Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
พิมพ์หน้านี้ - นักวิจัยชี้ สีน้ำทะเลส่งผลต่อการก่อตัวของพายุเฮอริเคน

TARADTHONG.COM

สมาชิก VIP => General Discussion => ข้อความที่เริ่มโดย: น่ารักสุดๆ ที่ สิงหาคม 16, 2010, 10:40:55 AM



หัวข้อ: นักวิจัยชี้ สีน้ำทะเลส่งผลต่อการก่อตัวของพายุเฮอริเคน
เริ่มหัวข้อโดย: น่ารักสุดๆ ที่ สิงหาคม 16, 2010, 10:40:55 AM
นักวิจัยชี้ สีน้ำทะเลส่งผลต่อการก่อตัวของพายุเฮอริเคน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์


เอเอฟพี - นักวิจัยสหรัฐฯ เผย การเปลี่ยนแปลงสีของน้ำทะเลอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อจำนวนของพายุเฮอริเคนที่จะก่อตัวขึ้น รวมถึงความรุนแรงของพายุหมุมเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดนี้ด้วย
       
       ทีมนักวิจัยของสำนักงานมหาสมุทร และบรรยากาศแห่งชาติ หรือเอ็นโอเอเอได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เลียนแบบการเปลี่ยนแปลงในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่พายุเฮอริเคนมากกว่าครึ่งหนึ่งก่อตัวขึ้น
       
       ปัจจัยหลักคือน้ำทะเลที่เป็นสีเขียวจะเกิดขึ้นเมื่อมีจำนวนคลอโรฟิลล์เข้มข้น ซึ่งเป็นเม็ดสีที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่าแพลงก์ตอนพืชเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นอาหารเพื่อดำรงชีวิตในระบบนิเวศน์ทางทะเล
       
       อนันต์ กนานาเดสิกาน หัวหน้านักวิจัยแถลงว่า "พวกเราคิดว่ามหาสมุทรเป็นสีฟ้า แต่มหาสมุทรไม่ได้เป็นสีฟ้าจริงๆ แท้ที่จริงแล้วมันค่อนข้างเป็นสีออกเขียว"
       
       "ความจริงที่ว่ามหาสมุทรไม่ได้เป็นสีฟ้านั้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อการกระจายตัวของพายุไซโคลนในเขตร้อน" เขาเสริม โดยว่า หากไม่มีคลอโรฟิลล์ แสงอาทิตย์จะแทรกผ่านลึกลงไปในทะเล ทำให้อุณหภูมิน้ำบนผิวหน้าเย็นขึ้น
       
       ทีมนักวิจัยระบุว่า น้ำเย็นเป็นสาเหตุให้รูปแบบการหมุนเวียนของอากาศเปลี่ยนแปลงไป โดยก่อให้เกิดกระแสลมแรงบนผิวน้ำ ซึ่งมีแนวโน้มไปขัดขวางพายุฝนฟ้าคะนองจากการก่อตัวของกระแสลมบน ที่จะรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุเฮอริเคน
       
       ยิ่งไปกว่านั้น นักวิจัยยังชี้ว่า จำนวนแพลงก์ตอนพืชทั่วโลกกำลังลดลงเรื่อยๆ ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ตามผลการศึกษาที่เผยแพร่ไม่นานมานี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกันเป็นทอดๆ