หัวข้อ: การนับสินสอดทองหมั้น เริ่มหัวข้อโดย: น่ารักสุดๆ ที่ สิงหาคม 21, 2010, 07:36:51 AM การนับสินสอดทองหมั้น
หลังจากที่ผู่ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวทำการเจรจาสู่ขอเจ้าสาวจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อมาคือการตกลงเรื่อง "สินสอดทองหมั้น" หลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามีขั้นตอนอย่างไร และต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง วันนี้กระปุกเวดดิ้งหยิบเอา "พิธีการนับสินสอดทองหมั้น" มาแนะนำกันค่ะ สินสอด หมายถึง ทรัพย์สิน ซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส โดยปกติการแต่งงานลูกสาวมักถือเป็นงานออกหน้าออกตาใหญ่โต ทางฝ่ายหญิงจึงพยายามเรียกร้องกันมาก ๆ คือเรียก "ของหมั้น" ที่มีราคาแพง ซึ่งเดิมที "การหมั้น" มักจะเรียกเป็นทองคำ และการเรียกเป็นน้ำหนัก จนเป็นศัพท์ติดปากมาจนกระทั่งบัดนี้ว่า "ทองหมั้น" และประเพณีโบราณถือเป็นของเจ้าสาว ที่จะนำไปเป็นเครื่องแต่งตัว เพื่อเป็นทรัพย์สมบัติติดตัวในเวลาแต่งงาน นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดเงินสินสอดและผ้าไหว้อีกด้วย ส่วนที่เรียกว่า "สินสอด" ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของพ่อแม่ ถือกันว่าเป็นค่าเลี้ยงดูหรือค่าน้ำนม ทั้งนี้ พิธีการนับสินสอดทองหมั้น นั้น ก่อนทำพิธีเฒ่าแก่ของทั้งสองฝ่ายจะเจรจา เฒ่าแก่ฝ่ายชายจะเปิดกรวยดอกไม้ธูปเทียนออกและเป็นผู้เริ่มต้นก่อน โดยพูดถึงฤกษ์ยามอันเป็นมงคลในวันนี้ ตนได้ทำหน้าที่นำ ขันหมากหมั้น ของฝ่ายชายซึ่งเป็นบุตรคนนั้น ๆ มาให้ฝ่ายหญิงด้วยเงินสินสอดทองหมั้นเท่านั้นเท่านี้ตามที่ตกลงกันไว้ และขอให้เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงทำการเปิดตรวจนับดูว่าถูกต้องครบถ้วนหรือเปล่า เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงจะแสดงความรับรู้ และกล่าวเห็นดีเห็นงามในการหมั้นครั้งนี้ด้วย และร่วมพูดคุยเพิ่มความสนิทสนม หลังจากนั้นเฒ่าแก่ฝ่ายชายก็เปิดผ้าที่คลุมออกแล้วส่งให้เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงเพื่อตรวจนับสินสอดตามธรรมเนียม โดยต้องมีการตรวจบนับต่อหน้าเฒ่าแก่และญาติทั้งสองฝ่าย เพื่อเป็นสักขีพยาน เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงก็จะนำแป้งกระแจะซึ่งใส่โถปริกเตรียมพร้อมไว้แล้ว ออกมาเจิมเงินสินสอดเพื่อเป็นสิริมงคล หากมีแหวนหรือสร้อยกำไล เฒ่าแก่ทั้งสองฝ่ายจะเรียกให้ฝ่ายชายหรือว่าที่เจ้าบ่าวทำการสวมให้ฝ่ายหญิง หรือว่าที่เจ้าสาวของตน ต่อหน้าทุกคนเพื่อให้เป็นสักขีพยาน โดยเมื่อสวมแหวนเสร็จแม่ฝ่ายหญิงจะห่อสินสอดด้วยผ้า และแบกขึ้นไว้บนบ่าพอเป็นพิธี พร้อมกับทำท่าหนัก และให้พูดเอาเคล็ดว่า "ห่อนี้หนักเสียจริงๆ คงมีเงินทองงอกเงยออกมามากมายเต็มบ้านเต็มเรือน" ส่วนเงินนั้นฝ่ายหญิงจะเป็นผู้เก็บรักษา อาจนำเงินสินสอดมาในวันทำพิธีแต่งงาน ซึ่งเรื่องนี้แล้วแต่การตกลงของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย ต่อมาเมื่อฝ่ายหญิงนำสินสอดทองหมั้นหรือของหมั้นไปเก็บรักษาไว้ ก็คืนขันหรือภาชนะมักจะมีของแถมพกให้แก่ผู้ที่ทำการยกขันหมากทุกคน สำหรับผู้เฒ่าแก่ของทั้งสองฝ่ายจะได้ของสมนาคุณพิเศษ หลังจากนั้นร่วมกันกันเลี้ยงฉลองการหมั้น ก่อนที่จะแยกย้ายกันกลับ |