Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
พิมพ์หน้านี้ - ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรฟื้นตัว ขานรับเบอร์นันเก้เชื่อมั่นวิกฤตหนี้ยุโรปกระทบสหรัฐไม่

TARADTHONG.COM

สมาชิก VIP => General Discussion => ข้อความที่เริ่มโดย: loveyou ที่ มิถุนายน 10, 2010, 11:43:47 AM



หัวข้อ: ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรฟื้นตัว ขานรับเบอร์นันเก้เชื่อมั่นวิกฤตหนี้ยุโรปกระทบสหรัฐไม่
เริ่มหัวข้อโดย: loveyou ที่ มิถุนายน 10, 2010, 11:43:47 AM
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ยูโรฟื้นตัว ขานรับเบอร์นันเก้เชื่อมั่นวิกฤตหนี้ยุโรปกระทบสหรัฐไม่มาก

 

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน 2553 07:50:17 น.
ค่าเงินยูโรฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (9 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเริ่มเชื่อมั่นในเสถียรภาพของค่าเงินยูโร หลังจากเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แสดงความเชื่อมั่นว่าวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐมากนัก อย่างไรก็ตาม ยูโรดีดตัวขึ้นในกรอบที่จำกัดเพราะถูกกระทบจากข่าวผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมนีเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) บังคับใช้กฎห้ามทำชอร์ตเซลหุ้นที่ยังไม่มีการกู้ยืมมาก่อน (naked short-selling) ในยุโรป


ค่าเงินยูโรดีดขึ้น 0.08% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่ 1.1982 ดอลลาร์ จากระดับของวันอังคารที่ 1.1972 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์ดีดตัวขึ้น 0.37% แตะที่ 1.4523 ดอลลาร์ จากระดับ 1.4470 ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลง 0.47% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 91.080 เยน จากระดับของวันอังคารที่ 91.510 เยน และดิ่งลง 0.30% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.1481 ฟรังค์ จากระดับ 1.1516 ฟรังค์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนลง 0.01% แตะที่ 0.8271 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.8272 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ร่วงลง 0.10% แตะที่ 0.6660 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.6667 ดอลลาร์สหรัฐ

นักวิเคราะห์จากแคปิตอล อิโคโนมิกส์ กล่าวว่า ค่าเงินยูโรฟื้นตัวขึ้นเพราะได้แรงหนุนจากการที่เบอร์นันเก้ได้แสดงความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมาธิการด้านงบประมาณแห่งสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเมื่อคืนนี้ว่า วิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐแค่ในระดับปานกลางเท่านั้น ตราบใดที่วอลล์สตรีทยังคงมีเสถียรภาพ พร้อมกับแสดงความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงอยู่ในระยะฟื้นตัว แม้ต้องเผชิญกับปัจจัยลบต่างๆ ที่รวมถึงปัญหาการเงินในยุโรป อัตราว่างงานที่อยู่ในระดับสูง และตลาดอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศที่ยังอยู่ในภาวะเปราะบาง

นอกจากนนี้ เบอร์นันเก้ยังกล่าวชื่นชมผู้นำยุโรปที่ร่วมมือกันรับมือกับวิกฤตการณ์การเงินและพยายามกอบกู้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตลาดการเงิน

อย่างไรก็ตาม ค่าเงินยูโรได้รับแรงกดดันในระหว่างวัน อันเนื่องมาจากข่าวที่ว่านายนิโคลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และนางอังเกล่า แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี เรียกร้องให้ชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) พิจารณาการใช้กฎห้ามทำ naked short-selling สำหรับหลักทรัพย์บางประเภทหรือทุกประเทศ และตราสาร  CDS (credit default swaps) พร้อมกับยื่นหนังสือต่อนายโฮเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) เพื่อเรียกร้องให้อีซีเร่งควบคุมตลาดการเงิน รวมถึงออกคำสั่งห้ามทำชอร์ตเซล โดยเสนอให้มีการใช้มาตรการดังกล่าวในเดือนก.ค.นี้

ทั้งนี้ การทำ naked short selling เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินทั่วโลกเมื่อครั้งที่เกิดวิกฤตการณ์การเงินในปี 2551 ซึ่งในครั้งนั้นรัฐบาลสหรัฐ อังกฤษ และออสเตรเลีย ได้ประกาศห้ามทำ naked short selling ก่อนที่จะมีการยกเลิกคำสั่งในช่วงหลายเดือนต่อมา

สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ เปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า อังกฤษขาดดุลการค้า 7.28 พันล้านปอนด์ (1.08 หมื่นล้านดอลลาร์) ในเดือนเม.ย. ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 7.26 พันล้านปอนด์ในเดือนมี.ค. โดยมูลค่าการส่งออกและนำเข้าในเดือนเม.ย.ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เถ้าภูเขาไฟในไอซ์แลนด์ที่ทำให้การจราจรทางอากาศต้องหยุดชะงักนานหลายวัน ซึ่งทำให้การส่งออกลดลง 0.6% และการนำเข้าลดลง 0.4%

นักลงทุนจับตาดูการประชุมธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งจะมีขึ้นในช่วงเย็นวันพฤหัสบดีที่ 10 มิ.ย. โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางยุโรปจะคงอัตราดอกเบี้ย และยังคงแผนการเข้าซื้อพันธบัตรเพื่อคลี่คลายวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช