หัวข้อ: น้องหมาตาบอดสี จริงรึเปล่าน๊า เริ่มหัวข้อโดย: น่ารักสุดๆ ที่ มกราคม 24, 2011, 07:12:52 PM น้องหมาตาบอดสี จริงรึเปล่าน๊า
หลายท่านที่เลี้ยงสุนัขคงเคยมีคำถามว่า เจ้าตูบของเรามองเห็นสีสันต่าง ๆ เหมือนกับเรามั้ย วันนี้ได้รู้กันแน่นอน... หลายท่านอาจจะเคยได้ยินมาว่าเจ้าตูบนั้นตาบอดสี แต่จริง ๆ แล้วไม่เป็นความจริง น้องหมาไม่ได้ตาบอดสี น้องหมามองเห็นมากกว่าสีดำ สีขาว สีเทาแน่ ๆ แต่เพียงแค่ระดับความถี่ของสีในการมองเห็นนั้นอยู่ในระดับจำกัด เมื่อเทียบกับการมองเห็นของคนเรา สีพื้นฐานที่น้องหมาจะมองเห็นนั้นส่วนมากจะเป็นสีที่ประกอบด้วยสีเหลือง น้ำเงิน และสีม่วง ส่วนสีแดง สีเขียวและสีส้ม ที่คนเรามองเห็นนั้น น้องหมาจะไม่สามารถแยกแยะออกได้ แต่น้องหมาจะเห็นเป็นสีอะไรสักสีระหว่างสีเหลืองกับสีน้ำเงิน เหตุผลก็คือ เรตินาทั้งของคนและของน้องหมานั้น ประกอบด้วย เซลล์รับแสง 2 ชนิด คือเซลล์รูปแท่ง (ซึ่งไวต่อการรับแสงสว่าง แต่ไม่สามารถแยกความแตกต่างของสีได้) กับเซลล์รูปกรวย (สามารถแยกความแตกต่างของสีได้) นัยย์ตาของมนุษย์จะมีเซลล์รูปกรวยมากกว่าของน้องหมาในขณะที่น้องหมานั้น จะมีเซลล์รูปแท่งมากกว่าและไม่มีโฟเวีย (Fovea เป็นจุดเล็ก ๆ บนเรตินา ซึ่งเป็นจุดที่มองเห็นชัดที่สุด) เลยไม่สามารถจะทำให้มองเห็นรายละเอียดของภาพอย่างคมชัดเหมือนมนุษย์ นี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมน้องหมาจึงมีการมองเห็นในตอนกลางคืนและสัมผัสการเคลื่อนไหวได้ดีกว่ามนุษย์ แต่เห็นสีได้น้อย รูปลักษณ์และวัตถุที่เห็นจะมีรายละเอียดน้อยกว่า คนส่วนใหญ่จะสามารถมองเห็นสีที่แตกต่างกันของคลื่นแสง โดยคลื่นแสงถูกแยกจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic spectrum) ซึ่งการมองเห็นเป็นสัตว์ต่าง ๆ เป็นผลมาจากระบบสายตาของคนเรา ไม่ใช่เพราะระดับความเข้มของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ส่วนสุนัขมีข้อด้อยกว่ามนุษย์ตรงที่ไม่สามารถเห็นความสว่างของแสงสีหมดทุกสี แต่ทั้งมนุษย์และสุนัขต่างก็มีวิวัฒนาการในระบบการมองเห็นที่พัฒนามาให้เหมาะสมกับตัวเองที่สุด มนุษย์จะออกหากินในเวลากลางวัน ดังนั้น ความสามารถลากรรับรู้ในการมองเห็นสีจะเป็นเครื่องมือช่วยในการหาอาหารของมนุษย์ ส่วนสุนัขนั้นแต่เดิมจะไม่ออกหากินในเวลากลางวัน ดังนั้น ความสามารถในการมองเห็นในเวลากลางคืนจึงสำคัญกว่าการมองเห็นสีสำหรับสุนัข โดยในกระบวนการล่าเหยื่อต้องมีการพรางให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นสุนัขจึงไม่ต้องใช้ความสามารถในการเห็นสีที่หลากหลายเหมือนมนุษย์ จอรับภาพ (Retina) ประกอบด้วย เซลล์รับแสงรูปร่างเป็นแท่ง และโคน (กรวย) (rods and cones) ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนลำแสงให้เป็นภาพที่มองเห็นหัวกลับตามนุษย์และสุนัขก็จะมีเซลล์ทั้ง 2 นี้ แต่ในตาสุนัขจะมีเซลล์รูปร่างเป็นแท่งมากกว่าของมนุษย์ โดยเซลล์รูปแท่งจะทำงานได้ดีในสภาวะแสงน้อยและมีการเคลื่อนไหวจอรับภาพส่วนกลางของสุนัข (Central Retina) จะประกอบด้วยเซลล์รูปโคนประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่มนุษย์มีส่วนที่มีเซลล์รูปโคนถึง 100 เปอร์เซ็นต์ที่เรียกว่า fovea (บริเวณที่มองชัดที่สุดของมนุษย์) ซึ่งเซลล์รูปโคนจะมีประสิทธิภาพในปริมาณแสงขนาดกลางถึงขนาดสูงและมีความสามารถในการแยกสี มนุษย์มีเซลล์รูปโคนที่แปลผลสัญญาณสีได้ 3 ชนิด (trichromat) คือ เซลล์รับแสงสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน ขณะที่ในสุนัขจะมีเซลล์รูปโคนที่แปลผลสัญญาณสีเพียง 2 ชนิด (dichromat) ซึ่งขาดเซลล์รับแสงสีเขียวประมาณเดียวกับอาการตาบอดสี ซึ่งไม่สามารถแยกสีส้ม แดง เหลือง เขียวออกจากกันได้โดย เซลล์รับแสงมนุษย์จะไวต่อการความยาวคลื่นแสงในจุดที่ 445 nm, 535 nm, และ 570 nm ส่วนในสุนัขเซลล์รับแสงจะไวต่อการความยาวคลื่นแสงในจุดที่ 429 nm, 555 nm แม้ว่าเราจะรู้ว่าสุนัขมีเซลล์รูปโคนเพียง 2 ชนิด แต่เรายังสรุปไม่ได้ว่าสมองของสุนัขจะแปลความหมายสิ่งที่มองเห็นว่าเป็นอย่างไร ต้องมีการศึกษาเรื่องนี้โดยนักพฤติกรรมสุนัข มีงานวิจัยที่น่าสนใจทำการศึกษาโดย Neitz, Geist and Jacobs ใช้วิธีการนำแผนสี่เหลี่ยมที่มี 3 สี วางไว้หน้าสุนัข ฝึกให้สุนัขหยิบสีที่แตกต่าง เพื่อผู้วิจัยจะได้เดาได้ว่าสีอะไรที่สุนัขมองเห็น คำถามก็คือสุนัขหยิบแผ่นสีจากความแตกต่างของสี ไม่ใช่ความแตกต่างของแสง จากการศึกษานี้ได้กล่าวว่า.. สุนัขมองเห็นได้คล้ายคนตาบอดสี ซึ่งไม่สามารถแยกสีแดงและสีเขียวออกจากกันได้ นอกจากนั้นโลกของสุนัขจะประกอบด้วยสี เหลือง น้ำเงิน และเทา โดยเมื่อคนเราเห็นสีแดงสุนัขจะเห็นเป็นสีเหลือง เราเห็นสีเขียวสุนัขจะเห็นสีขาวออกเทา ๆ บริเวณสีขาวซึ่งเรียกว่า จุดไม่มีสี เกิดขึ้นที่บริเวณ 480 nm ของแถบสีที่มองเห็น (visual spectrum) ตามปกติที่จุด 480 nm ปรากฏอยู่ในช่วงน้ำเงินแกมเขียวทุกความยาวคลื่นแสงที่ยาวกว่าจุดไม่มีสีสุนัขจะไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ และจะมองเห็นเป็นสีเหลือง ความสามารถของสุนัขในการมองรายละเอียดในด้านความชัดเจนต่ำกว่าคนเราประมาณ 6 เท่า ความชัดเจนวัดโดยจำนวนเส้นที่มองเห็นอย่างชัดเจน คนเราสามารถมองเห็น 30 เส้น ขณะที่สุนัขมองเห็นประมาณ 12 เส้น ความชัดเจนในการมองเห็นขึ้นอยู่กับขนาดของลูกตาดำ (pupil) ขนาดของกระจกตา (Cornea) และลักษณะการจัดเรียงของเซลล์รับแสงแบบแห่งและโคนบนจอรับภาพ (Retina) ลูกตาดำควบคุมโดยกล้ามเนื้อม่านตา (iris) ซึ่งสามารถขยายและหดตัวเพื่ออนุญาตให้ปริมาณแสงที่แตกต่างกันผ่านไป สำหรับสุนัขซึ่งไวต่อระดับแสงน้อย ๆ จะมีลูกตาดำที่กว้าง ยิ่งลูกตาดำยิ่งกว้างยิ่งมีความไวต่อแสงน้อย ๆ ยิ่งขึ้น พวกสายตาของสิ่งมีชีวิตที่ไวต่อแสงน้อยๆ จะมีเลนส์ตาที่หนาและกว้างเพื่อจะได้รวบรวมแสงอันน้อยนิดได้ดี อีกทั้งมีกระจกตาที่กว้างเพื่อรองรับการหักเหของแสง ส่วนลักษณะการจัดเรียงของเซลล์รับแสงแบบแท่งและโคนบนจอรับภาพมีผลต่อการมองเห็นชัดด้วยจำนวนและตำแหน่งของเซลล์รับแสงแบบแท่งและโคนและการมี fovea (บริเวณที่มีแต่เซลล์รูปโคน 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้มองเห็นชัดที่สุด ซึ่งมีแต่ในมนุษย์สุนัขจะไม่มี) ทำให้การมองเห็นของสุนัขไม่คมชัดเท่าการมองเห็นของมนุษย์ มนุษย์จะมองเห็นภาพต่าง ๆ มีความชัดเจนและมีหลายสีกว่าสุนัข แต่ไม่ได้หมายความว่าสุนัขจะเสียเปรียบมนุษย์ เพราะสุนัขไม่ต้องการความสามารถด้านนี้เพื่อการดำรงชีวิต สุนัขต้องการการมองเห็นในที่มืดและมองเห็นภาพการเคลื่อนไหวที่แม่นยำเพื่อช่วยในการดำรงชีวิตหาเหยื่อในยามค่ำคืน แต่มนุษย์มองเห็นหลากหลายสีและมองเห็นภาพคมชัดเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในเวลากลางวัน |