หัวข้อ: สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กยังคงปิดในแดนบวก เหตุนักลงทุนหวั่นวิกฤตหนี้ลามทั่วยุโรป เริ่มหัวข้อโดย: chart ที่ มิถุนายน 09, 2010, 09:20:24 AM 09 มิถุนายน 2553 เวลา 08:48 น.หุ้น-ทอง » ทองต่อเงิน » ภาวะราคาทองคำ
ทองคำปิดบวก 4.80 ดอลล์ 09 มิถุนายน 2553 เวลา 08:21 น. สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กยังคงปิดในแดนบวก เหตุนักลงทุนหวั่นวิกฤตหนี้ลามทั่วยุโรป สัญญาทองคำ COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 4.80 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,245.60 ดอลลาร์/ออนซ์ เคลื่อนตัวในช่วง 1,235.40 - 1,254.50 ดอลลาร์ ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 31.50 เซนต์ ปิดที่ 18.477 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาโลหะทองแดงดีดตัวขึ้น 1.35 เซนต์ ปิดที่ 2.7795 ดอลลาร์/ปอนด์ ส่วนสัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ปิดที่ 1,528.80 ดอลลาร์/ออนซ์ พุ่งขึ้น 11.50 ดอลลาร์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย.ปิดที่ 442.15 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 11.80 ดอลลาร์ นักลงทุนยังคงเข้าซื้อทองคำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง เนื่องจากวิกฤตการณ์การเงินมีแนวโน้มว่าจะลุกลามไปทั่วยุโรป โดยเฉพาะเมื่อมูดีส์กล่าวว่า คำเตือนจากเจ้าหน้าที่ฮังการีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเกี่ยวกับแนวโน้มการผิดนัดชำระหนี้ ทำให้มูดีส์ไม่มั่นใจในแนวโน้มด้านการคลังของฮังการี และอาจส่งผลกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือของฮังการี ขณะที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (S&P) เตรียมทบทวนรายงานด้านการเงินสาธารณะของรัฐบาลฮังการี ก่อนที่จะตัดสินใจเรื่องการปรับอันดับเครดิตของฮังการีต่อไป โดยปัจจุบัน S&P ให้อันดับเครดิตฮังการีที่ BBB- นอกจากนี้ ฟิทช์ เรทติ้งส์ เตือนว่า อังกฤษกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านการคลังซึ่งยากที่จะจัดการ และชี้ถึงความจำเป็นที่รัฐบาลผสมชุดใหม่ของอังกฤษจะต้องเร่งเดินหน้าแผนการลดยอดขาดดุลงบประมาณให้เร็วขึ้นกว่าที่รัฐบาลชุดก่อนได้ประกาศไว้เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา โดยรัฐบาลอังกฤษภายใต้การนำของพรรคแรงงานของอดีตนายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ ได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะลดยอดขาดดุลให้ลงมาเหลือ 8.5% ของจีดีพีในปีงบประมาณ 2554/2555 และลงมาเหลือ 5.2% ในปี 2556/2557 นายพอล วอล์คเกอร์ อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานคณะที่ปรึกษาด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประธานาธิบดีบารัค โอบามา คาดการณ์ว่า ราคาทองคำมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในช่วง 1,050 - 1,300 ดอลลาร์/ออนซ์ และมีความเป็นไปได้ที่จะพุ่งขึ้นแตะระดับ 2,000 ดอลลาร์/ออนซ์ หากวิกฤตหนี้สาธารณะ (sovereign debt) ในยุโรปลุกลามไปยังภูมิภาคอื่นๆ Posttoday.com |