หัวข้อ: ลอยโคม ความเชื่อของคนล้านนา เริ่มหัวข้อโดย: loveyou ที่ พฤศจิกายน 11, 2010, 02:22:42 PM ลอยโคม ความเชื่อของคนล้านนา
วัฒนธรรมความเชื่อของคนไทยในแต่ละภาค มีความแตกต่างกัน ตามลักษณะชีวิตความเป็นอยู่ค่ะ ดังเช่นประเพณีลอยโคมของชาวล้านนา ซึ่งในดินแดนสิบสองปันนาตอนเหนือของประเทศไทย ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ผสมผสานกับการนับถือผีบรรพบุรุษ ลัทธิถือผีฟ้า ผีดิน ที่เรียกว่า ปู่แกน ย่าแกน มีการประดิษฐโคม และพิธีลอยโคม เพื่อเป็นการบูชาตามลัทธิประเพณีนี้มีการสืบทอดกันมา เมื่อมีการอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน ลอยโคม ความเชื่อของคนล้านนา ที่มีความเชื่อว่าเมื่อปล่อยโคมขึ้นฟ้า เป็นการปล่อยความทุกข์โศกและเรื่องราวร้ายๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ให้พ้นออกไปจากตัว และถือว่าเป็นการบูชาบรรพบุรุษแสดงความกตัญญู กตเวที เดิมประเพณีนี้ เจ้าผู้ครองนครจะจัดขึ้นเพื่อสังเวยเทพยดาอารักษ์ บูชากุมภัณฑ์ และมีพิธีเข้าทรงผีเจ้านาย เพื่อสอบถามว่า ฝนฟ้าจะอุดมสมบูรณ์ และชะตาบ้านเมืองจะดีหรือไม่ หากชะตาของบ้านเมืองไม่ดี ก็จะจัดพิธีสืบชะตาเมืองเพิ่มขึ้นด้วย และปัจจุบันได้เพิ่มการทำพิธีทางพุทธศาสนาเข้ามาอีกอย่างหนึ่ง โดยการแห่พระพุทธรูปคันธารราษฎร์ (พระเจ้าฝนแสนห่า) รอบเมือง และจะนำมาประดิษฐาน ณ วัดเจดีย์หลวง เพื่อให้ชาวเมืองสรงน้ำ จากนั้นพระสงฆ์ 9 รูป จะเจริญพระพุทธมนต์บูชาเสา อินทขีล ซึ่งฝังอยู่ใต้ดิน การประกอบพิธีนี้ เพื่อมุ่งเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของชาวเมืองก่อนที่จะเริ่มต้นฤดูกาลเพาะ ปลูก ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก วิกิพีเดีย |