หัวข้อ: เผยเรือไททานิคจม เพราะถือหางเสือพลาด เริ่มหัวข้อโดย: น่ารักสุดๆ ที่ กันยายน 23, 2010, 05:49:11 PM เผยเรือไททานิคจม เพราะถือหางเสือพลาด (ไอเอ็นเอ็น)
นักเขียน เรื่อง ไททานิค และหลานสาวของเจ้าหน้าที่ ลำดับที่ 2 ของเรือไททานิค เผยสาเหตุที่เรือจม เพราะคนถือหางเสือผิดพลาด นางลุยซี แพทเทน นักเขียนและหลานสาวของ เจ้าหน้าที่ลำดับที่ 2 ของ เรือไททานิค เผยเหตุ เรือไททานิค พุ่งชนภูเขาน้ำแข็ง เมื่อปี 2455 เพราะความผิดพลาดของคนถือหางเสือเรือ และเรือจมลงอย่างรวดเร็ว เพราะเจ้าของบอกให้กัปตันเรือ พาเรือเดินหน้าต่อไปแทนที่จะหยุดนิ่งอยู่กับที่ เพื่อรอเรือช่วยชีวิต ส่วนความจริง ได้ถูกเก็บซ่อนไว้ เพราะเกรงว่า จะทำให้ชื่อเสียงของคุณปู่ของเธอ ต้องเสื่อมเสีย เนื่องจาก ในเวลาต่อมาคุณปู่ได้รับยกย่องเป็นวีรบุรุษสงคราม ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- หลานสาวกัปตันเผย “ไททานิก” ล่มไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ชี้คนขับหลงทิศ-ฝืนเดินทางจนเรือจมเร็วขึ้น โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ เอเจนซี - บทสัมภาษณ์นักเขียนสาวซึ่งเผยแพร่วานนี้ (22) เผย กัปตันหันหัวเรือผิดทำเรือไททานิกชนภูเขาน้ำแข็งเมื่อปี 1912 ซ้ำฝืนเดินทางต่อจนเรืออับปางเร็วขึ้น ลูอิส แพทเท็น นักเขียนสาวซึ่งเป็นหลานของ ชาร์ลส ไลโทลเลอร์ กัปตันผู้ช่วยที่ 2 บนเรือไททานิกเปิดเผยว่า เธอเก็บงำสาเหตุการล่มของเรือไททานิกเมื่อ 100 ปีก่อนไว้ เพราะกลัวจะทำให้ชื่อเสียงของคุณตาซึ่งเป็นวีรบุรุษสงครามต้องเสื่อมเสียไป ไลโทลเลอร์ เป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสสูงสุดซึ่งรอดชีวิตจากเรือไททานิก ระหว่างการสอบสวนที่อังกฤษและสหรัฐฯ เขาเลือกที่จะปิดบังสาเหตุที่แท้จริงของการอับปาง เพราะเกรงว่าจะทำให้เจ้าของเรือล้มละลาย และเพื่อนร่วมงานจะต้องตกงานกันทั้งหมด แพทเท็น บอกกับหนังสือพิมพ์ เดลี เทเลกราฟ ว่า “พวกเขาสามารถหลบภูเขาน้ำแข็งได้ไม่ยากเลย หากไม่ทำพลาด” “แทนที่จะหักเรือหลบไปทางซ้ายของภูเขาน้ำแข็งทันทีที่เห็นมัน โรเบิร์ต ฮัตชินส์ ซึ่งเป็นผู้ถือพวงมาลัยกลับตื่นตระหนก และหมุนพวงมาลัยผิดทาง” แพทเท็น ซึ่งเผยความจริงดังกล่าวในนวนิยายเรื่อง “กู๊ด แอส โกลด์” (Good as Gold) ของเธอ อธิบายว่า การเปลี่ยนจากเรือใบมาเป็นเรือกลไฟซึ่งเคลื่อนที่ด้วยแรงดันไอน้ำ หมายถึงระบบขับเคลื่อนที่แตกต่างกันด้วย ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ หากระบบหนึ่งหมุนพวงมาลัยไปทางซ้าย อีกระบบจะต้องหมุนไปทางขวา เพื่อไปในทิศทางเดียวกัน แพทเท็นเล่าว่า เมื่อความผิดพลาดเกิดขึ้นแล้ว “พวกเขามีเวลาเพียง 4 นาทีที่จะหันหัวเรือไปอีกทางหนึ่ง แต่กว่า วิลเลียม เมอร์ด็อค กัปตันที่ 1 จะทราบเรื่อง มันก็สายเกินแก้แล้ว” ไททานิก เป็นเรือโดยสารขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในสมัยนั้น ก่อนกลายเป็นเพียงตำนานหลังออกเดินทางรอบปฐมฤกษ์เพียง 4 วัน ตาของแพทเท็นไม่ได้เห็นเหตุการณ์ขณะที่เรือชนภูเขาน้ำแข็ง แต่เขาได้เข้าประชุมกับเจ้าหน้าที่ครั้งสุดท้ายก่อนเรือไททานิกจะจมลงสู่ก้นมหาสมุทร เขาไม่เพียงได้รับรู้ความผิดพลาดครั้งใหญ่ของ ฮัตชินส์ แต่ยังทราบด้วยว่า เจ บรูซ อิสเมย์ ประธานบริษัท ไวท์ สตาร์ ไลน์ ได้สั่งให้กัปตันฝืนเดินทางต่อ จนทำให้ไททานิกจมลงเร็วกว่าที่ควรจะเป็นหลายชั่วโมง “หากไททานิกไม่เคลื่อนที่ไปไหน มันจะสามารถลอยลำอยู่ได้จนเรือกู้ภัยมาถึง และจะไม่มีใครต้องเสียชีวิตเลย” แพทเท็นกล่าว อาร์ เอ็ม เอส ไททานิก เป็นเรือโดยสารใหญ่ที่สุดในโลกขณะนั้น ซึ่งเดินทางออกจากเมืองเซาแธมป์ตันของอังกฤษสู่นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ.1912 ก่อนชนภูเขาน้ำแข็งอับปางในอีก 4 วันต่อมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 คน |