Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3

Deprecated: preg_replace(): The /e modifier is deprecated, use preg_replace_callback instead in /var/www/vhosts/taradthong.com/httpdocs/webboard/Sources/Load.php(225) : runtime-created function on line 3
พิมพ์หน้านี้ - นับถอยหลัง 100 เดือน ก่อนโลกร้อนจนหมดทางแก้

TARADTHONG.COM

สมาชิก VIP => General Discussion => ข้อความที่เริ่มโดย: น่ารักสุดๆ ที่ ตุลาคม 10, 2010, 12:42:00 PM



หัวข้อ: นับถอยหลัง 100 เดือน ก่อนโลกร้อนจนหมดทางแก้
เริ่มหัวข้อโดย: น่ารักสุดๆ ที่ ตุลาคม 10, 2010, 12:42:00 PM
นับถอยหลัง 100 เดือน ก่อนโลกร้อนจนหมดทางแก้

 เราคาดการณ์ว่าอีก 100 เดือนนับจากวันที่ 1 สิงหาคม 2008 ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศจะเริ่มเกินจุด 'ความเป็นไปได้' ที่เราจะสามารถป้องกัน ไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เรียกกลับคืนมาไม่ได้

          คำว่า ‘มีความเป็นไปได้’ ในที่นี้หมายถึง คำจำกัดความของระดับความเสี่ยงที่กำหนดโดย คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) เป็นระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกที่เมื่อสูงถึงจุดหนึ่ง จะมีโอกาสแค่ร้อยละ 66-90 เท่านั้นที่อุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกจะคงที่เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม (pre-industrial level) ที่ 2 องศาเซลเซียส หากระดับความเข้มข้นสูงเกินขีดจำกัดก็จะมีความเป็นไปได้อย่างมากที่อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 องศาเซลเซียส จนทำให้เกิดเป็นภาวะภัยพิบัติได้ในที่สุด แต่ทั้งนี้พวกเราเชื่อว่าการคาดการณ์นี้ยังพอที่จะป้องกันได้ตามเหตุผลและข้อสมมุติฐานเดังต่อไปนี้

 การเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศที่เกิดจากมนุษย์

          ในปัจจุบัน ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งถือว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีมากที่สุด อยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่ 650,000 ปีที่ผ่านมา เพียงช่วงเวลา 250 ปีที่เราเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (ฟอสซิล) ที่เกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ตามด้วยการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นดิน อาทิ การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของสังคมเมือง การตัดไม้ทำลายป่า เราได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งสะสมเพิ่มขึ้นมากกว่า 1,800 พันล้านตันในชั้นบรรยากาศ ซึ่งปัจจุบัน ทุกวินาทีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 1,000 ตันจะถูกปล่อยมายังชั้นบรรยากาศของโลกจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์

          ก๊าซเรือนกระจกจะจับพลังงานรังสีจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านเข้ามา หากมีก๊าซเหล่านี้ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น ความร้อนจะถูกสะสมและเป็นสาเหตุที่ทำให้โลกร้อนขึ้น เมื่อความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นจนถึงจุดหนึ่ง (หรือเรียกว่า ‘จุดแปรผันที่สำคัญ ณ อุณหภูมิ 2 องศา’) ภาวะโลกร้อนจะเกิดเร็วขึ้น ตัวเลขของการผลการสะท้อนกลับจากกระบวนการทางกายภาพของความร้อนที่ถูกกระตุ้นส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนและภาวะของก๊าซเรือนกระจกที่ขยายตัวมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การละลายของน้ำแข็งที่ปกคลุมทำให้ความสามารถในการสะท้อนกลับของพื้นผิวโลกลดลง เนื่องจากพื้นผิวโลกที่มีสีเข้มจะถูกเปิด ทำให้การดูดซับความร้อนเพิ่มขึ้น หรือกระบวนการอื่น ๆ ที่สังเกตได้จากมหาสมุทรแอตแลนติกทางเหนือและใต้ ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของมหาสมุทรต่าง ๆ ลดลงจากกำลังลมที่เพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลเชื่อมโยงจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง สิ่งนี้ทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มสูงจนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเพิ่มมากขึ้นตามา

          จากผลการสะท้อนกลับด้วยตนเองเช่นนี้ เมื่อผ่านจุดวิกฤติความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก ภาวะโลกร้อนก็ยังคงดำเนินต่อไป ถึงแม้ว่ามนุษย์จะหยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศแล้วก็ตาม สภาพภูมิอากาศของโลกอาจจะเปลี่ยนไปเป็นสภาพที่แตกต่างจากเดิม (เช่น การหมุนเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร ปริมาณน้ำ ฝน และลม ที่เปลี่ยนไป) พร้อมกับความเป็นไปได้ของภัยพิบัติต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ความเปลี่ยนแปลงในสถานะของระบบภูมิอากาศเช่นนี้ มักถูกเรียกว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่ไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้








 100 เดือน นับจากสิงหาคม 2008

          มีความเป็นไปได้ที่เราจะคำนวณระยะเวลาที่จะถึงจุดวิกฤติ โดยการประมาณค่าที่ดีที่สุดของความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน อัตราการเพิ่มขึ้นของการปล่อยพลังงาน การคาดการณ์อย่างถี่ถ้วนของการสะท้อนกลับที่ทำลายสภาพแวดล้อมที่เร่งการเกิดภาวะโลกร้อนให้เร็วขึ้น รวมถึงความเข้มข้นสูงสุดของก๊าซเรือนกระจกที่ป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เรียกคืนกลับมาไม่ได้ (irreversible climate change)

          แน่นอนว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ได้เป็นตัวการเดียวที่ส่งผลต่อสภาวะอากาศ ด้วยเหตุผลนี้ ตัวเลขสถิติความเข้มข้นของชั้นบรรยากาศจากก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่น ๆ  จึงต้องนำมาพิจารณาด้วย ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขที่มีค่าเท่ากันหรือต่างจากค่าที่วัดผลได้จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2e) ตัวเลขที่ต่างกันสำหรับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มักขึ้นอยู่กับการแสดงค่าเฉพาะก๊าซที่อยู่ภายใต้พิธีสารเกียวโตหรือไม่ (the Kyoto Protocol-สนธิสัญญาเกี่ยวกับภูมิอากาศของโลก) ซึ่งพิธีสารเกียวโตนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวาง เป็นค่าพลังงานความร้อนต่อพื้นที่ที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณของพลังงานที่เกิดขึ้นจากระบบสภาพภูมิอากาศให้ร้อนขึ้นหรือเย็นลง

          ค่าเทียบเท่าของคาร์บอนไดออกไซด์ คือ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากผลรวมของค่าพลังงานอื่น ๆ เพื่อให้ได้ค่าเฉลี่ยของค่าพลังงานความความร้อนต่อพื้นที่โลกที่สมดุลในระดับที่ต้องการ โดยทั่วไป ก๊าซเรือนกระจก 6 ประเภทที่อยู่ภายใต้พิธีสารเกียวโตจะถูกนำมาคำนวณหาค่าเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2e.) อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่ค่าพลังงานที่อยู่ภายใต้พิธีสารเกียวโตเท่านั้น ค่าพลังงานความร้อนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ก็ถูกนำมารวมเข้าด้วยกัน กล่าวคือ  การคำนวณค่าพลังงานจะสามารถกระทำได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ต้องมีการประเมินค่าล่าสุดจากรายงานจากกลุ่มผู้ทำงาน Working Group One ในเรื่องค่ารวมของพลังงานความร้อนที่เกิดจากมนุษย์ในการคำนวณค่าเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ในปัจจุบัน จากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ซึ่งค่าประมาณนี้ได้รวมค่าพลังงานเชิงลบเข้าไปด้วย (ค่าพลังงานที่ทำให้สภาวะอากาศเย็นลงมากกว่าร้อนขึ้น แต่ส่งผลกระทบในช่วงสั้น ๆ)

          ในการคำนวณ เราใช้ความเข้มข้นที่ 400 ต่อล้านส่วนโดยปริมาตร (ppm) ในการแสดงค่าวัดที่ชัดเจนของค่าเทียบเท่าของคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการปล่อยพลังงานในความเข้มข้นที่คงที่ ถึงจะได้ค่าความเป็นไปได้ที่การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกจะคงที่อยู่ที่ 2 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม เมื่อเดือนธันวาคม 2007 ความเข้มข้นของค่าเทียบเท่าของคาร์บอนไดออกไซด์มีค่าประมาณต่ำว่า 377 ppm เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ที่ 383 ppm

          จากบทวิเคราะห์ เราตั้งสมมุติฐานที่อัตราการเพิ่มขึ้นของการปล่อยพลังงานที่ร้อยละ 3.3 บนพื้นฐานค่าเฉลี่ยอัตราของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2000 ถึง ปี 2006 โดยให้ค่าพลังงานความร้อนอื่น ๆ คงที่ อัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ประกอบด้วยการสะท้อนกลับจากการหมุนเวียนคาร์บอน (ประสิทธิภาพของแผ่นดินและมหาสมุทรในการขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากมนุษย์ลดลง) และการปล่อยพลังงานที่เกิดจากมนุษย์โดยตรง อัตราการเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.3 และอัตราการเจริญเติบโตที่ร้อยละ 18+15 ในเวลา 1 ปีเกิดจากการสะท้อนกลับของการหมุนเวียนของคาร์บอน ขณะที่ร้อยละ 17+6 คืออัตราการเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นของคาร์บอนของเศรษฐกิจทั่วโลก (สัดส่วนของคาร์บอนต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 1 หน่วย – เช่น GDP) ร้อยละ 65<+>16 ที่เหลืออยู่ เกิดจากการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลก ขณะที่ความเข้มข้นของค่าเทียบเท่าของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้น การสะท้อนกลับของการหมุนเวียนของคาร์บอนก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

          บทวิเคราะห์ของเราแสดงให้เห็นว่า สมมุติว่าค่าพลังงานความร้อนที่เกิดจากมนุษย์คงที่ และอัตราการเพิ่มขึ้นของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (ที่เกิดจากการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ และความเข้มข้นของคาร์บอนที่เพิ่มขึ้นของระบบเศรษฐกิจ) คงที่ เมื่อถึงสิ้นเดือนธันวาคม ปี 2016 ค่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศจะเกิน 400 ppmv

          ความคาดหมายของเราคือการเฝ้าระวัง เพราะการประเมินผลวัดจากวงคาร์บอนไดออกไซต์ระดับต่ำที่สุด นอกจากนี้ จากข้อมูลย้อนหลัง ระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลกที่แม้เพิ่มขึ้นเพียง 2 องศาเซลเซียส ก็สามาถนำไปพิจารณาถึงการป้องกันเรื่องความร้อนได้ถึง 14 ระดับ ทว่า ความก้าวหน้าของแบบจำลองลักษณะภูมิอากาศโลกแบบสามมิติที่มีความละเอียดเชิงพื้นที่ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ทราบว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะ ปรากฏออกมาให้เห็นได้อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละพื้นที่ ตัวอย่างเช่น การพังสลายของแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์เป็นมากว่าแนวโน้มของผลกระตุ้นจากความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่า 2.7 องศา ซึ่งสอดคล้องกับการเพิ่มอุณหภูมิของโลกเฉลี่ย 2 องศาหรือน้อยกว่านั้น การแตกตัวของแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์จะสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลถึง 7 เมตร