หัวข้อ: บราซิลสั่งเดินหน้าสร้างเขื่อนบนแม่น้ำอะเมซอน เริ่มหัวข้อโดย: น่ารักสุดๆ ที่ สิงหาคม 27, 2010, 07:14:01 PM บราซิลสั่งเดินหน้าสร้างเขื่อนบนแม่น้ำอะเมซอน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ บีบีซี - รัฐบาลบราซิลอนุมัติโครงการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกบริเวณสาขาย่อยของแม่น้ำอะเมซอนอย่างเป็นทางการเมื่อวานนี้ หลังจากล้มเหลวในการใช้กฎหมายกระตุ้นการผ่านโครงการมาหลายครั้ง ประธานาธิบดีลูอิส อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ได้เซ็นสัญญาอนุมัติสร้างเขื่อนเบลามอนเตกับกลุ่มนอร์ตเอเนอร์เจีย ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทร่วมทุน ทั้งนี้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า โครงการดังกล่าวจะทำลายระบบนิเวศน์ และส่งผลให้ผู้คนจำนวน 50,000 คนต้องไร้ที่อยู่อาศัย โดยส่วนใหญ่เป็นชาวพื้นเมืองแทบทั้งสิ้น แต่รัฐบาลแย้งว่าเขื่อนแห่งนี้สำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง และจะเป็นการสร้างงานให้ประชาชน การประมูลโครงการต้องหยุดชะงักมาแล้วถึง 3 ครั้ง ก่อนที่ศาลสูงสุดจะรับอุทธรณ์ของรัฐบาลและอนุญาตให้ กลุ่มทุนนอร์ตเอเนอร์เกีย ซึ่งนำโดย บริษัทคอมปันเอียไอโดรเอเลคทริกาโดเซาฟรานซิสโก ที่บริหารงานโดยรัฐ ได้รับสัญญาโครงการสร้างเขื่อนแห่งนี้ คำสั่งประหาร ในพิธีการเซ็นสัญญสา ในกรุงบราซิเลีย เมื่อวันพฤหัสบดี (26) ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีลูลา กล่าวว่าตัวเขาเองก็เคยวิพากษ์วิจารณ์การสร้างเขื่อนมาก่อนที่จะได้ศึกษารายละเอียดอย่างจริงจัง "ผมคิดว่าการสร้างเขื่อนแห่งนี้เป็นชัยชนะของภาคพลังงานบราซิล "เราจะทำให้พวกคนที่คัดค้านรู้ว่าเราจะรับมือกับเรื่องสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และประเด็นทางสังคมอย่างจริงจัง" เขากล่าวเสริม แผนการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำซินกู ซึ่งเป็นสายย่อยของแม่น้ำอะเมซอน ทางตอนเหนือของรัฐปาราตกเป็นประเด็นในการโต้เถียงมาอย่างยาวนาน โครงการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นเมื่อช่วงทศวรรษที่ 1990 แต่ต้องระงับไปท่ามกลางการประท้วงจากทั้งชาวบราซิลเอง และจากภายนอกประเทศ ประธานาธิบดีลูอิส อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ผู้นำบราซิลในพิธีเซ็นสัญญาสร้างเขื่อนเบโลมอนเต กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างๆ ระบุว่าตลอดความยาว 6 กิโลเมตรของเขื่อนจะคุกคามการใช้ชีวิตของชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบ รวมทั้งที่อยู่อาศัยของผู้คนจำนวน 50,000 คนจะได้รับผลกระทบ เมื่อมีน้ำเข้าท่วมพื้นที่กว่า 500 ตารางกิโลเมตร ภาครัฐไม่ได้ใส่ใจกับเสียงวิจารณ์ แต่ได้ให้สัญญาว่าผู้ที่ชนะการประมูลโครงการจะจ่ายเงินจำนวน 800 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 25,000 ล้านบาท) เพื่อใช้ในการปกป้องสิ่งแวดล้อม เขื่อนแห่งนี้จะเป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก รองจากเขื่อนสามผา (San Xia Da Ba) ของจีน และเขื่อนอิไตปู ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างบราซิลกับปารากวัย จากการที่เศรษฐกิจของบราซิลเติบโตอย่างต่อเนื่อง คณะรัฐมนตรีแถลงว่าโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำจะเป็นกลไกสำคัญในการรับประกันว่าบราซิลจะมีพลังงานไฟฟ้าใช้ไปถึงทศวรรษหน้า ทั้งนี้มีการกล่าวกันว่ารัฐบาลมีแผนสร้างเขื่อนอีกอย่างน้อย 70 แห่งในภูมิภาคอะเมซอน อย่างไรก็ตามยังคงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์แย้งว่าโครงการดังกล่าวจะได้ไม่คุ้มเสีย เนื่องจากเขื่อนจะผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าร้อยละ 10 ของกำลังผลิตทั้งหมดในช่วงระยะ 3-4 เดือนที่ระดับลดลง |