หัวข้อ: อาร์คันซอเจอเรื่องแปลกซ้ำ พบปลาตายนับแสนตามหลังนกร่วงจากฟ้า เริ่มหัวข้อโดย: น่ารักสุดๆ ที่ มกราคม 04, 2011, 07:42:19 AM อาร์คันซอเจอเรื่องแปลกซ้ำ พบปลาตายนับแสนตามหลังนกร่วงจากฟ้า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ เอเจนซี - เจ้าหน้าที่สัตว์ป่าอาร์คันซอ สหรัฐฯ งานเข้า พยายามเร่งมือสืบสวนหาสาเหตุพบปลาตายกว่า 100,000 ตัวในแม่น้ำสายหนึ่ง รัศมี 20 ไมล์ระหว่างเขื่อนโอซาร์คกับสะพานทางหลวงแห่งหนึ่ง ในแฟรงคลิน เคาน์ตี ณ ช่วงเวลาใกล้เคียงกับเกิดเหตุนกสีดำกว่า 1,000 ตัวจู่ๆก็ร่วงมาจากท้องฟ้าเหนือเมืองแห่งหนึ่งในมลรัฐเดียวกันนี้ คีธ สเตีเฟนส์ เจ้าหน้าที่ของ คณะกรรมาธิการสัตว์ป่าอาร์คันซอชี้แจงว่า "เราได้รับแจ้งจากเจ้าของเรือโยงเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าพบปลาตายลอยอยู่ตามฝั่งและทางน้ำไหลของแม่น้ำอาร์คันซอ เจ้าจึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปตรวจสอบในทันที" ทีมสืบสวนจากหน่วยงานท้องถิ่นและมลรัฐ เข้าเก็บตัวอย่างในพื้นที่ โดย สตีเฟนส์ บอกว่าการพบปลาตายบริเวณดังกล่าวเป็นเรื่องซึ่งเกิดขึ้นในทุกปี แต่ทว่าปีนี้นับว่ามีจำนวนมากผิดปกติและคาดว่าสาเหตุน่าจะมาจากโรคระบาดสืบเนื่องจากภาวะมลพิษ สตีเฟ่นส์ กล่าวว่าปัญหามลพิษอาจส่งผลกระทบต่อปลาเหล่านั้น และ "90 เปอร์เซ็นต์ของปลาตายเป็นพวกกินอาหารตามพื้นก้นแหล่งน้ำ ดังนั้นสาเหตุจึงไม่น่าจะใช่การตกปลาในอาร์คันซอ" พร้อมระบุว่าเจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างปลาที่ยังมีชีวิตและป่วยหนักไปด้วย เพื่อนำไปตรวจสอบ ณ ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยอาร์คันซอ เจ้าหน้าที่คาดหมายว่าจะสามารถระบุถึงจำนวนปลาตายได้อย่างแน่ชัดในวันจันทร์(3) ขณะเดียวกันพวกเขาบอกว่าจะพยายามเปิดเผยผลการตรวจสอบสาเหตุการตายของมันให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากเหตุปลาตายแล้ว ทางคณะกรรมาธิการสัตว์ป่าอาร์คันซอ ยังอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบหาสาเหตุนกแบล็กเบิร์ดกว่า 1,000 ตัวจู่ๆก็ร่วงมาจากท้องฟ้าเหนือเมืองแห่งหนึ่งในวันที่ 31 ธันวาคม โดยสาเหตุที่อาจเป็นไปได้สาเหตุหนึ่งซึ่งถูกหยิบยกขึ้นมาสันนิษฐานกันคือ อาจตายเพราะพลุไฟที่คนจุดฉลองปีใหม่ ทั้งนี้ล่าสุดสำนักข่าวเอเอฟพีอ้างรายงานของสำนักข่าวเคเออาร์เค ระบุว่าเหตุปลาตายนับแสนตัวในแม่น้ำอาร์คันซอ ถูกพบก่อนหน้ากรณีนกตายอย่างลึกลับเพียง 1 วันและอยู่ห่างจากเมืองบีเบ จุดที่นกแบล็กเบิร์ดนอนตายกลาดเกลื่อนเพียง 100 ไมล์เท่านั้น ขณะที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าพวกมันน่าจะตายเพราะเชื้อโรค เหตุมีเพียงปลาสายพันธุ์เดียวคือปลาดรัมฟิช(drum fish)เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ |