หัวข้อ: กระดานชนวนสมัยโบราณเป็นอย่างไร เริ่มหัวข้อโดย: น่ารักสุดๆ ที่ ธันวาคม 29, 2010, 07:29:37 AM กระดานชนวนสมัยโบราณเป็นอย่างไร
......เมื่อพูดถึงกระดานชนวน ส่วนมากจะนึกถึง แผ่นหินชนวนสีดำ เพราะยังมีให้เห็นอยู่ ส่วนกระดานชนวน ทำด้วยไม้หายไป พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ได้อธิบายไว้ว่า กระดานที่ใช้เขียน มีสองอย่าง สำหรับ นักเรียนชั้นแรกหัดเขียน ก ข เรียกว่า กระดานดำ ทำด้วยไม้กระดานกว้างประมาณ ๑ คืบ ยาวประมาณ ๒-๓ ศอก หนาราว ๒ กระเบียด ด้านที่ใช้เขียนหนังสือ ไสกบ จนเกลี้ยงเรียบ ทาด้วยเขม่าหม้อ กับน้ำข้าว ผึ่งแดดให้แห้ง เมื่อจะลบตัวหนังสือ ที่เขียนด้วยดินสอขาว ใช้น้ำลบทำให้ กระดานเปียกฉะนั้นจึงต้องหยุด ตากกระดาน ให้แห้งเสียก่อน แล้วจึงเรียนต่อไป เด็กที่ขี้เกียจเรียน จะแกล้งเอาน้ำลบมากๆ กระดานจะได้แห้งช้า มีที่สังเกตว่า กระดานของเด็กที่ขี้เกียจ สีดำจะจางเร็ว จนเห็นเนื้อกระดาน เรียกว่า กระดานแดง ......กระดานชนวนอีกชนิดหนึ่ง สำหรับนักเรียนชั้น ๓ ทำด้วย ไม้ทองหลาง หรือไม้งิ้ว ทำให้เป็นแผ่นกระดานกว้างศอก ยาวศอกคืบ ที่ต้องใช้ไม้ดังกล่าว ก็เพื่อจะให้ ทารัก ติดแน่นดี (ขี้รัก ผสม ขี้เถ้าใบตองแห้ง เรียกว่า สมุก ทาให้เป็นสีดำ) ต่อจากนั้น ใช้ผงกระเบื้องถ้วยที่ป่นละเอียด คลุกกับน้ำรัก ทาฉาบอีกครั้งหนึ่ง ให้เรียบเสมอกัน แล้วขัดเงาด้วยหิน หรือเมล็ดสะบ้า เมื่อเรียบร้อยดีแล้ว ก็ทำกรอบ ......ดินสอที่ใช้เขียนกับกระดานชนวน ใช้ดินสอพอง คือเอาดินสอพองแช่น้ำให้เปียก หรือโขลกให้แหลกพรมน้ำพอให้ปั้นได้ ทำเป็นแท่ง ขนาดหัวแม่มือ ยาวไม่เกินคืบ ด้วยเหตุที่ ดินสอพองถูกน้ำแล้วเหนียว จึงต้องคั้นน้ำใบตำลึง พรมที่กระดาน สำหรับปั้นดินสอเสียก่อน ไม่เช่นนั้น ดินสอพองก็จะเหนียวติดมือ ปั้นยาก เสร็จแล้วตากให้แห้ง ก็ใช้เขียนได้ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : 108ซองคำถาม |