Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
พิมพ์หน้านี้ - ลือสนั่น! 12 มิ.ย. สึนามิจะถล่มประจวบฯ

TARADTHONG.COM

สมาชิก VIP => General Discussion => ข้อความที่เริ่มโดย: webmaster ที่ มิถุนายน 12, 2010, 12:39:37 PM



หัวข้อ: ลือสนั่น! 12 มิ.ย. สึนามิจะถล่มประจวบฯ
เริ่มหัวข้อโดย: webmaster ที่ มิถุนายน 12, 2010, 12:39:37 PM
ลือสนั่น! 12 มิ.ย. สึนามิจะถล่มประจวบฯ
เหตุการณ์ครั้งสำคัญในรอบประวัคิศาสตร์ที่สร้างรอยแผล ภาพความสูญเสีย ผู้คนต่างล้มตายด้วยภัยธรรมชาติรุนแรงอย่าง "สึนามิ" ยังคุกรุ่นภายในจิตใจ และภาวนาว่าจะไม่เกิดซ้ำรอยแผลเก่าอีก แต่ภัยธรรมชาตินี้ก็ยังไม่สามารถจละสายตาได้

ยิ่งเมื่อไม่นานมานี้ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น ผู้เคยทำงานอยู่องค์การนาซ่า แจ้งข้อมูล ปรากฏการณ์ดวงดาวเรียงตัวในวันที่ 12 มิถุนายน 2553 จะเกิดจุดดับ และ พายุสุริยะรุนแรง แนวโน้มจะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ และอาจเกิดสึนามิ ยิ่งก่อให้เกิดความตื่นตระหนกโดยเฉพาะผู้อาศัยในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังมีข่าวสึนามิจะซัดถล่มฝั่ง 12 มิ.ย. นี้ 

อย่างไรก็ตาม นายเรวัฒน์ เครือแดง หัวหน้าสถานีอุตุนิยมวิทยาประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ตนได้รับสายโทรศัพท์จากประชาชนจำนวนมากสอบถามถึงกระแสข่าวจะมีคลื่นยักษ์สึนามิพัดเข้าฝั่งอ่าวไทยในวันที่ 12 มิ.ย.นี้ จนทำให้ชาวบ้าน และชาวประมงต่างหวาดผวาเตรียมขนข้าวของไว้ในที่ปลอดภัย

"ผมจึงชี้แจงไปว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าจะเกิดสึนามิ เพราะการจะเกิดคลื่นยักษ์ได้นั้นต้องมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ โดยเฉพาะเกิดในท้องทะเลขนาดมากกว่า 7.0 ริกเตอร์ ซึ่งในประเทศไทยไม่มีความเสี่ยงจะเกิดแผ่นดินไหวขนาดนี้ แต่หากเกิดแผ่นดินไหวแถบอ่าวไทยดังเช่นเป็นข่าว เช่น ที่ฟิลิปปินส์ หรือ อินโดนีเซีย ความรุนแรงของคลื่นทะเลจะไม่สูงเท่าที่เคยเกิดเมื่อปี 2547 โดยฝั่งอันดามันคลื่นอาจสูงเพียง 1-2 เมตร เนื่องความสภาพภูมิศาสตร์ที่มีแถวเขาและอ่าวเป็นตัวลดความแรงของคลื่น และต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมงกว่าคลื่นทะเลจะเดินทางถึงชายฝั่งอ่าวไทย" นายเรวัตน์ กล่าว

นายเรวัฒน์ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยมีมาตรการเตรียมพร้อมในการแจ้งเตือนเหตุสึนามิอยู่แล้ว จึงไม่น่าวิตกกังวล

คงต้องรอดูอย่างใจจดใจจ่อว่า "สึนามิ" ที่ดร. ก้องภพ ได้ทำนายไว้นั้นจะมาปรากฎกายให้เห็นหรือไม่ในวันพรุ่งนี้

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

สึนามิ พิบัติภัยธรรมชาติที่ต้องตามติด

ความหวาดหวั่นต่อภัยธรรมชาติอย่าง "สึนามิ" ไม่ใช่เป็นเพียงอากาศที่เปลี่ยนตามฤดูกาล และเวลา แต่นั่นหมายถึง "สึนามิ" เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อเมื่อปัจจัยพร้อมเพียง ความตื่นตระหนกหลังเหตุการณ์จึงทวีคูณในความรู้สึกของคนไทย

หากย้อนไปเมื่อครั้งที่เกิด "คลื่นสึนามิ" ในทะเลอันดามันครั้งที่รุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 โดยมีผู้คนเสียชีวิตถึงประมาณ 220,000 คน นับเป็นภัยทางธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 3 ของโลกเท่าที่มีการบันทึกไว้ โดยภัยธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 เกิดจากพายุไซโคลนพัดผ่านประเทศบังกลาเทศ เมื่อ พ.ศ. 2513 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 3000,000 คน และภัยทางธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 2 เกิดจากแผ่นดินไหวทาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน เมื่อ พ.ศ. 2519 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 255,000 คน

ในกรณีของประเทศไทย พิบัติภัยจากคลื่นสึนามิได้ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชนทั่วทั้งประเทศ เพราะมีการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนเป็นจำนวนมากใน 6 จังหวัดภาคใต้ที่มีพื้นที่อยู่ติดกับชายฝั่งทะเลอันดามัน  คือ ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล โดยเฉพาะที่จังหวัด พังงา กระบี่ และภูเก็ต มีการสูญเสียมากที่สุด เป็นพิบัติภัยทางธรรมชาติที่ เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยไม่มีผู้ใดคาดคิดมาก่อน จึงไม่ได้มีการ ระมัดระวังและป้องกันไว้ล่วงหน้า

ย้อนอดีต "สึนามิ" ถล่มทั่วโลก

6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช  เป็นคลื่นสึนามิใต้น้ำที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ

เกาะซานโตรินี่ ในปี 1650 ก่อน ค.ศ. คลื่นสึนามิจากภูเขาไฟระเบิดในเกาะซานโตรินี่ ซึ่งภูเขาไฟในเกาะซานโตรินี่ของกรีซระเบิดขึ้น ทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำ "สึนามิ" ที่มีความสูงตั้งแต่ 100 เมตรถึง 150 เมตร ซึ่งถาโถมเข้าถล่มชายฝั่งทางด้านเหนือของเกาะครีต

เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เกิดแผ่นดินไหวในปี พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) ชาวโปรตุเกสจำนวนหลายหมื่นคนรอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ลิสบอนในปี พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) แต่กลับต้องเสียชีวิตไปทันที ด้วยคลื่นสึนามิที่โถมเข้าทำลายหลังเกิดแผ่นดินไหวได้เพียงไม่กี่นาที

เกาะกรากะตัว ในประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟเกิดการระเบิดอย่างรุนแรงเมื่อปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) หินเหลวละลายใต้ปล่องภูเขาไฟถูกพ่นออกมาจำนวนมาก เกิดโพรงขนาดใหญ่ขึ้นใต้ดิน ทำให้พื้นแผ่นดินที่อยู่เบื้องบนและพื้นทะเลยุบตัวลง ส่งผลให้เกิดระลอกคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ขึ้น

สึนามิแปซิฟิก แผ่นดินไหวในหมู่เกาะอลิวเตียน ในปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่ถาโถมเข้าสู่ฮาวายและอะลาสก้า ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 165 คน มหันตภัยสึนามิที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นส่งผลให้เกิดการก่อสร้างระบบเตือนภัย

สึนามิชิลี แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ชิลี มีระดับความรุนแรง 9.5 ริกเตอร์ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่สร้างความวิบัติหายนะอย่างรุนแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20

สึนามิกู๊ดฟราย์เดย์ แผ่นดินไหวกู๊ดฟรายเดย์ขนาด 9.2 ริกเตอร์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) ก่อให้เกิดคลื่นสินามิถาโถมเข้าถล่มชายฝั่งอะลาสก้า, บริติช โคลัมเบีย, แคลิฟอร์เนียและชายฝั่งเมืองแปซิฟิกนอร์ธเวสต์ในสหรัฐอเมริกา ทำให้ประชาชนเสียชีวิต 122 คน

สึนามิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 - เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย

สึนามิในเอเชียใต้ พ.ศ. 2067 (ค.ศ. 1524) - ใกล้เมือง Dabhol รัฐมหารัชตะ ประเทศอินเดีย
2 เมษายน พ.ศ. 2305 (ค.ศ. 1762) - ชายฝั่งอาระคัน ประเทศพม่า
16 มิถุนายน พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1819 - Rann of Kachchh รัฐกุจาราช ประเทศอินเดีย
31 ตุลาคม พ.ศ. 2390 (ค.ศ. 1847) - หมู่เกาะนิโคบาร์ใหญ่
31 ธันวาคม พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881) - หมู่เกาะคาร์นิโคบาร์
26 สิงหาคม พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) - ภูเขาไฟกรากะตัวระเบิด
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - ชายฝั่ง Mekran บาลูจิสถาน

สึนามิในอเมริกาและแคริบเบียน

11 ตุลาคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) - เปอร์โตริโก
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) - นิวฟาวนด์แลนด์
4 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - สาธารณรัฐโดมินิกัน
18 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - สาธารณรัฐโดมินิกัน
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) - เกรท สเวลล์ในแม่น้ำเดลาแวร์
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) - มลรัฐเมน
9 มกราคม พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) - มลรัฐเมนอิง
19 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964)

หากดูสถิติการเกิด "สึนามิ" เห็นได้ว่า ภัยธรรมชาตินี้เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ การเตรียมความพร้อม สถานที่ปลอดภัย สัญญาณเตือนภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญในเบื้องต้นที่ทุกหน่วยงานต้องให้การสนับสนุน ด้วยเพราะยังไม่มีตัวชี้วัดที่แน่นอนว่า "สึนามิ ภัยร้าย" จะเกิดขึ้น ณ เวลาใด