Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 โรคกระเพาะ... เพราะอะไร?
TARADTHONG.COM
มกราคม 05, 2025, 08:16:19 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โรคกระเพาะ... เพราะอะไร?  (อ่าน 5352 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: ตุลาคม 13, 2010, 06:51:53 PM »

โรคกระเพาะ... เพราะอะไร? (BE Magazine)
เรื่อง : ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ

          เวลาพักกลางวันมาถึงแล้ว ครั้นจะชวนเพื่อน ๆ ร่วมงานไปกินข้าว ก็เหมือนกับไม่มีใครอยากลุก หันไปทางซ้าย หัวหน้าก็ขะมักเขม้นกับงานตรงหน้า ไม่กล้าเรียก หันทางขวาเพื่อนร่วมงานก็กำลังเครียดกับเอกสารสารพันบนโต๊ะ สรุปว่าไม่มีใครไปกินข้าวเลยหรอ? นี่หรือเปล่าที่ทำให้คนทั้ง 2 บ่นปวดท้อง ไม่ว่าจะก่อนกิน หรือหลังกิน

 สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะ

          ผู้ร้ายตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะคือ "เชื้อโรค" ที่ชื่อว่า เอช.ไพโลไร (Helicobacter pylori)* ซึ่งเป็นแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร มันจะอยู่ภายในกระเพาะอาหารของผู้ติดเชื้อไปตลอดชีวิต โดยจะอยู่บริเวณด้านล่างของกระเพาะอาหาร เชื้อนี้จะไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในกระเพาะอาหาร ทำให้กรดถูกขับออกมามากขึ้น จนเกิดการอักเสบที่เยื่อบุกระเพาะ นำไปสู่การเกิดแผลเลือดออกในกระเพาะอาหาร และลำไส้ส่วนบนนั่นเอง

          หมายเหตุ : *แบร์รี เจ มาร์แชลล์ แพทย์ด้านทางเดินอาหาร และเจ โรบิน วาร์เรน แพทย์ด้านพยาธิวิทยา ได้ค้นพบเชื้อแบคทีเรีย "เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร" (Helicobacter pylori) และได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์

 การป้องกันการเกิดโรคกระเพาะ

           อันดับแรกเลยคือ ควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ได้หมายความว่าต้องกินให้ครบ 3 มื้อ ถ้าปกติกินแค่ 2 มื้อ ก็ขอให้ตรงเวลาทั้งสองมื้อนั้น เช่น รับประทานอาหารตอนเช้า 9.00 น. กลางวัน 12.30 น. และตอนเย็น 16.00 น. ก็ควรที่จะตามนี้ทุกวัน หากหิวก่อนเวลา ให้ดื่มน้ำ หรือน้ำข้าวแทน ให้คิดว่ากระเพาะเหมือนแฟนคนหนึ่ง ถ้ามากินข้าวไม่ตรงเวลาก็อาจมีหงุดหงิดแสบร้อนได้จนถึงเป็นแผล!

           อย่านอนดึก พอเรายิ่งดึกเราก็จะยิ่งหิว เพราะกรดถูกหลั่งออกมาในท้องมากเกินไป เราเลยหิว ถ้าหิวเมื่อไรก็ให้เข้านอนไปเลย อย่ากิน ดีออก! เป็นวิธีควบคุมน้ำหนักไปในตัวด้วย

           เลี่ยงอาหาร "มัน" ที่ดูอร่อยลิ้น เพราะความมันจะอยู่ในกระเพาะได้นาน ทำให้น้ำย่อยมีโอกาสหลั่งออกมาท่วมท้นมากกว่าปกติ อาการปวดท้องก็จะตามมาติด ๆ รวมทั้งอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด และสิ่งที่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น น้ำอดลม ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ เป็นต้น

           ที่สำคัญควรงดเหล้าและบุหรี่ เพราะมันมีส่วนกระตุ้นการหลั่งของกรดในท้องเช่นกัน ส่วนสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็น วิ่งเหยาะ ๆ เดินเร็ว ขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำ เพื่อขจัดความเครียดที่ซึมซาบอยู่ทุกอณูของร่างกาย การล้างความเครียดเห็นท่าจะง่ายกว่าการไม่เครียดเยอะ!




 โรคกระเพาะถามหาแล้ว จะรักษาอย่างไร... ไม่อยากกินยา

          ใคร ๆ ก็คงไม่อยากไปหาหมอ หรือกินยาเป็นกำ การรักษาโรคกระเพาะก็ต้องเริ่มจากการกิน คือ ให้กินกล้วยแบบสุกแข็ง เช่น กล้วยหักมุก หรือกินกะหล่ำปลีปรุงสุกบ่อย ๆ เพราะกะหล่ำปลีมีสารที่ช่วยสมานแผลในกระเพาะ (ผลจากงานวิจัย Thaly H. A new therapy of peptic ulcer: The anti-ulcer factor of cabbage. Gaz Med Fr 1965; 72:1992-3) อย่ากินวิตามินที่เป็นกรดมากเกินไป อย่าง "วิตามินซี" เพราะอาจไประคายเยื่อกระเพาะอ่อน ๆ ได้ โดยเฉพาะเมื่อกินตอนก่อนนอน

 กดจุดปรับการทำงานของกระเพาะและม้าม**

          ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงไปที่จุดบริเวณใต้ขอบล่างของสะบ้าลงมา 4 นิ้วมือ และห่างจากสันหน้าแข้งมาทางด้านนอก 1 นิ้วมือ กดนวดจุดหนัก ๆ ด้วยหัวแม่มือ นาน 2 นาที นวดทั้ง 2 ขา ว่ากันว่า จุดนี้จะปรับการทำงานของกระเพาะอาหารและม้ามได้

          ใช่ว่าคนที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารจะติดเชื้อ H.pylori กันทุกคน แต่จากสถิติผู้ติดเชื้อ 60-70% ของประชากรทั้งประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อนี้ประมาณ 80-90% และกว่า 90% สามารถหายจากโรคนี้ได้อย่างถาวร แต่ถ้าแผลดังกล่าวไม่หาย และเชื้อนี้ยังไม่หายไป ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้

          อย่างไรก็ตาม อยากให้ทุกคนใส่ใจดูแลสุขภาพ ระวังอย่าให้เกิดแผลในกระเพาะ หากเกิดแล้วต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยการกินแบบธรรมชาติ หรือการกินยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะอาหาร แต่หากปล่อยไว้เรื้อรัง มะเร็งวายร้ายตัวการใหญ่สุด อาจจะมาคุกคามคุณได้นะคะ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!