Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
พิมพ์หน้านี้ - เปิดตำนาน เอเชียนเกมส์

TARADTHONG.COM

สมาชิก VIP => General Discussion => ข้อความที่เริ่มโดย: loveyou ที่ พฤศจิกายน 11, 2010, 02:16:52 PM



หัวข้อ: เปิดตำนาน เอเชียนเกมส์
เริ่มหัวข้อโดย: loveyou ที่ พฤศจิกายน 11, 2010, 02:16:52 PM

เปิดตำนานเอเชียนเกมส์ (ไอเอ็นเอ็น)
 

          การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 12-27 พฤศจิกายนนี้ ที่ นครกวางโจว ประเทศจีน มีสีสันเร้าใจ ไม่ธรรมดา เมื่อพิธีเปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ ในวันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายนนี้ จะมีดาราดังระดับโลกอย่าง จาง ซิยี่ นางเอกภาพยนตร์ ยอดนิยม และ หลาง หลาง นักเปียโนชื่อก้อง มาร่วมแสดงในพิธีการที่จะไม่ได้จัดขึ้นในสนามกีฬา หากแต่เป็นเกาะกลางน้ำ ด้วยเช่นกัน

          พิธีเปิด กวางโจวเกมส์ ที่จะใช้เวลาราว 1 ชั่วโมง จะจัดขึ้นบนเวทีกลางแม่น้ำไข่มุก (จูเจียง) บนเกาะจำลอง ไห่ซินซา สแควร์ ซึ่งจะแลเห็นอาคารกวางโจ่ว ทาวเวอร์ สูง 610 เมตรเป็นฉากหลัง โดยเรือ 45 ลำที่บรรทุกนักกีฬา และเจ้าหน้าที่จาก 45 ประเทศที่มาเข้าร่วมการชิงชัยใน 42 ชนิดกีฬา จะลอยลำตามกันมาเป็นขบวนพาเหรดเหนือท้องน้ำบ่ายหน้าไปยังเกาะดังกล่าว

          หลี่ ไห่หยิง ผู้กำกับดนตรีในพิธีเปิดมหกรรมกีฬาแห่งชาวเอเชียบนแผ่นดินมังกร เปิดเผยเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า หลาง หลาง นักเปียโนระดับโลก และ จาง ซิยี่ ดาราสาวชื่อดัง จะมาแสดงร่วมกัน มันจะเป็นการผสมผสานกันระหว่างดนตรีคลาสสิกกับดนตรีป๊อป

           ว่าแต่กีฬาเอเชียนเกมส์ใกล้เข้ามาแล้ว วันนี้เราจะพาไปย้อนดูการแข่งขันเอเชียนเกมส์กัน โดยจะพาไปทำความรู้จักกับการแข่งขันทั้ง 15 ครั้ง ที่ผ่านมา ว่าจัดการแข่งขันขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่ และมีเกร็ดน่าสนใจ อย่างไรบ้าง และที่สำคัญที่สุด ในการแข่งขันทุกครั้ง ที่ผ่านมา ๆ นักกีฬาไทยก็มีผลงานไม่น้อยหน้าชาติใด ในทวีปเอเชีย เช่นกัน



กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 1

          จัดขึ้นที่ กรุงนิวเดลลี ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 4-11 มีนาคม พ.ศ.2494  และเหรียญทองเหรียญแรกของกีฬาเอเชียนเกมส์ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นักกีฬาที่ได้เหรียญ คือ เนียว ชีก๊อก นักกีฬาว่ายน้ำจากสิงคโปร์

กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 2

          จัดขึ้นที่ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ 1-9 พฤษภาคม พ.ศ.2497

          มีการแข่งขัน 8 ชนิดกีฬา คือ กรีฑา, บาสเกตบอล, มวย, ฟุตบอล, ยิงปืน, ว่ายน้ำ, ยกน้ำหนัก, มวยปล้ำ มี 18 ประเทศ ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 1,241 คน แสดงให้เห็นว่าเกมส์นี้ เริ่มที่จะไปได้ดี ในการชิงชัยครั้งนี้ เกาหลี ที่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก ก็สามารถคว้าอันดับที่ 3 ในตารางชิงเหรียญได้สำเร็จ ขณะที่ญี่ปุ่นยังเป็นเจ้าเหรียญทอง สามารถทำได้ 28 เหรียญทอง 34 เหรียญเงิน 23 เหรียญทองแดง ส่วนประเทศที่ไม่ได้รับเหรียญรางวัลมี ไทย กัมพูชา เนปาล บอร์เนียวเหนือ มลายา (มาเลเชีย) เวียดนาม และอัฟกานิสถาน

กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 3

          จัดขึ้นที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 24 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน พ.ศ.2501

          มีการแข่งขัน 13 ชนิดกีฬา คือ กรีฑา, บาสเกตบอล, มวย, จักรยาน, ฟุตบอล, ฮอกกี้, เทนนิส, ยิงธนู, ว่ายน้ำ, เทเบิลเทนนิส, วอลเลย์บอล, ยกน้ำหนัก และ มวยปล้ำ โดยมี ยูโด และแบดมินตัน เป็นกีฬาสาธิต มี 20 ประเทศ มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน 1,692 คน เอเชียนเกมส์ ครั้งนี้ มีการนำคำขวัญ "Ever ward" มาใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรก ภายใต้การต้องการสื่อความหมาย ให้เป็นเกมส์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด และมีการวิ่งคบเพลิงเอเชียนเกมส์เป็นหนแรก

          จาก ฟิลิปปินส์ ไปสู่เกาะญี่ปุ่น เพื่อที่จะจุดในพิธีเปิดการแข่งขันและนักกีฬาที่จุดไฟในพิธีเปิดก็คือ มิกิโอะ โอดะ นักกีฬาญี่ปุ่น ที่คว้าเหรียญทองในโอลิมปิกเกมส์คนแรก ในการเขย่งก้าวกระโดด ในปี ค.ศ.1928 และ ญี่ปุ่น ยังครองเจ้าเหรียญทอง ในครั้งนี้ ทำได้ 57 เหรียญทอง 36 เหรียญเงิน 14 เหรียญทองแดง

กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 4

          ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม - 4 กันยายน พ.ศ.2505

          มีการแข่งขัน 15 ชนิดกีฬา คือ กรีฑา, ยิงธนู, แบดมินตัน, บาสเกตบอล, มวย, จักรยาน, ฟุตบอล, ฮอกกี้, เทนนิส, เทเบิลเทนนิส, ว่ายน้ำ, ยิงปืน, วอลเลย์บอล และ มวยปล้ำ ซึ่งเอเชียนเกมส์ ครั้งนี้ ต้องมัวหมอง เพราะการเมืองเข้ามาแทรกแซงเพื่อบีบและกีดกัน ไต้หวัน และ อิสราเอล ไม่ให้เข้าร่วมการแข่งขัน จึงทำให้มีนักกีฬา เข้าร่วมการแข่งขันเพียง 1,460 คน จาก 16 ชาติ คือ ประเทศอัฟกานิสถาน พม่า กัมพูชา ซีลอน (ศรีลังกา) ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย บอร์เนียวเหนือ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และ เวียดนาม เจ้าเหรียญทองเอเชียนเกมส์ ในครั้งนี้ ยังคงเป็นประเทศญี่ปุ่น ทำได้ 54 เหรียญทอง 49 เหรียญเงิน 18 เหรียญทองแดง

กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5

          ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 9 - 20 ธันวาคม พ.ศ.2509

          ท่ามกลางความวุ่นวายของหลายประเทศ เช่น สงครามในเวียดนาม ความวุ่นวายในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีน กับ ไต้หวัน กลิ่นอายของสงครามในคาบสมุทรเกาหลี แต่ประเทศไทย ก็สามารถดำเนินการจัดการแข่งขันได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นที่น่าพอใจของทุก ๆ ชาติ ที่เข้ามาร่วม มีชิงชัย 14 ชนิดกีฬา คือ กรีฑา, แบดมินตัน, บาสเกตบอล, มวยสากล, จักรยาน, ฟุตบอล, ฮอกกี้, เทนนิส, ยิงปืน, ว่ายน้ำ, เทเบิลเทนนิส, ยกน้ำหนัก, วอลเลย์บอล, มวยปล้ำ และมีการสาธิตกีฬาซอฟท์บอล มี 18 ชาติ เข้าร่วม ญี่ปุ่น ยังเป็นเจ้าเหรียญทองอย่างต่อเนื่อง 78 เหรียญทอง 18 เหรียญเงิน 21 เหรียญทองแดง ส่วนประเทศไทยเจ้าภาพ ในครั้งนี้ ทำเหรียญได้ 12 เหรียญทอง 13 เหรียญเงิน 11 เหรียญทองแดง

กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 6

          ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 9 - 20 ธันวาคม พ.ศ.2513

          เดิมที เกาหลีใต้ ได้รับเป็นเจ้าภาพ แต่เกิดสงครามระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ทำให้ไม่สามารถเป็นเจ้าภาพได้ จึงขอถอนตัว แต่เพื่อมิให้การแข่งขันครั้งนี้ต้องยกเลิกไป เกาหลีใต้ จึงยินดีหาเงินให้กับประเทศ ที่จะรับเป็นเจ้าภาพแทนเป็น 8 ล้านบาท คณะกรรมการบริหารสหพันธ์เอเชียนเกมส์ จึงได้เปิดประชุมอย่างเร่งด่วน ครั้งแรก ที่ประชุมมีมติให้ญี่ปุ่น รับจัดแทนเกาหลีใต้ แต่ญี่ปุ่นปฏิเสธ เพราะกำลังจัดงานเอ็กโป 70 แต่ยินดี ที่จะช่วยสมทบทุนให้แก่ประเทศที่จะรับเป็นเจ้าภาพแทน

          ในที่สุด คณะกรรมการบริหารสหพันธ์เอเชียนเกมส์ จึงมีมติขอร้องให้ประเทศไทย รับเป็นเจ้าภาพแทนเกาหลีใต้ โดยให้เหตุผลว่า ประเทศไทยอยู่ศูนย์กลางของภาคีเอเชียนเกมส์อยู่แล้ว การไปมาก็สะดวกกว่าชาติอื่น ๆ ประการที่สอง ไทยขณะนั้น เพิ่งเคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันครั้งที่ 5 ผ่านมาสด ๆ ร้อน ๆ และประสบความสำเร็จมาก ประเทศไทยก็ตอบรับ โดยมีเงื่อนไขว่า การเป็นเจ้าภาพครั้งนี้ จะต้องไม่ใช้เงินงบประมาณของแผ่นดินไทยไปจัด เว้นแต่เงินค่าใช้จ่ายสำหรับนักกีฬาที่จะเข้าแข่งขันเท่านั้น

          โดยการแข่งขันครั้งนี้ ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ ได้รับเงินอุดหนุนจากประเทศสมาชิกต่าง ๆ อาทิ จีน, อินโดนีเซีย 5,000 เหรียญสหรัฐ อิสราเอล, เกาหลีใต้, เนปาล, ฟิลิปปินส์, ฮ่องกง, อิหร่าน, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, ปากีสถาน และ เวียดนาม รวมเงินอุดหนุนจาก 12 ประเทศสมาชิก จำนวน 412,000 เหรียญสหรัฐ

          ดังนั้น การแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 6 จึงถูกกำหนดจัดขึ้นที่ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 9 - 20 ธันวาคม พ.ศ.2513 และนับเป็นการจัด ติดต่อกันของชาติเจ้าภาพหนแรก โดยมี 13 ชนิด คือ กรีฑา แบดมินตัน, บาสเกตบอล, มวยสากล, จักรยาน, ฟุตบอล, ฮอกกี้, ยิงปืน, ว่ายน้ำ, วอลเลย์บอล ยกน้ำหนัก, มวยปล้ำ และ เรือใบ 18 ชาติร่วมชิงชัย นักกีฬา 1,752 คน เจ้าเหรียญทอง ยังเป็นประเทศญี่ปุ่นทำได้ 74 เหรียญทอง 47 เหรียญเงิน 23 เหรียญทองแดง

กีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 7

          ที่กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน ระหว่างวันที่ 1 - 16 กันยายน พ.ศ.2517

          การแข่งขันครั้งนี้ เกือบต้องล้มกลางคัน เนื่องจากอิหร่านและญี่ปุ่นได้นำข้อเสนอเข้าที่ประชุม คณะกรรมการบริหารสหพันธ์เอเชียนเกมส์ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17-18 กันยายน พ.ศ.2516 ให้ที่ประชุมพิจารณารับเอาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน (จีน) เข้าเป็นสมาชิก โดยมีเงื่อนไขว่า สหพันธ์ฯ ต้องขับ ไต้หวัน ออกจากการเป็นสมาชิก ทำให้กรรมการบริหาร 4 คน ได้เดินออกจากที่ประชุม ในที่สุดจากการวิ่งเต้นของอิหร่าน และ ญี่ปุ่น จึงทำให้การ รับรองสาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์ ผ่านไปด้วยดี และไม่เพียงแค่จีนเท่านั้น ชาติที่ได้ชื่อว่า เป็นชาติที่ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม อย่างเกาหลีเหนือ และ มองโกเลีย ก็เข้าร่วมเกมส์นี้เป็นหนแรก

          การชิงชัยครั้งนี้มี 19 ประเทศ แข่งขัน 16 ชนิด คือ กรีฑา, แบดมินตัน, บาสเกตบอล, มวยสากล, จักรยาน, ฟุตบอล, ฟันดาบ, ยิมนาสติก, ฮอกกี้, เทนนิส, ยิงปืน, ว่ายน้ำ, เทเบิลเทนนิส, วอลเลย์บอล, ยกน้ำหนัก, และมวยปล้ำ (ยิมนาสติก และ ฟันดาบ ถูกบรรจุเข้าสู่เกมส์นี้ เป็นหนแรก รวมถึงมีการนำเอากล้องมาใช้ในการถ่ายภาพ ผู้เข้าเส้นชัย ในการแข่งขันกรีฑา พร้อมทั้งใช้ลู่ยางสังเคราะห์เป็นครั้งแรก) และเจ้าเหรียญทอง ยังคงเป็นญี่ปุ่น ทำได้ 75 เหรียญทอง 50 เหรียญเงิน 51 เหรียญทองแดง

กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 8

          ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 9 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2521

          ประเทศไทย จำเป็นต้องเป็นเจ้าภาพอีกวาระหนึ่ง เพราะปากีสถาน ไม่สามารถจัดการแข่งขันได้ เนื่องจากปัญหาทางการเมือง และปัญหาเศรษฐกิจ จึงได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารสหพันธ์เอเชียนเกมส์ขึ้น ในระหว่างการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ ณ กรุงมอลทรีออล ประเทศแคนาดา เพื่อหาประเทศเจ้าภาพแทนปากีสถาน และ ที่ประชุมได้มีมติขอร้องให้ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพอีกครั้ง โดยสมาชิกสหพันธ์เอเชียนเกมส์ จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งสิ้น ยกเว้นค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน ประเทศไทย จึงรับเป็นเจ้าภาพ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ รับการแข่งขันครั้งนี้ ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ อีกครั้ง

          มีการแข่งขันมี 19 ชนิดกีฬา คือ กรีฑา, ยิงธนู, แบดมินตัน, บาสเกตบอล, มวยสากล, โบว์ลิ่ง, จักรยาน, ฟุตบอล, ยิมนาสติก, ฮอกกี้, เทนนิส ยิงปืน, ว่ายน้ำ, เทเบิลเทนนิส, วอลเลย์บอล, ยกน้ำหนัก, มวยปล้ำ, และเรือใบ มีนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันมี 2,318 คน หญิง 545 คน รวมเจ้าหน้าที่ทุกชาติด้วย จำนวน 4,000 คน เจ้าเหรียญทองยังเป็นญี่ปุ่นทำได้ 70 เหรียญทอง 58 เหรียญเงิน 49 เหรียญทองแดง

กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 9

          ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดียวันที่ 19 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม พ.ศ.2525

          ถือว่าเป็นการกลับไปสู่บรรยากาศของจุดกำเนิดของกีฬาเอเชียนเกมส์อีกครั้ง กีฬาที่แข่งขันมี 21 ชนิด คือ ยิงธนู, กรีฑา, แบดมินตัน, บาสเกตบอล, มวยสากล, จักรยาน, ขี้ม้าข้ามเครื่องกีดขวาง, ฟุตบอล, ยิมนาสติก, กอล์ฟ, แฮนด์บอล, ฮอกกี้, เรือกรรเชียง, ยิงปืน, ว่ายน้ำ, เทเบิลเทนนิส, เทนนิส, วอลเลย์บอล, ยกน้ำหนัก, มวยปล้ำ และ เรือใบ ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันมีทั้งหมด 33 ประเทศ รวมนักกีฬาทั้งหมด 3,446 คน

          นับเป็นความยิ่งใหญ่ในการมีชาติเข้าร่วมแข่งขันมากขึ้น และ จำนวนนักกีฬาก็สูงขึ้น เจ้าเหรียญทองกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 9 ประเทศจีน สามารถครองเจ้าเหรียญทอง ทำได้ 61 เหรียญทอง 57 เหรียญเงิน 41 เหรียญทองแดง และในครั้งนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงองค์กรที่ดูแลการจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ จากคณะกรรมการบริหารสหพันธ์เอเชียนเกมส์ หรือ เอจีเอ เป็นสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย หรือ โอซีเอ แทนเป็นต้นมา

กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 10

          ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 20 กันยายน - 5 ตุลาคม พ.ศ.2529

          เอเชียนเกมส์ หนนี้ถือว่าเป็นเกมส์ที่เกาหลีใต้ใช้เป็นการโหมโรง เพราะได้เตรียมที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ ในปี พ.ศ.2531 และมีการก่อสร้างสนามกีฬายักษ์ ที่จุคนได้มากถึง 100,000 คน รองรับงานนี้ด้วย ซึ่งถือว่าฮือฮามาก และเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ ก็เป็นการชี้ให้เห็นว่าวงการกีฬาเอเชีย กำลังพัฒนาไปเป็นอย่างมาก

          มีกีฬาที่แข่งขัน 25 ชนิดกีฬา คือ โบว์ลิ่ง, แบดมินตัน บาสเกตบอล, จักรยาน, ขี่ม้า, เรือแคนู, มวยสากล, ฟุตบอล, ยิงธนู, กรีฑา, ฟันดาบ, กอล์ฟ, ยิมนาสติก, แฮนด์บอล, ฮอกกี้, ยูโด, ยิงปืน, ว่ายน้ำ, เทควันโด, เทนนิส, เทเบิลเทนนิส, วอลเลย์บอล, ยกน้ำหนัก, มวยปล้ำ และ เรือใบ นักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขัน 4,839 คนจาก 27 ประเทศ และ จีนยังคงครองเจ้าเหรียญทอง ทำได้ 94 เหรียญทอง 82 เหรียญเงิน 46 เหรียญทองแดง

กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 11

          ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 22 กันยายน - 7 ตุลาคม พ.ศ.2533

          มีนักกีฬาที่แข่งขัน 27 ชนิดกีฬา คือ ยิงธนู, กรีฑา, แบดมินตัน, บาสเกตบอล, มวยสากล, เรือแคนู, จักรยาน, ฟันดาบ, ฟุตบอล, กอล์ฟ, ยิมนาสติก, แฮนด์บอล, ฮอกกี้, ยูโด, กาบัดดี, พายเรือ, เซปักตะกร้อ, ยิงปืน, ซอฟท์บอล, กีฬาทางน้ำ (ว่ายน้ำ, กระโดดน้ำ, โปโลน้ำ) เทเบิลเทนนิส, เทนนิส, วอลเลย์บอล, ยกน้ำหนัก, มวยปล้ำ, วูซู, เรือใบ, กีฬาสาธิตมีกีฬาเบสบอล และ ซอฟท์เทนนิส มีประเทศที่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน 36 ประเทศ รวมทั้งหมด 6,122 คน เจ้าเหรียญทอง เป็นจีน เหมือนเดิม ทำได้เกิน 100 เหรียญทองเป็นชาติแรก ทำได้ 183 เหรียญทอง 107 เหรียญเงิน 51 เหรียญทองแดง

กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 12

          ที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 2 - 16 ตุลาคม พ.ศ.2537

          นับเป็นครั้งแรก ของการจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่จัดนอกเมืองหลวงของชาติเจ้าภาพ โดยฮิโรชิมา เมืองที่เคยได้รับความบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับเป็นเจ้าภาพ และจัดการแข่งขัน 34 ชนิดกีฬา คือ ยิงธนู, กรีฑา, แบดมินตัน, เบสบอล, บาสเกตบอล, โบว์ลิ่ง, มวยสากล, เรือแคนู, จักรยาน, ขี่ม้าข้ามเครื่องกีดขวาง, ฟันดาบ, ฟุตบอล, กอล์ฟ, ยิมนาสติก, แฮนด์บอล, ฮอกกี้, ยูโด, กาบัดดี, คาราเต้โด, ปัญจกีฬาสมัยใหม่, เรือพาย, เซปักตะกร้อ, มวยปล้ำ, วูซู และเรือใบ มี 42 ประเทศที่ส่งนักกีฬาเข้าร่วม มีการใช้สโลแกน "Asian Harmony" เป็นคำขวัญของเกมส์ด้วย รวมถึงมีการรับเอา 5 ชาติ ที่แยกจากสหภาพโซเวียต คือ คาซัคสถาน เคอร์กิสถาน ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และ อุซเบกิสถาน รวมทั้งจีนชาติ หรือ ไต้หวัน ที่ถูกกีดกันไปนานกลับเข้าร่วมแข่งขันด้วย ประเทศจีน ยังครองเจ้าเหรียญทอง ทำได้ 137 เหรียญทอง 92 เหรียญเงิน 60 เหรียญทองแดง

กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13

          ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6-20 ธันวาคม พ.ศ.2541

          มีชาติเข้าร่วม จำนวน 41 ชาติ (ขาด อัฟกานิสถาน อิรัก และ ซาอุดีอาระเบีย) มีนักกีฬาทั้งหมด 9,699 คน มีสโลแกน การแข่งขันว่า Friendship beyond Frontiers มีการชิงชัย 36 ชนิดกีฬา กรีฑา, ยิงธนู, แบดมินตัน, เบสบอล, บาสเกตบอล, บิลเลียด, โบว์ลิ่ง, แคนู, จักรยาน, ขี่ม้า, ฟันดาบ, ฟุตบอล, กอล์ฟ, ยิมนาสติก, แฮนด์บอล, ฮอกกี้, ยูโด, กาบัดดี้, คาราเต้-โด, เรือพาย, รักบี้, ฟุตบอล, เซปักตะกร้อ, ยิงปืน, ซอฟท์บอล, ซอฟท์เทนนิส, สควอช, ว่ายน้ำ, เทเบิลเทนนิส, เทควันโด, เทนนิส, วอลเลย์บอล, ยกน้ำหนัก, มวย, มวยปล้ำ, วูซู และ เรือใบ ประเทศจีนยังคงครองเจ้าเหรียญทองอย่างต่อเนื่อง ทำได้ 165 เหรียญทอง 88 เหรียญเงิน 63 เหรียญทองแดง

กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 14

          ที่เมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 14 ตุลาคม พ.ศ.2545

          ในการแข่งขันครั้งนี้ ได้บันทึกเป็นประวัติศาสตร์ คือ เกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ ร่วมใช้ร่วมใช้ธงชาติ "คาบสมุทรเกาหลี" เป็นธงประจำขบวนของทั้ง 2 ชาติ ที่เดินพาเหรดเข้าร่วมพิธีเปิด และ ปิด การแข่งขันด้วยกัน แสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียว ของชาวเกาหลี ท่ามกลางกระแสที่อยากให้เกิดการรวมชาติ

          มีการชิงชัย 38 ชนิดกีฬา คือ กรีฑา, ว่ายน้ำ, ยิงธนู, แบดมินตัน, เบสบอล, บาสเกตบอล, บิลเลียด, เพาะกาย, โบว์ลิ่ง, มวยสากล, เรือแคนู, จักรยาน, ขี่ม้า, ฟันดาบ, ฟุตบอล, กอล์ฟ, ยิมนาสติก, แฮนด์บอล, ฮอกกี้, ยูโด, กาบัดดี, คาราเต้-โด, ปัญจกีฬาสมัยใหม่, เรือใบ, เซปักตะกร้อ, ยิงปืน, ซอฟท์บอล, ซอฟท์เทนนิส, สควอช, เทเบิลเทนนิส, เทควันโด, เทนนิส, วอลเลย์บอล, ยกน้ำหนัก, มวยปล้ำ และ วูซู มีนักกีฬา 9,900 คน จาก 44 ชาติ ซึ่งจีน ยังคงครองความยิ่งใหญ่ ทำได้ ที่ 150 เหรียญทอง 84 เหรียญเงิน 74 เหรียญทองแดง

กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 15

          ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ระหว่างวันที่ 1-16 ธันวาคม พ.ศ.2549

          โดยในการแข่งขันครั้งนี้ ได้กลับไปสู่การจัดของชาติตะวันออกกลางหรืออาหรับ เป็นครั้งที่ 2 ของมหกรรมกีฬาเอเชียนเกมส์ หลังจากประเทศแรกในภูมิภาคนี้ได้จัด คือ อิหร่าน เมื่อเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 7 โดยประเทศกาตาร์ ในปีที่จัดนั้น ยังอยู่ในห้วงของความขัดแย้งระหว่างชาติอาหรับบางชาติ กับชาติตะวันตก ทั้งปัญหาในประเทศอิรัก ปัญหาการครอบครอง และพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน และ สงครามขนาดย่อม ระหว่างอิสราเอล กับกลุ่มผู้ก่อการร้าย ที่อยู่ในประเทศเลบานอน

          ในครั้งนี้ มีชิงชัย 39 ชนิดกีฬา คือ ยิงธนู, กรีฑา, แบดมินตัน, เบสบอล, บาสเกตบอล, เพาะกาย, โบว์ลิ่ง, มวยสากล, แคนู-คยัค, หมากรุก, คิวสปอร์ต, จักรยาน, ขี่ม้า, ฟันดาบ, ฟุตบอล, กอล์ฟ, ยิมนาสติก, แฮนด์บอล, ฮอกกี้, ยูโด, กาบัดดี, คาราเต้-โด, เรือพาย, รักบี้ฟุตบอล, เรือใบ, วินด์เซิร์ฟ, ยิงปืน-ยิงเป้าบิน, เซปักตะกร้อ, ซอฟท์บอล, ซอฟท์เทนนิส, สควอช, เทเบิลเทนนิส, เทควันโด, เทนนิส, ไตรกีฬา, วอลเลย์บอล, ยกน้ำหนัก, มวยปล้ำ และ วูซู มีนักกีฬา 12,000 คน จาก 45 ชาติ จีนเป็นเจ้าเหรียญทองทำได้ 165 เหรียญทอง 88 เหรียญเงิน 63 เหรียญทองแดง

กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 16

          ที่เมืองกวางโจว ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 12-27 พฤศจิกายน พ.ศ.2553

          การแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 16 ในครั้งนี้ มีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน 45 ชาติ ชิงชัย 42 ชนิกีฬา 476 เหรียญทอง ประเทศไทยส่งนักกีฬาเข้า ร่วมในการแข่งขันกว่า 800 คน โดยใน 15 ครั้งที่ผ่านมา ทัพนักกีฬาไทย ประสบความสำเร็จ คว้าเหรียญทองรวม 98 เหรียญทอง ซึ่งนับว่า ไม่น้อยหน้าชาติใดในเอเชียเลย จากนักกีฬาที่มากความสามารถของทัพไทย อาทิ อาทิ ปรีดา จุลละมณฑล จักรยาน, เจริญ วรรธนะสิน แบดมินตันทีมชาย, ภารดร ศรีชาพันธุ์ เทนนิส, สมรักษ์ คำสิงห์ มวยสากลสมัครเล่น, มนัส บุญจำนงค์ กีฬามวยสากลสมัครเล่น, สมจิตร จงจอหอ มวยสากลสมัครเล่น, ปวีณา ทองสุก ยกน้ำหนัก, สุชาติ แจสุรภาพ วิ่ง 100 เมตร และ 4 คูณ 100 เมตร, อาณัติ รัตนพล วิ่ง 200 เมตร และ 4 คูณ100 เมตร, อุษณีย์ วงษาลังการวิ่ง200 เมตร และ 4 คูณ 100 เมตร, รัฐพงศ์ ศิริสานนท์ ว่ายน้ำ, เทวฤทธิ์ มัจฉาชีพ ยิงปืน และ มานพ พณิชย์ผาติกรรม ยิงปืน เป็นต้น

          ส่วนเป้าหมายของในครั้งนี้ ของ 32 สมาคมกีฬา หวังคว้า 16 เหรียญทอง จากกีฬาความหวังอย่าง ตะกร้อชาย,หญิง สนุกเกอร์จากต๋อง ศิษย์ฉ่อย, ประพฤติ ชัยธนสกุล บิลเลียด, เป้าบิน เจนจิรา ศรีสงคราม กับ สุธิยา จิวเฉลิมมิตร, มวยสากลสมัครเล่น อำนาจ รื่นเริง และฉัตรชัย บุตรดี, เทควันโด เอก การะเกตุ และ ชัชวาล ขาวละออ รวมถึงกรีฑาที่ทีม 4 คูณ 100 เมตรชาย แชมป์เก่า เป็นต้น

          นอกจากนี้ยังมีกีฬา ขวัญใจมหาชนอย่างฟุตบอลชาย ที่วางเป้าคือ การเข้ารอบรองชนะเลิศ การแข่งขันฟุตบอลเอเชียนเกมส์ ให้ได้อีกครั้ง หลังจากที่ผ่านมา 15 ครั้ง ทำดีที่สุดคือ การเข้ารอบตัดเชือก 4 ครั้ง นั่นเอง

          สำหรับเอเชียนเกมส์ ในครั้งนี้ ทุกสมาคมกีฬาของประเทศไทย ที่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันหวังว่า จะประสบความสำเร็จ กวาดเหรียญรางวัลตามเป้าที่วางไว้ ขอให้แฟนกีฬาชาวไทยช่วยกันลุ้นและติดตามเชียร์นักกีฬาทีมชาติไทยทุกคน ให้สามารถคว้าเหรียญทองมาให้กับประเทศไทยให้มากที่สุด กองเชียร์ติดตามลุ้นตามเชียร์ กับมหกรรมกีฬาของชาวเอเชีย กีฬเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 16 ณ เมืองกวางโจว ประเทศจีน ที่จะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 12 พฤศจิกายน นี้