หัวข้อ: ข้อคิดเตือนใจ...กับพุทธศาสนสุภาษิตน่ารู้ (ตอนที่1) เริ่มหัวข้อโดย: webmaster ที่ กันยายน 07, 2011, 09:16:48 PM ข้อคิดเตือนใจ...กับพุทธศาสนสุภาษิตน่ารู้
(http://www.taradthong.com/picture_library/7_9_54_1.jpg) เพราะมนุษย์แทบทั้งหลายยังไม่สามารถตัดกิเลสได้หมดสิ้น จึงต่างยังมี ความโลภ โกรธ หลง ซึ่งบ่อยครั้งความรู้สึกต่าง ๆ นั้น ก็พาให้เกิดการกระทำ และคำพูดที่ไม่ดี แน่นอนว่ามันย่อมส่งผลแย่ทั้งแก่จิตใจของเราเอง และผู้อื่น ดังนั้นเพื่อเป็นการเตือนสติให้ระลึกอยู่เสมอในการทำสิ่งใด ๆ เราจึงได้คัดสรร พุทธศาสนสุภาษิตน่ารู้ มาฝากเพื่อน ๆ กัน ทั้งนี้ พุทธศาสนสุภาษิต คือ คำสอนทางพระพุทธศาสนาที่เป็นเหมือนข้อคิด ข้อเตือนใจ ซึ่งจากคำสอนเหล่านี้ เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง และคนรอบข้างได้ดีอีกด้วย ถ้าอยากรู้ข้อคิดดี ๆ ในการดำเนินชีวิตจาก พุทธศาสนสุภาษิตน่ารู้ แล้วล่ะก็ ตามมากันเลยจ้า.... หมวดธรรมะเบื้องต้น อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ : คนขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้ พาโล อปริณายโก : คนโง่ คนพาล ไม่ควรเป็นผู้นำ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ : ตนเป็นที่พึ่งของตน ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย : ปัญญาย่อมประเสริฐกว่าทรัพย์ อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย : ชนะตนนั่นแหละประเสริฐกว่า ยถาวาที ตถาการี : พูดอย่างไร ทำได้อย่างนั้น สจฺจํ เว อมตา วาจา : คำจริงเป็นสิ่งไม่ตาย อิณาทานํ ทุกขํ โลเก : การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา : บัญฑิตย่อมฝึกตน ททมาโน ปิโย โหติ : ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต : พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ, เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิตทุกอย่าง หมวดบุคคล ธมฺมเทสฺสี ปราภโว : ผู้เกลียดธรรม เป็นผู้เสื่อม ปริภูโต มุทุ โหติ อติติกฺโข จ เวรวา : อ่อนไป...ก็ถูกเขาหมิ่น แข็งไป...ก็มีภัยเวร นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต : ผู้ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก ทุวิชาโน ปราภโว : ผู้มีความรู้ในทางชั่ว เป็นผู้เสื่อม โจรา โลกสฺมิมพฺพุทา : พวกโจรเป็นเสนียดของโลก ธมฺมกาโม ภวํ โหติ : ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ ครุ โหติ สคารโว : ผู้เคารพผู้อื่น ย่อมมีผู้เคารพตนเอง เอวํ กิจฺฉาภโต โปโส ปิตุ อปริจารโก ปิตริมิจฺฉาจริตฺวาน นิรยํ โส อุปปชฺชติ : ผู้ที่มีมารดาบิดาเลี้ยงมา ได้โดยยากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดาบิดา ประพฤติผิดในมารดาบิดา ย่อมเข้าถึงนรก มธุ วา มญฺญตี พาโล ยาว ปาปํ น ปจฺจติ ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ อถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติ : ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย นิสีเทยฺย สเยยฺย วา น ตสฺส สาขํ ภญฺเชยฺย มิตฺตทุพฺโพ หิ ปาปโก : บุคคลนั่งหรือนอน (อาศัย) ที่ร่มเงาตันไม้ใด ไม่ควรรานกิ่งต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม โรสโก กทริโย จ ปาปิจฺโฉ มจฺฉรี สโฐ อหิริโก อโนตฺตปฺปี ตํ ชญฺญา วสโล อิติ : ผู้ใดเป็นคนขัดเคือง เหนียวแน่น ปรารถนาลามก ตระหนี่ โอ้อวด ไม่ละอาย และไม่เกรงกลัวบาป พึงรู้ว่า ผู้นั้นเป็นคนเลว โสจติ ปุตฺเตหิ ปุตฺติมา โคมิโก โคหิ ตเถว โสจติ อุปธีหิ นรสฺส โสจนา น หิ โส โสจติ โย นิรูปธิ : ผู้มีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร, ผู้มีโคย่อมเศร้าโศกเพราะโคเหมือนกัน, นรชนมีความเศร้าโศกเพราะอุปธิ, ผู้ใด ไม่มีอุปธิ ผู้นั้น ไม่ต้องเศร้าโศกเลย หมวดการศึกษา-ปัญญา หินชจฺโจปิ เจ โหติ อุฏฺฐาตา ธิติมา นโร อาจารสีลสมฺปนฺโน นิเส อคฺคีว ภาสติ : คนเราถึงมีชาติกำเนิดต่ำ แต่หากขยันหมั่น เพียร มีปัญญาประกอบด้วยอาจาระ และ ศีล ก็รุ่งเรืองได้ เหมือนไฟถึงอยู่ในคืนมืดก็สว่างไสว สากจฺฉาย ปญฺญา เวทิตพฺพา : ความมีปัญญา ย่อมรู้ได้จากการสนทนา ทา โส ว ปญฺญาสฺส ยสสฺสิ พาโล อตฺเถสุ ชาเตสุ ตถาวิเธสุ ยํ ปณฺฑิโต นิปุณํ สํวิเธติ สมฺโมหมาปชฺชติ ตตฺถ พาโล : คนเขลามียศศักดิ์ ก็เป็นทาสของคนมีปัญญา, เมื่อเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้น คนฉลาดจัดการข้อใดได้แนบเนียน คนเขลาถึงความงมงายในข้อนั้น หมวดวาจา นา ติเวลํ ปภาเสยฺย นตุณหี สพฺพทา สิยา อวิกิณฺ มิตํ วาจํ ปตฺเตกาเล อุทีริเย : ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป เมื่อถึงเวลาก็ควรพูดพอประมาณ ไม่ฟั่นเฝือ ปรสฺส วา อตฺตโน วาปิ เหตุ น ภาสติ อลิกํ ภูริปญฺโญ โส ปูชิโต โหติ สภาย มชฺเฌ ปจฺฉาปิ โส สุคติคามิ โหติ : ผู้มีภูมิปัญญา ย่อมไม่พูดพล่อย ๆ เพราะเหตุแห่งคนอื่น หรือตนเอง ผู้นั้นย่อมมีผู้บูชาในท่ามกลางชุมชน (สภา) แม้ภายหลังเขาย่อมไปสู่สุคติ ยํ พุทฺโธ ภาสตี วาจํ เขมํ นิพฺพานปตฺติยา ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย สา เว วาจานมุตฺตมา : พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด เป็นคำปลอดภัย เพื่อบรรลุพระนิพพาน และเพื่อทำที่สุดทุกข์, พระวาจานั้นแล เป็นสูงสุดแห่งวาจาทั้งหลาย หมวดความอดทน ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน : ความอดทน เป็นตปะ (ตบะ) ของผู้พากเพียร ขนฺติ สาหสวารณา : ความอดทน ห้ามไว้ได้ซึ่ง ความผลุนผลัน มนาโป โหติ ขนฺติโก : ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่ชอบใจของบุคคลอื่น เกวลานํปิ ปาปานํ ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ ครหกลหาทีนํ มูลํ ขนฺติ ขนฺติโก : ความอดทน ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น , ผู้มีขันติ ชื่อว่า ย่อมขุดรากแห่งความ ติเตียน และ การทะเลาะกันได้ เป็นต้น ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา ปิโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก : ผู้มีความอดทน นับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และ มีสุขเสมอ , ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่รัก ชอบใจของเทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก : ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน หมวดความเพียร ขโณ โว มา อุปจฺจคา : อย่าปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ : คนที่ผลัดวันว่าพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งผลัดว่ามะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม กาลคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ : คนขยัน พึงไม่ให้ประโยชน์ที่มาถึงแล้วผ่านไปโดยเปล่า โภคา สนฺนิตยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ : ค่อย ๆ เก็บรวบรวมทรัพย์ ดังปลวกก่อจอมปลวก อตีตํ นานฺวาคเมยฺนย นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ : อย่ารำพึงถึงความหลัง อย่ามัวหวังถึงอนาคต อสเมกฺขิตกมฺมนฺตํ ตุริตาภินิปาตินํ ตานิ กมฺมานิ ตปฺเปนฺติ อุณฺหํ วชฺโฌหิตํ มุเข : ผู้ที่ทำการงานลวก ๆ โดยมิได้พิจารณาใคร่ครวญให้ดี เอาแต่รีบร้อนพรวดพราดจะให้เสร็จ การงานเหล่านั้น ก็จะก่อความเดือดร้อนให้ เหมือนตักอาหารที่ยังร้อนใส่ปาก อชฺช สุวติ ปุริโส สทตฺทํ นาวพุชฺฌติ โอวชฺชมาโน กุปฺปติ เสยฺยโส อติมญฺญติ : คนที่ไม่รู้จักประโยชน์ตนว่า อะไรควรทำวันนี้ อะไรควรทำพรุ่งนี้ ใครตักเตือนก็โกรธ เย่อหยิ่ง ถือดีว่า ฉันเก่ง ฉันดี คนอย่างนี้ เป็นที่ชอบใจของกาฬกิณี หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ อนาคตํ เนตมตฺถีติ ญตฺวา อุปฺปนฺนจฺฉนฺทํ โก ปนุเทยฺย ธีโร : มัวรำพึงถึงความหลัง ก็มีแต่จะหดหาย มัวหวังวันข้างหน้า ก็มีแต่จะละลาย อันใดยังไม่มาถึง อันนั้นก็ยังไม่มี รู้อย่างนี้แล้ว เมื่อมีฉันทะเกิดขึ้น คนฉลาดที่ไหนจะปล่อยให้หายไปเปล่า อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเฏน วิจกฺขโณ สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ อณุ อคคึว สนฺธมํ : ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดย่อมตั้งตนได้ด้วยต้นทุนแม้น้อย เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น อฏฺฐา ตา กมฺมเธยฺเยสุ อบฺปมตฺโต วิธานวา สมํ กปฺเปติ ชีวิตํ สมภตํ อนุรกฺขติ : ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท เข้าใจเลี้ยงชีพพอสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้ โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หีนวีริโย เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ : ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี ส่วนผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวก็ประเสริฐกว่า หมวดความโกรธ โกโธ สตฺถมลํ โลเก : ความโกรธเป็นดังสนิมในโลก ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ : ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย อปฺโป หุตฺวา พหุ โหติ วฑฺฒเต โส อขนฺติโช : ความโกรธน้อยแล้วมาก มันเกิดจากความไม่อดทน จึงทวีขึ้น ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ : ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้ อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โกโธ สหเต นรํ : ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมมีขึ้นเมื่อนั้น หมวดการชนะ ชิเน กทริยํ ทาเนน : พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ อสาธํ สาธุนา ชิเน : พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี อกฺโกเธน ชิเน โกธํ : พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ สจฺเจนาลิกวาทินํ : พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง หมวดประมาท เย ปมตฺตา ยถา มตา : ผู้ประมาท เหมือนคนตายแล้ว เต ทีฆรตฺตํ โสจนฺติ เย ปมชฺชนฺติ มาณวา : คนประมาท ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโต ว จนฺทิมา : เมื่อก่อนประมาท ภายหลังไม่ประมาท เขาชื่อว่ายังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น ยญฺหิ กิจฺจํ ตทปวิทฺธํ อกิจฺจํ ปน กยีรติ อุนฺนฬานํ ปมตฺตานํ เตสํ วฑฺฒนฺติ อาสวา : คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ เมื่อเขาถือตัวประมาท อาสวะย่อมเจริญ พหุมฺปิ เจ สํหิต ภาสมาโน น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ น ภาควา สามญฺญฺสฺส โหติ : หากกล่าวพุทธพจน์ได้มาก แต่เป็นคนประมาท ไม่ทำตามพุทธพจน์นั้น ก็ไม่มีส่วนแห่งสามัญญผล เหมือนคนเลี้ยงโค คอยนับโคให้ผู้อื่นฉะนั้น หมวดไม่ประมาท อปฺปมาทรตา โหถ : ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐฺ รกฺขติ : ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด อุฏฺฐฺานวโต สติมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน สญฺญฺตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ : ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วทำ ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท อปฺปมาทรตา โหถ สจิตฺตมนุรกฺขถ ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร : ท่านทั้งหลายจงยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่มคือกิเลสที่ถอนได้ยาก เหมือนช้างที่ตกหล่ม ถอนตนขึ้น ฉะนั้น อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน สญฺญเมน ทเมน จ ทีปํ กยิราถ เมธาวี ยํ โอโฆ นาภิกีรติ : ผู้มีปัญญา พึงสร้างเกาะที่น้ำหลากมาท่วมไม่ได้ ด้วยความหมั่น ความไม่ประมาท ความสำรวมระวัง และความข่มใจ อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสฺ สุตฺเตสุ พหุชาคโร อพลสฺสํว สีฆสฺโส หิตฺวา ยาติ สุเมธโส : คนมีปัญญาดีไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ ย่อมละทิ้งคนนั้น เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไป ฉะนั้น หมวดตน-การฝึกตน อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย : ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี ลพฺภา ปิยา โอจิตฺเตน ปจฺฉา : ตระเตรียมตนให้ดีเสียก่อนแล้ว ต่อไปจะได้สิ่งอันเป็นที่รัก ยทตฺตครหิ ตทกุพฺพมาโน : ติตนเองเพราะเหตุใด ไม่ควรทำเหตุนั้น สทตฺถปสุโต สิยา : พึงขวนขวายในเป้าหมายของตน กลฺยาณํ วต โภ สกฺขิ อตฺตานํ อติมญฺญสิ : ท่านเอ๋ย ! ท่านก็สามารถทำดีได้ ไยจึงมาดูหมิ่นตัวเองเสีย สนาถา วิหรถ มา อนาถา : จงอยู่อย่างมีหลักยึดเหนี่ยวใจ อย่าเป็นคนไร้ที่พึ่ง ปเร สํ หิ โส วชฺชานิ โอปุนาติ ยถาภุสํ อตฺตโน ปน ฉาเทติ กลึว กิตวา สโฐ : โทษคนอื่นเที่ยวกระจาย เหมือนโปรยแกลบ แต่โทษตนปิดไว้ เหมือนพรานนกเจ้าเล่ห์แฝงตัวบังกิ่งไม้ อตฺตตฺถปัญฺญา อสุจี มนุสฺสา : มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ : ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น หมวดมิตร มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร : มารดาเป็นมิตรในเรือนตน พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร : มารดาบิดา ท่านเรียกว่าเป็นพรหม มิตฺตทุพฺโก หิ ปาปโก : ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวแท้ ภริยา ปรมา สขา : ภริยาเป็นเพื่อนสนิท นตฺถ พาเล สหายตา : ความเป็นสหายไม่มีในคนพาล สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ เอโก จเร น จ ปาปานิ กยิรา : ถ้าได้สหายผู้รอบคอบ พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา ถ้าไม่ได้สหายผู้รอบคอบ พึงเที่ยวไปคนเดียว และไม่พึงทำความชั่ว หมวดการคบหา ยํ เว เสวติ ตาทิโส : คบคนเช่นใด ย่อมเป็นคนเช่นนั้น วิสฺสาสา ภยมนฺเวติ : เพราะความไว้ใจภัยจึงตามมา อติจิรํ นิวาเสน ปิโย ภวติ อปฺปิโย : เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไป คนที่รักกันก็มักหน่าย ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส อมิเตเนว สพฺพทา : อยู่ร่วมกับคนพาลนำทุกข์มาให้เสมอไป เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรู ธีโร จ สุขสํวาโส ญาตีนํว สมาคโม : อยู่ร่วมกับปราชญ์นำสุขมาให้ เหมือนสมาคมกับญาติ สงฺเกเถว อมิตฺตสฺมึ มิตฺตสฺมิมฺปิ น วิสฺสเส : ควรระแวงในศัตรู แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ ตครํ ว ปลาเสน โย นโร อุปนยฺหติ ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ เอวํ ธีรูปเสวนา : คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด การคบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺหติ กุสาปิ ปูติ วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา : คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด การคบคนพาลก็ฉันนั้น หมวดการสร้างตัว อลาโภ ธมฺมิโก เสยฺโย ยญฺเจ ลาโภ อธมฺมิโก : ถึงไม่ได้ แต่ชอบธรรม ยังดีกว่าได้โดยไม่ชอบธรรม ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนิ : ขยัน เอาธุระ ทำเหมาะจังหวะ ย่อมหาทรัพย์ได้ โภคา สนุนิจยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ : ทรัพย์สินย่อมพอกพูนขึ้นได้ เหมือนดังก่อจอมปลวก อนากุลา จ กมฺมนฺตา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ : การงานไม่คั่งค้างสับสน เป็นมงคลอย่างสูงสุด น หิ จินฺตามยา โภคา อิตฺถิยา ปุริสสฺส วา : โภคะของใคร ไม่ว่าสตรีหรือบุรุษ ที่จะสำเร็จเพียงด้วยคิดเอา ย่อมไม่มี สกมฺมุนา โหติ ผลูปปตฺติ : ความอุบัติแห่งผล ย่อมมีได้ด้วยการกระทำของตน ยหึ ชีเว ตหึ คจฺเฉ น นิเกตหโต สิยา : ชีวิตจะอยู่ได้ที่ไหน พึงไปที่นั้น ไม่พึงให้ที่อยู่ฆ่าตนเสีย |