Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
พิมพ์หน้านี้ - เจาะเบื้องลึกปัญหา"ไข่แพง" จนผู้นำประเทศต้องกระโดดลงมาเล่น จริงหรือว่าเกี่ยวข้องกับอ

TARADTHONG.COM

สมาชิก VIP => General Discussion => ข้อความที่เริ่มโดย: น่ารักสุดๆ ที่ กรกฎาคม 02, 2010, 05:04:40 PM



หัวข้อ: เจาะเบื้องลึกปัญหา"ไข่แพง" จนผู้นำประเทศต้องกระโดดลงมาเล่น จริงหรือว่าเกี่ยวข้องกับอ
เริ่มหัวข้อโดย: น่ารักสุดๆ ที่ กรกฎาคม 02, 2010, 05:04:40 PM
เจาะเบื้องลึกปัญหา"ไข่แพง" จนผู้นำประเทศต้องกระโดดลงมาเล่น จริงหรือว่าเกี่ยวข้องกับอากาศร้อน

"ประชาชาติธุรกิจ" วิเคราะห์เบื้องหลังไข่แพง แบบเจาะลึกถึงแก่น ทั้งการผูกขาดตัดตอน มีคุณโม่งดูดไข่จากระบบหรือไม่ คลิกอ่านโดยพลัน !!

ดูเหมือนว่า ราคาไข่ไก่ ที่แพงถึงฟองละ 3 บาทกว่ากำลังกลายเป็นดัชนีชี้วัด "ฝีมือ" ในการแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนได้ดีที่สุด จึงไม่แปลกใจที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะมีความกระตือรือร้นในการแก้ปัญหานี้เป็นพิเศษ ด้วยการลงไปจี้ทั้ง กระทรวงพาณิชย์ และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมไปถึง การมอบหมายให้ นายกอปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาคำอธิบายที่ว่า ทำไมไข่ไก่จึงมีราคาแพงขึ้นมาอย่างพรวดพราด และ จะหาทางให้ไข่ไก่ลดราคาลงมาได้อย่างไร?


 แน่นอนว่า การเข้ามาแก้ไขปัญหาไข่ไก่มีราคาแพงของรัฐบาลในครั้งนี้ ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดจาก บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านปศุสัตว์ครบวงจร ที่ว่า รัฐบาลจะเอาจริงกับการแก้ไขปัญหานี้แค่ไหน หรือ เพียงแค่ลูบหน้าปะจมูก "เอาตัวรอด" โดยไม่พยายามที่จะ "รื้อระบบ" การผูกขาดตัดตอนในวงการค้าไข่ไก่ครบวงจรเพื่อ "หลีกเลี่ยง" ที่จะเผชิญหน้ากับ บริษัทยักษ์ใหญ่ครบวงจร ในฐานะผู้สนับสนุนรัฐบาลเหล่านั้น


ทุกคนในวงการค้าไข่ไก่ทราบกันดีว่า ปัญหาไข่ไก่มีราคาแพง ไม่ได้เกิดจากปัจจัยสภาพ "อากาศร้อนจัด" เหมือนกับที่พยายามโหมประโคมข่าวกันลูกเดียว แต่ต้นเหตุของปัญหารื้อรังจากการรวบรวมข้อมูลของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ที่ถูกยื่นเสนอต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อเร็วๆนี้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า

 

 

"เกิดจากการผูกขาดตัดตอนในการนำเข้า พ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ ผ่านระบบโควตานำเข้าประจำปีที่ถูกกำหนดโดย คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไข่ไก่และผลิตภัณฑ์(Egg Board) ที่จำกัดการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ให้กับ บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านปศุสัตว์ครบวงจร เพียง 9 บริษัทรวมโควตานำเข้า 405,721 ตัว โดยโควตา 2 ใน 3 ของทั้งหมดที่จัดสรรให้ตกอยู่ในมือของ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์(CP) 164,160 ตัน , บจก.อาหารเบทเทอร์ในเครือเบทาโกร 60,480 ตัว และ บจก.แหลมทองฟาร์ม 57,809 ตัว"

 


  นั่นหมายความว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ รายใดต้องการที่จะเลี้ยงไก่ไข่ จะต้องทำการซื้อ ไก่สาว หรือ ลูกไก่ไข่ จากบริษัททั้ง 9 รายนี้เท่านั้น เนื่องจากเกษตรกรไม่สามารถนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ได้ ประกอบกับระบบนี้ยังจำกัดไม่ให้เกิดผู้นำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่รายใหม่ๆ เนื่องจากถูก "ล็อค" ผู้นำเข้าไว้เพียง 9 รายข้างต้น โดยอ้างว่า การจำกัดจำนวนพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่เป็นการแก้ไขปัญหาเพียงวิธีเดียวเท่านั้นที่ไม่ให้ไข่ไก่ล้นตลาดเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เนื่องจากบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านปศุสัตว์เหล่านี้ส่วนหนึ่ง 1)ไม่ยอมปลดไก่แก่จากระบบ กับ 2)ไม่มีความจริงใจในการทำลายลูกไก่ที่ล้นเกิน โดยมีบางบริษัทไปไกลถึงขนาดนำเข้า ปู่ย่าพันธุ์ เพื่อนำมาผลิตพ่อแม่พันธุ์ เกิดปริมาณลูกไก่ไข่จำนวนมหาศาล


  เมื่อระบบการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ถูก "ล็อค" ไว้โดยอาศัยกลไกของ Egg Board ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ

   1)การตั้งราคาลูกไก่ไข่และแม่ไก่เป็นธรรมหรือไม่  โดยราคาลูกไก่ไข่ปัจจุบันอยู่ที่ตัวละ 30 บาท แม่ไก่สาวตัวละ 150-160 บาทจากเดิมที่เคยขายอยู่ที่ 20 บาท/ตัวและ 110-120 บาท/ตัวตามลำดับ

 

   2)การขายอาหารสัตว์พ่วงลูกไก่/แม่ไก่สาว โดยเกษตรกรซื้อลูกไก่/แม่ไก่ไข่จากใครก็ต้องซื้อพ่วงอาหารสัตว์จากบริษัทนั้นไปด้วย

   

    และ 3)การประกาศราคารับซื้อไข่ไก่คละ ณ.หน้าฟาร์มของ สมาคมผู้ผลิตผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ ล่าสุดถูกกำหนดราคาไว้ที่ฟองละ 2.80 บาท ขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงของเกษตรกรอยู่ที่ประมาณ 2.45-2.50 บาท/ฟอง
 
  จะเห็นได้ว่า ระบบการจำกัดโควตาการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ ได้ก่อให้เกิดการ "กินรวบ" ของบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านปศุสัตว์ เนื่องจากผู้ได้รับการจัดสรรโควตาเป็นทั้งผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายลูกไก่ไข่/แม่ไก่สาว-เป็นผู้ผลิต/จำหน่ายอาหารสัตว์-เป็นผู้จัดระบบการเลี้ยงแบบ Contact Farm (ระบบลูกเล้า)-เป็นฟาร์มผลิตไข่ไก่ขนาดใหญ่  และ ยังเป็นผู้มี "อิทธิพล" ในการกำหนดราคาขายไข่คละ ณ.หน้าฟาร์ม ซึ่งใช้เป็นราคาอ้างอิงราคาไข่ไก่ทั้งระบบ
 
  ดังนั้นภายใต้ระบบนี้ หากมี "ใคร" สักคน "ดูด" ไข่ไก่ในระบบมาเก็บไว้ในห้องเย็นสัก 1-2 ล้านฟอง(ต้นทุนเก็บรักษาไม่เกินฟองละ 20 สตางค์)เพื่อทำให้ Supply ไข่ไก่หายไป สอดรับกับการประกาศขึ้นราคาไข่คละ ณ.หน้าฟาร์มครั้งละ 10-20 สตางค์ไปเรื่อยๆเหมือนกับที่เกิดขึ้นในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมานี้โดยตั้งเป้าราคา ณ.หน้าฟาร์มที่ฟองละ 3 บาท แล้วค่อยทะยอยปล่อยไข่ไก่ในห้องเย็นออกมา
   
  วิธีการดังกล่าวเท่ากับ "กำไร 2 ต่อ" ทั้งค่าพันธุ์สัตว์-อาหารสัตว์ที่ขายพ่วง แถมยัง "กำไร" ราคาไข่ที่เก็บไว้ในห้องเย็นเป็นของแถม ไข่ยิ่งขาดบริษัทยิ่งกำไร ขณะที่ "กำไร" ของเกษตรกรผู้เลี้ยงอิสระ/ผู้เลี้ยงในระบบ Contact Farm ผู้ค้าส่ง และ ผู้ขายปลีก ได้ถูกกำหนดไว้หมดแล้ว(ตารางประกอบ)

 

   แต่ที่น่าเจ็บใจก็คือ แทนที่ กรมการค้าภายใน จะออกมาตรวจสอบระบบการผลิต/ค้าไข่ไก่เพื่อหาคำตอบถึงความผิดปรกติที่เกิดขึ้น แต่กรมฯกลับทำได้เพียงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการเข็น โครงการธงฟ้า นำไข่ไก่ในสต๊อกห้องเย็นออกมาช่วยขายเท่านั้น   
-------------------------------------------------------------------------------
เรื่องไข่เนียะก็พอรู้บ้างนิดหน่อย เพราะเคยพยายามเลี้ยงไก่ไข่ กู้เงิน ธกส.มาทำโรงเรือนและเลี้ยงไก่ไข่ ปัญหาที่สำคัญก็อย่างที่ คหที่ 9 บอกคือ
1. ราคาไก่แม่พันธุ์ราคาสูง หากไม่อยากซื้อแพงก็ต้องซื้อไก่เด็กมาเลี้ยงหลายเดือนจึงจะออกไข่ ข้อเสียคือ ราคาอาหารและวัคซีนที่ต้องซื้อจากบริษัทฯแพงเกินไป และโอกาสที่ลูกไก่จะมีชีวิตรอดจนออกไข่มีแค่ 60-70%(หากเลี้ยงในระบบปิดจะรอดตายมากกว่านี้ แต่เกษตกรรายย่อยมักไม่มีระบบปิด)
2. ราคาอาหารเลี้ยงไก่แพงเกินไป หากไม่สามารถหาวัตถุดิบทางธรรมชาติที่มีอยู่ผสมด้วย เลี้ยงด้วยอาหารสัตว์เพรียวๆ ไม่มีรอดสักราย..เจ๋งหมด
3. ลักษณะของการเลี้ยงในระบบเปิดหรือธรรมชาติ
4. กลไกการตลาด รายย่อยมักไม่มีอำนาจต่อรองและหากไม่ขายให้บริษัทใหญ่ ก็หาตลาดระบายสินค้ายาก
5. ปัญหาหนี้สิน ทำให้ผู้เลี้ยงไก่รายย่อยไม่มีเงินลงทุน ต้องใช้วิธีเอาไก่บริษัทที่ผูกขาดรายใหญ่มาเลี้ยง แล้วปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เขากำหนด(การให้อาหาร ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทนั้น) เมื่อไข่ได้ก็เอามาขายคืนเป็นการใช้หนี้ที่เอาไปก่อน...สุดท้ายนายทุนหรือบริษัทผูกขาดเหล่านั้นก็มีแต่ได้กับได้(ขายทั้งแม่พันธุ์ไก่ ขายทั้งอาหารสัตว์และวัคซีน อาหารเสริม) เหมือนเกษตรกรที่ขายข้าวให้นายทุนที่ให้กู้ยืมเงินนั่นแหละ
ได้เงินไม่พอใช้หนี้ โชคดีก็ได้กำไรนิดหน่อย

*** คนไทยสูญเสียความเป็นเจ้าของอาชีพเกษตรดั้งเดิมให้กับระบบนายทุนมานานแล้ว ต่างชาติเข้ามาเป็นเจ้าของอาชีพที่คนไทยใช้ทำมาหากิน โดยคนไทยกลายไปเป็นแค่คนรับจ้างเลี้ยงไก่ คนรับจ้างปลูกข้าว คนรับจ้างปลูกผัก ฯลฯ **