หัวข้อ: หัวข้อสัมภาษณ์งาน เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ให้ได้งาน เริ่มหัวข้อโดย: ABC ที่ มิถุนายน 12, 2010, 09:32:01 AM หัวข้อสัมภาษณ์งาน เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ให้ได้งาน
ตื่นเต้น ๆ ... คำ ๆ นี้มักเกิดขึ้นบ่อยครั้งสำหรับผู้มารับการสัมภาษณ์ เพื่อสมัครเข้าทำงาน บางคนอาจจะกลุ้มใจว่าทำยังไงถึงจะให้ได้งาน แล้วหัวข้อสัมภาษณ์งานส่วนใหญ่ จะเป็นประเด็นคำถามแบบไหน และควรเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน อย่างไร จึงจะให้ได้งาน วันนี้กระปุกดอทคอมมีทิปส์เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับ หัวข้อสัมภาษณ์งาน เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน มาฝากค่ะ เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน อันดับแรกในการ เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน คือการแต่งกายให้เรียบร้อย เหมาะกับกาลเทศะ เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์เกิดความประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกที่เจอ โดยส่วนใหญ่การสัมภาษณ์งานจะค่อนข้างเป็นทางการ ดังนั้น การเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ควรแต่งกายให้ดูสะอาด เรียบร้อย และก่อนออกจากบ้าน ควรสำรวจตัวเองอีกครั้งเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองค่ะ หัวข้อสัมภาษณ์งาน หัวข้อสัมภาษณ์งาน ก็เป็นอีกเรื่องที่ผู้ไปรับสัมภาษณ์งานควรศึกษาและ เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ให้พร้อม เพื่อเวลาถูกสัมภาษณ์จะได้ไม่ตื่นเต้นและเกิดอาหารประหม่า ทั้งนี้หลักในการตอบคำถาม หัวข้อสัมภาษณ์งาน ควรตอบให้ตรงประเด็น กระชับ ได้ใจความ มีความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงยกตัวอย่างเพื่อให้คำตอบชัดเจนยิ่งขึ้น ที่สำคัญข้อมูลต้องถูกต้องและเป็นความจริงด้วย และวันนี้เรามีตัวอย่าง หัวข้อสัมภาษณ์งาน มาให้อ่าน และแนะนำไปปรับใช้เวลาสัมภาษณ์งานมาฝากค่ะ 1. เล่าประวัติเกี่ยวกับตัวคุณ แนะนำว่าคุณควรใช้เวลาในการแนะนำตัวเองเพียงสั้น ๆ แค่ 2-3 นาทีพอ เน้นแบบกระชับได้ใจความ รวมถึงบอกว่าตัวเองเป็นคนที่เข้ากับคนอื่นง่าย รู้จักปรับตัว ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น และเรียนรู้เร็ว ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้เล่าทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับตัวคุณตั้งแต่สมัยเรียนประถม จนถึงทำงาน โดยไม่มีอะไรน่าสนใจ หรือไม่มีอะไรเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่คุณสมัครมา 2. ทำไมคุณถึงคิดว่าเหมาะกับงานนี้ หัวข้อนี้แนะนำให้เล่าประสบการทำงานที่ผ่านมา และความสามารถที่เกี่ยวกับงานในตำแหน่งที่คุณสมัครมา ว่าอะไรที่ทำให้คุณเหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งนี้ และคุณมีจุดเด่นเหมาะกับงานตำแหน่งนี้มากกว่าคนอื่น ๆ ตรงไหนบ้าง สำหรับผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาไม่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อน ก็ให้บอกจุดเด่นในการทำกิจกรรมในสมัยที่ยังเป็นนักศึกษา หากคุณไม่ค่อยทำกิจกรรม อาจบอกว่าเพราะคุณทุ่มเทกับเรื่องเรียน พร้อมยกตัวอย่างเกรดเฉลี่ยสวย ๆ หรือวิชาที่คุณเรียนแล้วได้เกรดดี ๆ และเหมาะกับตำแหน่งงานมาประกอบการอธิบายก็ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ตอบคำถามสั้น ๆ และไม่มีเหตุผลอธิบายประกอบ เช่น "ด้วยประสบการณ์ทำงาน 2 ปีที่ผ่านมา ผมเชื่อว่าสามารถทำงานนี้ได้" 3. คุณคิดว่าตำแหน่งนี้ต้องรับผิดชอบงานอะไรบ้าง แนะนำว่า คุณควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับขอบเขตงานในตำแหน่งที่คุณไปสัมภาษณ์ก่อน และเวลาตอบต้องสั้น กระชับได้ใจความ อย่าตอบคำถามแบบมั่นใจในตัวเองจนเกินไป หรือตอบแบบสร้างภาพพจน์ไม่ดีให้กับตัวเอง เช่น "ทราบมาว่าที่นี่กำลังขาดผู้จัดการฝ่ายการตลาด ด้วยประสบการณ์งาน 3 ปีในด้านนี้ ทำให้คิดว่าสามารถแก้ปัญหานี้ได้" 4. คุณรู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทเราบ้าง อันดับแรกที่คุณต้องไปสัมภาษณ์งาน สิ่งที่คุณควรรู้คือ ข้อมูลองค์กรที่คุณจะไปสัมภาษณ์ รวมถึงขอบเขตงานในตำแหน่งงาน ที่ เช่น ผลิตภัณฑ์ กลุ่มลูกค้า คู่แข่ง ภาพลักษณ์องค์กร ที่มาและประวัติขององค์กร ฯลฯ อย่างไรก็ตาม คำตอบไหนที่คุณไม่แน่ใจ อย่าพยายามที่จะตอบ เพราะอาจจะทำให้ผู้สัมภาษณ์งานรู้ได้ว่า คุณไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับองค์กรและตำแหน่งงานมา หากคำตอบไม่แน่ใจ คุณอาจจะถามกลับผู้สัมภาษณ์งาน เพื่อให้อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ แต่ทั้งนี้อย่าลืมบอกว่า คุณได้ศึกษาเกี่ยวกับองค์กรมา และความสนใจที่อยากจะทราบเกี่ยวกับองค์กรเพิ่มเติม 5. อะไรคือจุดมุ่งหมายระยะยาวในการทำงานของคุณ แนะนำให้พูดถึงสิ่งที่อยากทำในอนาคต และต้องบอกวิธีที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ ซึ่งควรจะเกี่ยวข้องกับงานที่สัมภาษณ์อยู่ ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ตอบในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานที่สมัครอยู่ เพราะไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ 6. ถ้าได้งานนี้ คุณคิดว่าจะทำงานที่นี่นานเท่าไหร่ ควรตอบคำถามที่เน้นและพุ่งประเด็นไปที่การทุ่มเทงานของคุณ เช่น อาจจะตอบว่าตราบใดที่งานมีความยากและท้าทาย ก็จะขอจะทุ่มเทความสามารถของตัวเองให้เต็มที่ เพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้กับองค์กร อย่างไรก็ตาม ไม่ควรบอกระยะเวลาไป เช่น มีแผนไปเรียนต่ออีก 2-3 ปีข้างหน้า หรือทางบ้านมีแผนให้ไปช่วยธุรกิจที่บ้าน 7. อะไรคือจุดอ่อนของคุณ ควรเลือกจุดอ่อนที่เป็นความจริงและกำลังปรับปรุงหรือพัฒนา เช่น ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง ซึ่งตอนนี้กำลังเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติม 8. ทำไมคุณถึงลาออกจากงานเก่า ตอบความจริงให้มากที่สุด แต่ถ้าความจริงมันเลวร้ายก็อย่าตอบหมด เนื่องจากว่าผู้สัมภาษณ์ อาจขออนุญาตติดต่อบุคคลอ้างอิงเพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลเหล่านั้น ทั้งนี้แนะนำว่า ไม่ควรวิพากษณ์วิจารณ์เกี่ยวกับองค์กร เจ้านาย หรือเพื่อนร่วมงานเก่าที่คุณลาออกมา เพราะมันจะทำให้ภาพลักษณ์ของคุณดูไม่ดี 9. อะไรคือสิ่งที่คุณชอบและไม่ชอบในงานเก่า (หรืองานที่กำลังทำอยู่) แนะนำว่าควรบอกสิ่งที่ชอบมากกว่าสิ่งที่ไม่ชอบ และให้คำอธิบายรวมถึงเหตุผลว่าทำไมเราจึงคิดเช่นนั้น และไม่แนะนำให้บอกในสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องงาน หรืออ้างอิงถึงบุคคล เพราะนั่นหมายถึงคุณกำลังวิจารณ์คนอื่น และไม่จำเป็นต้องเล่าทุกอย่างที่แย่ ๆ เกี่ยวกับงาน เพราะไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา 10. อะไรคือสิ่งที่คุณประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต คุณอาจพูดถึงการเลื่อนขั้น ปรับตำแหน่งในการทำงาน หรือตลอดระยะเวลาที่ทำงานมามีแต่ความราบรื่นไม่เคยมีปัญหากับลูกค้า หรือเพื่อนร่วมงาน ถ้าเป็นผู้สมัครที่เพิ่งจบการศึกษา อาจจะพูดถึงเกรดเฉลี่ย หรือความภาคภูมิใจที่สามารถสอบเข้ามหาลัยที่มีชื่อเสียงได้ 11. คุณมีวิธีจัดการกับความกดดันอย่างไร คำตอบที่ควรตอบคือ บอกว่า ต้องตั้งสติ ไม่ร้อนรนไปกับสิ่งที่มากดดันให้เกิดความเครียด แต่ควรแปรความกดดันเป็นพลังงานที่จะนำไปพัฒนาสร้างสรรค์งานต่าง ๆ ตลอดจนผลักดันให้ตัวคุณก้าวข้ามอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จให้จงได้ พร้อมยกตัวอย่างวิธีจัดการกับความกดดันที่เคยเกิดขึ้นกับคุณ 12. คุณคาดหวังเงินเดือนเท่าไหร่ แนะนำให้คุณลองสืบข้อมูลดูก่อนว่าส่วนใหญ่ด้วยตำแหน่งและประสบการณ์ทำงานเงินเดือนเท่าไหร่ แล้วเสนอเป็นระดับช่วงเงินเดือนจะดีกว่าระบุเป็นตัวเลขตายตัว เพราะจะทำให้คุณสามารถต่อรองเงินเดือนจากความสามารถเฉพาะตัวของคุณได้ 13. คำถามสุดท้ายคุณมีอะไรจะถามไหม ตัวอย่างคำถามที่ควรถามเช่น ตำแหน่งของดิฉันอยู่ในตำแหน่งใดในโครงสร้างของบริษัท, เวลาทำงานปกติคือเวลาใด, กรุณาบอกคร่าว ๆ ถึงเป้าหมายของบริษัท เป็นต้น คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน แนะนำให้ฝึกตอบทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื่องจากบางบริษัทอาจจะสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ ฝึกตอบคำถามหน้ากระจกและสำรวจบุคลิกภาพของตัวเอง เวลาตอบคำถามควรสบตากับผู้สัมภาษณ์ ไม่ควรเท้าคาง หรือโต๊ะสัมภาษณ์ ตอบคำถามแบบมั่นใจ พูดจาฉะฉาน อย่างไรก็ตาม เตรียมตัวไปสัมภาษณ์งาน และเตรียมหัวข้อสัมภาษณ์งาน ไว้ก่อนจะทำให้เรามีความพร้อมและเพิ่มความมั่นใจมากขึ้น และโอกาสที่จะได้งานก็มีมากขึ้นเช่นกัน แต่ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดที่องค์กรหรือคนสัมภาษณ์จะรับเข้าทำงานส่วนใหญ่ จะพิจารณาจากความสามารถว่าคุณเหมาะกับงานตำแหน่งที่องค์กรจะรับหรือไม่ … หัวข้อ: Re: หัวข้อสัมภาษณ์งาน เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ให้ได้งาน เริ่มหัวข้อโดย: webmaster ที่ สิงหาคม 24, 2012, 07:54:10 PM เยี่ยมเลยครับ
หัวข้อ: Re: หัวข้อสัมภาษณ์งาน เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ให้ได้งาน เริ่มหัวข้อโดย: NickkY37 ที่ พฤษภาคม 26, 2013, 12:22:29 AM 12. คุณคาดหวังเงินเดือนเท่าไหร่
แนะนำให้คุณลองสืบข้อมูลดูก่อนว่าส่วนใหญ่ด้วยตำแหน่งและประสบการณ์ทำงานเงินเดือนเท่าไหร่ แล้วเสนอเป็นระดับช่วงเงินเดือนจะดีกว่าระบุเป็นตัวเลขตายตัว เพราะจะทำให้คุณสามารถต่อรองเงินเดือนจากความสามารถเฉพาะตัวของคุณได้ :tongue1: หัวข้อ: หัวข้อสัมภาษณ์งาน เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ให้ได้งาน เริ่มหัวข้อโดย: jackkbu ที่ พฤศจิกายน 07, 2013, 12:03:16 PM ตอบ ข้อ.12 = ผมต้องการเงินเดือนน้อยๆครับ เพราะผมอยากจะทำงานนี้มากครับ ไปสมัครที่ไหนก็ไม่มีใครเอาครับ. :wink1:
หัวข้อ: Re: หัวข้อสัมภาษณ์งาน เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ให้ได้งาน เริ่มหัวข้อโดย: chai.98555 ที่ เมษายน 12, 2014, 05:07:30 PM :cry1: :cry1: :huh1:
:thank1_: :thank1_::thank1_: หัวข้อ: Re: หัวข้อสัมภาษณ์งาน เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ให้ได้งาน เริ่มหัวข้อโดย: Virtusone ที่ เมษายน 21, 2014, 03:54:42 PM ใช้ได้ดีเลยอ่ะค่ะ
หัวข้อ: Re: หัวข้อสัมภาษณ์งาน เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ให้ได้งาน เริ่มหัวข้อโดย: BB ที่ พฤษภาคม 26, 2015, 11:32:27 AM วิธีการนี้ยังใช้ได้อยู่ครับ ขอบคุณมากครับ
:cool1: หัวข้อ: Re: หัวข้อสัมภาษณ์งาน เตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ให้ได้งาน เริ่มหัวข้อโดย: Ketrool ที่ พฤศจิกายน 11, 2019, 10:40:56 AM ขอบคุณมากครับ
|