Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
 เผยเรือไททานิคจม เพราะถือหางเสือพลาด
TARADTHONG.COM
ธันวาคม 29, 2024, 12:02:27 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: ตลาดทองดอทคอม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

Copy Code


หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เผยเรือไททานิคจม เพราะถือหางเสือพลาด  (อ่าน 5470 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น่ารักสุดๆ
Administrator
Hero Member
*****

คะแนนความนิยม: 2330
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1658



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 05:49:11 PM »

เผยเรือไททานิคจม เพราะถือหางเสือพลาด (ไอเอ็นเอ็น)

          นักเขียน เรื่อง ไททานิค และหลานสาวของเจ้าหน้าที่ ลำดับที่ 2 ของเรือไททานิค เผยสาเหตุที่เรือจม เพราะคนถือหางเสือผิดพลาด

          นางลุยซี แพทเทน นักเขียนและหลานสาวของ เจ้าหน้าที่ลำดับที่ 2 ของ เรือไททานิค เผยเหตุ เรือไททานิค พุ่งชนภูเขาน้ำแข็ง เมื่อปี 2455 เพราะความผิดพลาดของคนถือหางเสือเรือ และเรือจมลงอย่างรวดเร็ว เพราะเจ้าของบอกให้กัปตันเรือ พาเรือเดินหน้าต่อไปแทนที่จะหยุดนิ่งอยู่กับที่ เพื่อรอเรือช่วยชีวิต ส่วนความจริง ได้ถูกเก็บซ่อนไว้ เพราะเกรงว่า จะทำให้ชื่อเสียงของคุณปู่ของเธอ ต้องเสื่อมเสีย เนื่องจาก ในเวลาต่อมาคุณปู่ได้รับยกย่องเป็นวีรบุรุษสงคราม

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หลานสาวกัปตันเผย “ไททานิก” ล่มไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ชี้คนขับหลงทิศ-ฝืนเดินทางจนเรือจมเร็วขึ้น

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

เอเจนซี - บทสัมภาษณ์นักเขียนสาวซึ่งเผยแพร่วานนี้ (22) เผย กัปตันหันหัวเรือผิดทำเรือไททานิกชนภูเขาน้ำแข็งเมื่อปี 1912 ซ้ำฝืนเดินทางต่อจนเรืออับปางเร็วขึ้น
       
       ลูอิส แพทเท็น นักเขียนสาวซึ่งเป็นหลานของ ชาร์ลส ไลโทลเลอร์ กัปตันผู้ช่วยที่ 2 บนเรือไททานิกเปิดเผยว่า เธอเก็บงำสาเหตุการล่มของเรือไททานิกเมื่อ 100 ปีก่อนไว้ เพราะกลัวจะทำให้ชื่อเสียงของคุณตาซึ่งเป็นวีรบุรุษสงครามต้องเสื่อมเสียไป
       
       ไลโทลเลอร์ เป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสสูงสุดซึ่งรอดชีวิตจากเรือไททานิก ระหว่างการสอบสวนที่อังกฤษและสหรัฐฯ เขาเลือกที่จะปิดบังสาเหตุที่แท้จริงของการอับปาง เพราะเกรงว่าจะทำให้เจ้าของเรือล้มละลาย และเพื่อนร่วมงานจะต้องตกงานกันทั้งหมด
       
       แพทเท็น บอกกับหนังสือพิมพ์ เดลี เทเลกราฟ ว่า “พวกเขาสามารถหลบภูเขาน้ำแข็งได้ไม่ยากเลย หากไม่ทำพลาด”
       
       “แทนที่จะหักเรือหลบไปทางซ้ายของภูเขาน้ำแข็งทันทีที่เห็นมัน โรเบิร์ต ฮัตชินส์ ซึ่งเป็นผู้ถือพวงมาลัยกลับตื่นตระหนก และหมุนพวงมาลัยผิดทาง”
       
       แพทเท็น ซึ่งเผยความจริงดังกล่าวในนวนิยายเรื่อง “กู๊ด แอส โกลด์” (Good as Gold) ของเธอ อธิบายว่า การเปลี่ยนจากเรือใบมาเป็นเรือกลไฟซึ่งเคลื่อนที่ด้วยแรงดันไอน้ำ หมายถึงระบบขับเคลื่อนที่แตกต่างกันด้วย
       
       ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ หากระบบหนึ่งหมุนพวงมาลัยไปทางซ้าย อีกระบบจะต้องหมุนไปทางขวา เพื่อไปในทิศทางเดียวกัน
       
       แพทเท็นเล่าว่า เมื่อความผิดพลาดเกิดขึ้นแล้ว “พวกเขามีเวลาเพียง 4 นาทีที่จะหันหัวเรือไปอีกทางหนึ่ง แต่กว่า วิลเลียม เมอร์ด็อค กัปตันที่ 1 จะทราบเรื่อง มันก็สายเกินแก้แล้ว”

 
 
ไททานิก เป็นเรือโดยสารขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในสมัยนั้น ก่อนกลายเป็นเพียงตำนานหลังออกเดินทางรอบปฐมฤกษ์เพียง 4 วัน 
 
 
       ตาของแพทเท็นไม่ได้เห็นเหตุการณ์ขณะที่เรือชนภูเขาน้ำแข็ง แต่เขาได้เข้าประชุมกับเจ้าหน้าที่ครั้งสุดท้ายก่อนเรือไททานิกจะจมลงสู่ก้นมหาสมุทร
       
       เขาไม่เพียงได้รับรู้ความผิดพลาดครั้งใหญ่ของ ฮัตชินส์ แต่ยังทราบด้วยว่า เจ บรูซ อิสเมย์ ประธานบริษัท ไวท์ สตาร์ ไลน์ ได้สั่งให้กัปตันฝืนเดินทางต่อ จนทำให้ไททานิกจมลงเร็วกว่าที่ควรจะเป็นหลายชั่วโมง
       
       “หากไททานิกไม่เคลื่อนที่ไปไหน มันจะสามารถลอยลำอยู่ได้จนเรือกู้ภัยมาถึง และจะไม่มีใครต้องเสียชีวิตเลย” แพทเท็นกล่าว
       
       อาร์ เอ็ม เอส ไททานิก เป็นเรือโดยสารใหญ่ที่สุดในโลกขณะนั้น ซึ่งเดินทางออกจากเมืองเซาแธมป์ตันของอังกฤษสู่นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ.1912 ก่อนชนภูเขาน้ำแข็งอับปางในอีก 4 วันต่อมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 คน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 23, 2010, 06:08:24 PM โดย น่ารักสุดๆ » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


Powered by MySQL Powered by PHP Valid XHTML 1.0! Valid CSS!