หัวข้อ: นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบดาวเคราะห์ลักษณะคล้ายโลก เริ่มหัวข้อโดย: น่ารักสุดๆ ที่ พฤษภาคม 20, 2011, 08:29:30 AM นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบดาวเคราะห์ลักษณะคล้ายโลก
นักวิทยาศาสตร์สำรวจพบดาวเคราะห์กลีส 581d ซึ่งโคจรอยู่รอบดาวกลีส 581 อยู่ห่างจากโลก 20 ปีแสง มีลักษณะที่มีความชื้น และความอบอุ่นคล้ายกับโลกของเรา นับตั้งแต่นักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มต้นการสำรวจ ดาวเคราะห์ เมื่อ พ.ศ.2538 นั้นพบว่ามีดาวเคราะห์บริวารอีกกว่า 500 ดวงที่โคจรอยู่รอบดาวดวงอื่น โดยดาวเคราะห์เหล่านี้ถูกตั้งชื่อตามดาวที่มันโคจรอยู่รอบ และต่อท้ายด้วยชื่อดาวด้วยอักษรภาษาอังกฤษเรียงตามลำดับการค้นพบ และในขณะนี้ดาวดวงที่นักวิทยาศาสตร์กำลังให้ความสนใจมากที่สุดก็คือ ดาวเคราะห์กลีส581 และเหล่าดาวบริวาร โดยเฉพาะดาวกลีส581g และกลีส581d ซึ่ง กลีส581g ถูกตั้งชื่อใหม่ในภายหลังว่า ดาวโลกของซามิน่า(Zamina's world) ตามชื่อภรรยาของผู้ที่เฝ้าสังเกตดาวดวงนี้ อย่างไรก็ตาม การค้นพบ กลีส581g ได้มีข้อโต้แย้งจากผู้เชี่ยวชาญท่านอื่น ๆ ว่าแท้จริงแล้วดาวกลีส581g อาจไม่มีอยู่จริง แต่น่าจะเป็นเพียงจุดสะดุดจุดหนึ่งในอวกาศเท่านั้น ส่วนดาวกลีส581d เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่ค้นพบมีลักษณะใกล้เคียงโลกมาก โดย กลีส581d ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในปี 2550 มีมวลมากกว่าโลกราว 5 เท่า และมีขนาดใหญ่กว่าโลก 2 เท่า โดย กลีส581d อยู่วงโคจรรอบนอกของเขตอาศัยได้ หรือฮาบิเทเบิลโซน (Habitable Zone) ซึ่งเป็นย่านอวกาศที่มีสภาพอุณหภูมิไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป พอเหมาะให้น้ำสามารถดำรงอยู่ได้ในสภาวะของเหลว ขณะที่ตามรายงานการศึกษาล่าสุด จากวารสารฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ของประเทศอังกฤษ ระบุว่า กลีส581d ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์เพียงหนึ่งในสามของที่โลกได้รับ มีลักษณะน้ำขึ้นน้ำลงคงที่ หรือการที่แต่ละด้านของมัน หันเข้าสู่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อย่างถาวร ทำให้เกิดสภาพกลางวันกลางคืนบนทั้งสองฝั่งอย่างถาวรเช่นกัน ส่วนทีมศึกษาสภาพอากาศของ สถาบันวิจัยด้านวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประเทศฝรั่งเศส หรือCNRS (France's National Centre for Scientific Research) ซึ่งนำโดย โรบิน เวิร์ดส์เวิร์ธ และ ฟรองซัว ฟอกิท แสดงให้เห็นว่า อุณภูมิบนดาว กลีส581d คงที่ และพอเหมาะที่จะเกิดมหาสมุทร เมฆ หรือแม้แต่ฝน และดาวเคราะห์นี้ยังมีความสามารถในการกักเก็บความร้อนได้ดี เป็นผลมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกที่มีอยู่อย่างหนาแน่น และฝุ่นสีแดงที่จากที่เรืองออกมาก็แทรกซึมกลมกลืนได้ดีกับสภาพบรรยากาศและช่วยรักษาความร้อนให้กับพื้นผิวภายนอกของดวงดาวด้วย จากทุกคุณสมบัติที่กล่าวมา จึงกล่าวได้ว่าเป็นสภาพของ กลีส581d เป็นสภาวะที่เหมาะสมที่เหมาะสมที่จะพบน้ำในสภาวะของเหลว ซึ่งอาจเป็นบ่อกำเนิดสิ่งมีชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับการไปสำรวจดาวเพื่อนใหม่ของโลกดวงนี้ยังเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก นอกจากฝุ่นแดงมืดทึบที่ปกคลุมดวงดาวอยู่ทำให้ดาวดวงนี้มีสภาพอึมครึม มวลที่มากกว่าโลกหลายเท่ายังทำให้ กลีส581d มีแรงดึงดูดมากตามไปด้วย อีกทั้ง กลีส581d อยู่ไกลจากโลกถึง 20 ปีแสง ถึงเดินทางเร็วเท่าแสงก็ยังต้องใช้เวลาถึง 20 ปี และแม้จะเป็นเทคโนโลยีการเดินทางกลางอวกาศล่าสุดของโลกในตอนนี้ ยังต้องใช้เวลายาวนานถึง 300,000 ปี กว่ากระสวยอวกาศจะเดินทางไปถึงได้ |