควรสวมถุงเท้าที่หนาและคับจนเกินไป เช่น ถุงเท้าใยสังเคราะห์ หรือไนลอน ควรเลือกถุงเท้าที่ระบายความอับชื้นได้ดีอย่างถุงเท้าผ้า และถุงเท้าที่ทำจากขนสัตว์ที่ระบายอากาศได้ดีกว่า

           ควรมีรองเท้า 2 คู่สลับกัน ไม่ควรใส่รองเท้าคู่เดิมทุกวัน เพราะรองเท้าที่อับชื้นจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคอย่างดี

           ไม่ควรซื้อยารักษาเชื้อรามารับประทานเอง หากสงสัยว่า เท้าจะเป็นเชื้อรา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้แพ้ และมีอาการระคายเคืองมากขึ้น ควรมาพบแพทย์ผิวหนัง เพื่อวินิจฉัยก่อนว่าเป็นเชื้อราจริงหรือไม่
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!