Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
พิมพ์หน้านี้ - ศิลปะการบอกปฏิเสธ

TARADTHONG.COM

สมาชิก VIP => General Discussion => ข้อความที่เริ่มโดย: webmaster ที่ มีนาคม 09, 2011, 01:35:39 PM



หัวข้อ: ศิลปะการบอกปฏิเสธ
เริ่มหัวข้อโดย: webmaster ที่ มีนาคม 09, 2011, 01:35:39 PM
ศิลปะการบอกปฏิเสธ


สภาพแวดล้อมในการทำงานที่เลวร้ายที่สุด คือ การมีประเด็นปัญหาที่ไม่ได้แก้ไข เพราะไม่มีใครที่กล้าพอที่จะพูดออกมาตรง ๆ การบอกปฏิเสธจึงถือเป็นการสร้างสรรค์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง แต่ต้องทำอย่างมีศิลปะ...ต่อไปนี้คือแนวทางบางประการของการบอกปฏิเสธอย่างมีศิลปะ

            บอกทันที ถ้าคุณกำลังจะบอกปฏิเสธ บอกมันออกมาทันที ยิ่งใครบางคนคิดว่าเธอจะได้คำตอบรับนานเท่าไหร่ คำปฏิเสธก็จะยิ่งเลวร้ายมากขึ้นเท่านั้น
       
            ปฏิเสธไอเดีย ไม่ใช่บุคคล นี่อาจเป็นเรื่องง่าย ๆ เพียงแค่การใช้คำอื่นแทนคำว่า "คุณ" เช่น  "ฉันไม่คิดว่าวิธีการนี้จะดีเท่ากับอีกวิธีหนึ่ง" แทนจะพูดว่า "ฉันไม่คิดว่าไอเดียของคุณจะได้ผลนะ"
       
            เรียนรู้วิธีการพูด ทุกองค์กรมีวัฒนธรรมของตัวเอง และการพูดคำว่า "ไม่" ก็ย่อมต่างกัน ในบริษัทใหม่ ๆ สิ่งสำคัญ คือ ความรวดเร็ว ฉะนั้น อะไรก็ตามที่เร็วที่สุด รวมทั้งความตรงไปตรงมาที่อาจหยาบคายในที่อื่น จะถือว่าดีที่สุด คุณสามารถบอกว่า "ไม่ ฉันไม่ชอบไอเดียนี้" และจะไม่มีใครตีโพยตีพายเกินกว่าเหตุ

           แต่ในองค์กรการกุศล ซึ่งงานส่วนใหญ่ทำโดยอาสาสมัครที่ต้องรู้สึกประทับใจจึงจะทำงานต่อไปได้เรื่อย ๆ คำปฏิเสธควรจะบอกอย่างอ้อม ๆ "ฉันเข้าใจแล้วว่าทำไมคุณชอบไอเดียนี้ แต่นี่คือวิธีการที่ฉันอยากจะทำ" ซึ่งก็หมายความว่า "ฉันเกลียดไอเดียนี้ แต่ไม่อยากให้คุณหงุดหงิด" ยิ่งคุณพูดได้ใกล้เคียงกับวัฒนธรรมของแต่ละองค์กรมากเท่าไหร่ มันก็ยิ่งง่ายขึ้นมากเท่านั้นที่คนอื่นจะฟังคุณ
       
            เรียนรู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะหยุด บางครั้งเมื่อเราบอกว่าไม่ เรามักจะตามด้วยคำอธิบายที่มากมายจนเกินไป ด้วยความหวังว่าจะช่วยให้คนอื่นไม่หงุดหงิด แต่ความจริงก็คือคนเราไม่อยากได้ยินคำว่าไม่ ไม่ว่าคุณจะอธิบายยังไงก็ตาม ก็ไม่อาจทำให้มันจบลงไปได้ บ่อยครั้งสิ่งที่ดีที่สุดทีคุณทำได้ก็คือการบอกว่า "เสียใจนะคะ แต่ฉันคิดว่าไอเดียนี้คงไม่ได้ผลหรอก" แล้วก็ก้าวต่อไปยังเรื่องอื่นราวกับมันไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร ซึ่งโอกาสที่เป็นไปได้ก็คือ มันจะไม่กลายเป็นเช่นนั้น