Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
พิมพ์หน้านี้ - 20 เคล็ดลับ เตรียมพร้อมรับมือ บริการทางการแพทย์

TARADTHONG.COM

สมาชิก VIP => General Discussion => ข้อความที่เริ่มโดย: น่ารักสุดๆ ที่ สิงหาคม 22, 2011, 04:38:32 PM



หัวข้อ: 20 เคล็ดลับ เตรียมพร้อมรับมือ บริการทางการแพทย์
เริ่มหัวข้อโดย: น่ารักสุดๆ ที่ สิงหาคม 22, 2011, 04:38:32 PM
20 เคล็ดลับ เตรียมพร้อมรับมือ บริการทางการแพทย์

(http://www.taradthong.com/picture_library/22_8_54_7.jpg)

มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องเสียชีวิตจากความผิดพลาดทางการแพทย์  ไม่ว่าจะเป็นในประเทศ  หรือต่างประเทศ เรามักจะได้ยินข่าวในลักษณะเช่นนี้อยู่บ่อย ๆ  ทั้งนี้ความผิดพลาดทางการแพทย์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และอาจจะเกิดขึ้นในการรักษาทุกขึ้นตอน ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย การเข้ารับผ่าตัด หรือแม้กระทั่งการให้ยา และจากปัญหาดังกล่าว ผู้บริโภคแต่ละคน จึงจำเป็นที่จะต้องรู้วิธีป้องกันและรับมือกับปัญหา ความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้หลังเข้ารับการรักษาต่าง ๆ

         และแน่นอนค่ะ วันนี้เรามีบทความดี ๆ ของ ผศ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้แนะนำ 20 เคล็ดลับสำหรับผู้บริโภค หรือคนไข้ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตน ให้เกิดความปลอดภัยในการรับบริการมาฝากกัน จะมีวิธีใดบ้างไปดูกันเลย

(http://www.taradthong.com/picture_library/22_8_54_8.jpg)

หลักการที่สำคัญ

        เคล็ดลับที่ 1  พึงระลึกไว้เสมอว่า  "เราจะต้องเป็นส่วนหนึ่งในทีมที่ให้การรักษา"  นั่นหมายถึง เราต้องมีส่วนร่วมในทุก ๆ การตัดสินใจในกระบวนการดูแลรักษา งานวิจัยยืนยันว่าผู้ป่วยที่มีส่วนร่วมในกระบวนการรักษามีแนวโน้มจะได้ผลการรักษาที่ดีกว่า


(http://www.taradthong.com/picture_library/22_8_54_9.jpg)

หลักปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ยา

         เคล็ดลับที่ 2  ต้องแน่ใจว่าแพทย์ที่ทำการรักษาทราบว่า เรามีประวัติการรับยาที่ใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาจากโรงพยาบาลเดียวกัน หรือยาที่ซื้อมารับประทานเอง ทั้งวิตามิน ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ สมุนไพรต่าง ๆ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทุกชนิด เพราะจากผลการวิจัยนั้น พบว่า ในการรักษามักจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้น โดยเฉพาะอันตรายจากปฏิกิริยาต่อวันระหว่างยา ที่แพทย์สั่งให้มาใหม่ กับยาที่ท่านรับประทานอยู่ หรือกับผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ๆ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการรักษาได้  ดังนั้น ในการพบแพทย์หรือต้องนอนโรงพยาบาลให้นำยาหรือผลิตภัณฑ์ที่ท่านใช้ประจำมา เป็นข้อมูลเพื่อให้แพทย์ได้ทราบก่อนที่แพทย์จะตัดสินใจสั่งการรักษา

        เคล็ดลับที่ 3   แจ้งประวัติการแพ้ยา หรือมีอาการข้างเคียงที่ส่งผลให้เกิดอันตรายจากยาชนิดใดบ้าง ทุกครั้งก่อนรับยา เพื่อแพทย์จะได้หลีกเลี่ยงยาประเภทดังกล่าว

        เคล็ดลับที่ 4  ในกรณีที่แพทย์ตัดสินใจให้ยาแล้ว  ต้องพยายามทำความเข้าใจกับใบสั่งยาที่ได้รับ  โดยเฉพาะลายมือที่แพทย์เขียน  เพราะลายมือที่ไม่ชัดเจนทำให้เภสัชกรจ่ายยาผิดพลาด และเป็นที่มาของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคนไข้

         เคล็ดลับที่ 5  สอบถามรายละเอียด และทำความเข้าใจในการใช้ยาจากแพทย์ให้ชัดเจน ได้แก่

ยาที่ได้รับนั้นใช้เพื่อวัตถุประสงค์อะไรบ้าง

ยาที่ได้รับต้องใช้อย่างไร และใช้ยานานแค่ไหน จะหยุดยาได้เมื่อไร
ถ้าใช้ยาแล้วโอกาสเกิดอาการข้างเคียงอะไรบ้าง และหากเกิดขึ้นจริงจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
ยาที่ได้รับนี้หากต้องรับประทานร่วมกับยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นที่ท่านรับประทานอยู่จะปลอดภัยหรือไม่
ข้อแนะนำสำหรับการปฏิบัติตัวอื่น ๆ เช่น การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มหรือมีกิจกรรมต่าง ๆ ประการใดบ้างที่ควรหลีกเลี่ยงในขณะที่รับประทานยานี้  เช่น  ยาบางชนิดจะมีอันตรายหากรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

        เคล็ดลับที่ 6  เมื่อไปรับยาตามใบสั่ง ต้องตรวจให้แน่ใจว่า ยาที่ได้นั้นตรงตามใบสั่งยาที่แพทย์ให้มาจริง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การได้รับยาผิดชนิด  ไม่ถูกต้องตามที่สั่ง หรือได้รับยาในขนาดที่ผิดไปจากที่สั่ง เป็นต้น

        เคล็ดลับที่ 7  หากได้รับยามาแล้ว มีข้อสงสัยถึงวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากต้องรีบถามก่อนกลับบ้าน เพราะหากเข้าใจผิดพลาดจะนำไปสู่การรับประทานยาหรือใช้ยาที่ผิดพลาด เช่น ฉลากระบุว่ารับประทานวันละครั้ง  หลังอาหารหรือก่อนนอน มีคนไข้รับประทานยานี้วันละ 4 ครั้ง  ทั้งหลังอาหารทุกมื้อและก่อนนอน

        เคล็ดลับที่ 8  ควรให้เภสัชกรแจ้งให้ทราบถึงอันตราย หรืออาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากยา และวิธีปฏิบัติหากเกิดขึ้นจริงโดยเฉพาะที่อยู่ที่สามารถติดต่อกลับเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม  หากเป็นไปได้ควรแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร

        เคล็ดลับที่ 9   ต้องแน่ใจว่า สามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้องและเก็บรักษายาอย่างถูกต้อง เช่น หากจำเป็นต้องรับประทานยาน้ำ  ต้องถามเภสัชกรให้แน่ใจว่าจะใช้อุปกรณ์ในการตวงยาอย่างไรจะเหมาะสม เช่น หนึ่งช้อนชา ไม่เท่ากับขนาดหนึ่งช้อนกาแฟ  หากไม่มีช้อนชาสำหรับตวงยาให้ขอจากห้องยาหรือร้านยาได้  หรือหากได้รับเป็นหลอดฉีดยาสำหรับตวงยาต้องแน่ใจว่า ใช้ได้อย่างถูกต้อง หรือหากต้องใช้ยาพ่นต้องแต่ใจว่าพ่นถูกอวัยวะ  เช่น  พ่นเข้าจมูกหรือพ่นเข้าปาก  การเก็บยาหลังจากเปิดขวดใช้แล้ว  วิธีการใดที่เหมาะสม เช่น  เก็บในตู้เย็น หรือต้องทิ้งภายหลังใช้เป็นเวลา 1 เดือน  ในกรณียาหยอดตา

(http://www.taradthong.com/picture_library/22_8_54_10.jpg)

หลักปฏิบัติหากต้องไปนอนโรงพยาบาล

        เคล็ดลับที่ 10  ถ้ามีสิทธิเลือก ควรเลือกโรงพยาบาลที่มีความชำนาญในการรักษาคนไข้ในวิธีการนั้น ๆ ก่อน, โดยมีงานวิจัยยืนยันว่า หากได้รับการดูแลในโรงพยาบาลที่มีความชำนาญในการดูแลโรคนั้น ๆ มากกว่า จะให้ผลการรักษาที่ดีกว่า

        เคล็ดลับที่ 11   หากต้องได้รับการรักษาจากบุคลากรการแพทย์คนใด  อย่าลืมถามเขาเหล่านั้นว่า  "คุณหมอล้างมือให้สะอาดก่อนมาดูแลท่านหรือไม่"  เนื่องจากการล้างมือเป็นวิธีการที่ดี และง่ายที่สุดในการลดการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่องค์การอนามัยโลกยืนยัน  และจากการวิจัยพบว่า หากคนไข้ถามผู้ให้บริการในเรื่องดังกล่าว  ผู้ให้บริการเหล่านั้นมีแนวโน้มที่จะล้างมือบ่อยขึ้น และใช้สบู่มากขึ้น

        เคล็ดลับที่ 12  หากต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ต้องแน่ใจว่า ตัวเราเองกับแพทย์ที่จะทำการผ่าตัด หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจตรงกัน ว่าจะใช้วิธีการอย่างไร  มีวิธีการอื่นที่เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าหรือไม่ การผ่าตัดมีความเสี่ยงอย่างไร  และต้องตรวจสอบว่า โรงพยาบาลเตรียมป้องกันความเสี่ยงไว้เรียบร้อยหรือยัง  เนื่องจากความผิดพลาดในการผ่าตัด เช่นการผ่าตัดผิดตำแหน่ง ที่ก็มีให้เห็นกันอยู่บ้าง  แต่ความผิดพลาดดังกล่าวไม่ควรให้เกิดขึ้น  เพราะสามารถป้องกันได้ 100% หรือหากเกิดเหตุการณ์อันตรายจากการผ่าตัด ก็จะมีอุปสรรคหรือเครื่องมือป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้ ไม่ให้เกิดความสูญเสียที่ไม่จำเป็น

        เคล็ดลับที่ 13  หากได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลได้  ต้องศึกษาแผนการปฏิบัติตน หลังจากการรักษา ว่าเมื่อไหร่จะสามารถกลับไปมีกิจกรรมตามปกติได้  หรือกิจกรรมอะไรที่ควรหลีกเลี่ยง

(http://www.taradthong.com/picture_library/22_8_54_11.jpg)

หลักปฏิบัติทั่วไปในการรับบริการสุขภาพ

         เคล็ดลับที่ 14   พึงระลึกไว้เสมอว่า  "ท่านมีสิทธิถามข้อสงสัยทุกประการเกี่ยวกับการรักษา  เพราะฉะนั้น  "จงถาม"  หรือ  "จงพูด"  ในสิ่งที่ท่านกังวลใจให้ผู้ให้บริการได้ทราบ

        เคล็ดลับที่ 15   ต้องแน่ใจได้ว่ามีผู้ให้บริการคนใดคนหนึ่งที่ดูแลรับผิดชอบเฉพาะต่อตัวท่านอย่างแน่นอน  โดยเฉพาะหากท่านมีปัญหาสุขภาพหลายด้าน

        เคล็ดลับที่ 16   ต้องแน่ใจให้ได้ว่าผู้ให้บริการทุกคนที่เกี่ยวข้องด้วยนั้น ในขณะทำการรักษาทราบข้อมูลสุขภาพของเราอย่างชัดเจน

        เคล็ดลับที่ 17   หากเป็นไปได้ในการไปรับการรักษาควรพาใครไปเป็นเพื่อนด้วย  อาจเป็นคนในครอบครัว หรือเพื่อน  เพื่อที่จะช่วยท่านในกรณีที่ท่านต้องการ หรือแม้ว่าคุณอาจจะไม่ต้องการในตอนแรก  คุณอาจจำเป็นต้องการคนช่วยเหลือในภายหลังก็ได้  เช่น  ในการผ่าตัดที่ต้องให้ผู้ป่วยหมดสติ หรือการบำบัดรักษาบางชนิดที่ทำให้ท่านช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ในการรักษาโดยปกติแพทย์จะแจ้งล่วงหน้า เช่น มารักษาตา ห้ามขับรถกลับเอง  เป็นต้น

        เคล็ดลับที่ 18   พึงระลึกไว้เสมอว่าในทางการแพทย์  "ยิ่งมากไม่จำเป็นต้องยิ่งดี"  โดยเฉพาะการได้รับยาที่มากขึ้นมีโอกาสเสี่ยงต่อยายิ่งมาก  หรือแม้กระทั่งการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องสอบถามความเหมาะสมในการได้รับยาหรือการตรวจวินิจฉัย  เพื่อให้ได้ยาหรือการตรวจเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

        เคล็ดลับที่ 19  หากได้รับคำสั่งให้ตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ใด ๆ พึงสอบถามถึงผลของการตรวจ  เพราะผลการตรวจอาจจะไม่ได้มีเฉพาะข่าวดีเท่านั้น การทราบผลย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาในขั้นตอนต่อไป

         เคล็ดลับที่ 20  จงหมั่นเรียนรู้ถึงความเป็นไปของโรค หรือความเจ็บป่วยอย่างสม่ำเสมอ  อาจสอบถามจากแพทย์หรือพยาบาล หรือบุคลากรแพทย์ที่ดูแล หรือเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้อื่น ๆ

         เรื่องสุขภาพไม่ใช่เรื่องใกล้ตัว เราทุกคนควรหันมาใส่ใจ และเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นให้ได้อย่างทันท่วงทีนะคะ